ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า ขี้หู เป็นสิ่งสกปรกที่ต้องกำจัดออกจากใบหูของเราอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะด้วยการ แคะหู หรือ ปั่นหู แต่จะมีใครทราบบ้างว่าแท้จริงแล้วขี้หูนั้นมีประโยชน์ต่อหูของเรามากกว่าที่คิด ส่วนการแคะหู-ปั่นหู ต่างหากที่อันตราย แถมยังแฝงอาการร้ายๆ มาอีกเพียบ วันนี้ มีข้อมูลดีๆ มาฝากค่ะ

‘ขี้หู’เกิดขึ้นได้ยังไง?

รู้แล้ว เลิกทำด่วน!!! หยุดพฤติกรรม แคะหู – ปั่นหู เพราะอันตรายกว่าที่คุณคิด (รายละเอียด)


ขี้หู (Earwax หรือศัพท์การแพทย์เรียกว่า Cerumen) เกิดจากต่อมสร้างขี้หู ซึ่งอยู่ในช่องหูชั้นนอก ขี้หูมีคุณสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ ประกอบไปด้วย เอนไซม์ เพปไทด์ กรดไขมัน โคเลสเตอรอล และแอลกอฮอล์ นอกจากนี้ยังมีสารต่อต้านเชื้อโรคและไม่ละลายน้ำ ขี้หูจึงมีหน้าที่ช่วยปกป้องผิวหนังของช่องหูชั้นนอก ป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคเข้าไปในช่องหู จึงควรดูแลสุขลักษณะที่ดีของรูหูและขี้หู ให้เกิดผลดีทั้งในด้านสุขภาพและความสวยงาม

ขี้หูมีการเคลื่อนที่และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ตั้งแต่ขั้นตอนการสร้างขี้หูและถูกหลั่งออกมาสู่ด้านในของรูหู ใกล้ๆ กับแก้วหู ขี้หูจะมีลักษณะนุ่ม เหลว ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น ต่อมาขี้หูจะค่อยๆเคลื่อนที่ออกมาสู่ภาย จากการขยับเคลื่อนที่ของขากรรไกร ขี้หูจะเปลี่ยนไปมีสีเข้มขึ้น เหนียวข้น และมีกลิ่น ซึ่งกลิ่นของขี้หูทำให้แมลงไม่เข้าใกล้ใบหูของเรา อีกทั้งยังช่วยทำหน้าที่แทนสารหล่อลื่นและเคลือบผนังหูให้ชุ่มชื้น ป้องกันแผลถลอกในรูหูได้ดีอีกด้วย

แคะหู – ปั่นหู ไม่ได้ช่วยอะไรเลย ?

รู้แล้ว เลิกทำด่วน!!! หยุดพฤติกรรม แคะหู – ปั่นหู เพราะอันตรายกว่าที่คุณคิด (รายละเอียด)
ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบคือ ‘ขี้หูอุดตัน’ (Cerumen impaction หรือ Earwax blockage) อยู่ภายในช่องหูชั้นนอก ซึ่งสาเหตุหลักคือ การใช้ไม้พันสำลี (Cotton Bud) ในการแคะหู – ปั่นหู เพื่อทำความสะอาดช่องหูชั้นนอก โดยเฉพาะหลังอาบน้ำ ที่มีน้ำเข้าไปในหูทำให้ขี้หูเหลว เราก็จะรู้สึกรำคาญหรือบางคนทำเป็นกิจวัตร ซึงนั่นถือเป็นการกระตุ้นให้ต่อมสร้างขี้หูให้ทำงานมากขึ้นไปอีก มีปริมาณขี้หูที่ผลิตออกมาก็จะมากขึ้น และถ้ายิ่งดันไม้เข้าไป หรือปั่นหูแรงๆ แทนที่ขี้หูจะถูกกำจัดกลับทำให้ขี้หูในช่องหูอัดแน่นยิ่งขึ้น และเมื่ออุดตันนานวันเข้า ขี้หูก็จะจับตัวเป็นก้อนแข็งจนทำให้เกิดปัญหาในการรับฟัง เช่น หูอื้อ และหูตึง นอกจากนั้นยังอาจเกิดแผลถลอกที่ช่องหูชั้นนอกอีกด้วย ยิ่งแคะหู-ปั่นหูซ้ำๆ แผลถลอกก็จะเริ่มอักเสบและติดเชื้อ เพราะผิวหนังภายในช่องหูชั้นนอกมีความเปราะบางมาก ถ้าโดนไม้พันสำลีแหย่เข้าไปลึกมากๆ ก็อาจทำให้เยื่อแก้วหูบาดเจ็บหรือทะลุได้เลยนะคะ


อาการของขี้หูอุดตัน

รู้แล้ว เลิกทำด่วน!!! หยุดพฤติกรรม แคะหู – ปั่นหู เพราะอันตรายกว่าที่คุณคิด (รายละเอียด)
อาการของขี้หูอุดตัน จะมีอาการคันหู ปวดหน่วงๆ หรือปวดตื้อๆ ในช่องหู มีอาการหูอื้อ การได้ยินลดลง หูแว่ว หรือมีเสียงดังในหู ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนที่ไปมาของขี้หูภายในช่องหู
– การได้ยินเสียงแว่วเกิดจากการมีขี้หูจำนวนมากสะสมอุดตันอยู่ในช่องหู เมื่อขี้หูพองตัวจากการเปียกน้ำ หรือเป็นขี้หูที่จับตัวกันเป็นก้อนแข็ง ก้อนขี้หูที่อุดตันจะทำให้รู้สึกปวดตื้อๆ ในช่องหู หากทิ้งไว้จนอาการรุนแรงขึ้น อาจทำให้มีอาการหูตึง ได้ยินเสียงไม่ชัด หรือเกิดเสียงแว่วในหูได้
– อาการหูอื้อ ส่วนมากจะเกิดเพียงข้างเดียว ซึ่งจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันหลังการว่ายน้ำ หรืออาบน้ำสระผม เนื่องจากขี้หูที่สะสมอุ้มน้ำที่เข้าไปในช่องหู จนก้อนขี้หูเกิดการพองตัวและอัดแน่นในช่องหู ยิ่งแคะหูปั่นหูด้วยไม้พันสำลีเช็ด ก็ยิ่งรู้สึกอื้อหนักขึ้น


วิธีป้องกัน

รู้แล้ว เลิกทำด่วน!!! หยุดพฤติกรรม แคะหู – ปั่นหู เพราะอันตรายกว่าที่คุณคิด (รายละเอียด)
1. อย่าใช้นิ้วแหย่ช่องหู เพราะขอบเล็บที่ปลายนิ้วจะทำให้ช่องหูชั้นนอกเกิดถลอก ติดเชื้อและอักเสบได้ง่าย
2. อย่าใช้ไม้พันสำลีแคะหู หรือปั่นหูเมื่อมีน้ำเข้าหู ควรป้องกันไม่ให้น้ำเข้าหูในขณะอาบน้ำ โดยการสวมหมวกอาบน้ำให้คลุมถึงใบหู ส่วนคนที่ชอบว่ายน้ำก็ให้ใช้ที่อุดหูสำหรับนักดำน้ำ
3. ไม่ต้องแคะหู ปั่นหู หรือทำความสะอาดหุบ่อยเกินไป เพราะหูจะแห้ง และเกิดอาการคัน ควรปล่อยให้มีขี้หูเคลือบช่องหูบ้าง เพื่อความชุ่มชื้นและป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าในหูของเรา
4. สำหรับคนที่ขี้หูแห้ง หรืออุดตันในระยะแรก ให้ลองใช้ยาละลายขี้หูหยอดรูหูเป็นประจำ จะช่วยลดการอุดตันของขี้หูในช่องหูชั้นนอกได้
5. หากมีอาการเบื้องต้นของโรคขี้หูอุดตัน ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการดูดขี้หูออก หรือรับยามาละลายขี้หูด้วยตัวเอง
รู้แบบนี้แล้ว เพื่อนๆที่แคะหู หรือ ปั่นหู จนติดนิสัยก็ต้องลดละเลิกพฤติกรรมนี้ซะนะคะ เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยให้หูสะอาดขึ้นแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกเพียบเลยนอกจากการเลิกแคะหู-ปั่นหู ก็ยังมีวิธีการดูแลรักษาหูอีกมากมายที่ไม่ควรมองข้าม เพราะหูก็เป็นอวัยวะที่สำคัญมากๆ สำหรับการใช้ชีวิตของเราในทุกๆ วัน 

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก doctor.or.th และ haamor.com