- 27 พ.ย. 2560
ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่เพจความจริง และ www.tnews.co.th
วันนี้ 27 พ.ย. 2560 ได้มีการแชร์เรื่องราวในเพจ "แหม่มโพธิ์ดำ" เกี่ยวกับที่ดินวัดสวนแก้ว มีคนโกงเอาที่ดินมาขายให้วัด แล้วพระพยอมได้ซื้อที่ดินไว้ถือครอบครองโดยชอบธรรมในส่วนของวัด ต่อมาเจ้าของที่ดินคนเดิมได้ฟ้องร้องเอาที่ดินคืน คนที่ขายที่ดินก็ไปเซ็นต์ยินยอมว่าไม่ได้ปรปักษ์แล้วรู้แก่ใจว่าเป็นของญาติ พอที่ดินกลับไปเป็นของเจ้าของเดิม โฉนดวัดถือเลยเป็นโมฆะกลายเป็นถุงกล้วยแขก ส่วนเงินที่คนโกงมาขายให้วัด บอกใช้เงินหมดแล้วไม่มีคืนให้วัด
ซึ่งทางเพจเฟซบุ๊ก "แหม่มโพธิ์ดำ" ได้ระบุข้อความว่า
วันนี้มีกรณีน่าอาภัพที่สังคมควรช่วยกันตรวจสอบคืนความเป็นธรรมแก่ชนผู้บริสุทธิ์เป็นสุจริตชน เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2560 วัดสวนแก้ว ได้รับคำสั่งไม่ชอบทางกฎหมาย เป็นกรณีให้สังคมศึกษาว่า ยุคหนึ่งสมัยหนึ่ง มีการใช้หลักฐานอะไรก็ได้ ไม่ต้องตรวจสอบที่มาให้ชัดเจนนำมาเป็นหลักฐานพยาน ใช้เป็นบรรทัดฐานทางคดีฟ้องร้อง ทำให้ผู้บริสุทธิ์ สุจริตชนต้องเสียหายหมดกรรมสิทธิ์โดยไร้การเยียวยา ถึงแม้จะมีหลักฐานทางคดีใหม่ของวัดที่ยึดหลักกรรมสิทธิ์อันสุจริต
ในปี 2547 ที่วัดได้ซื้อที่ดิน แล้ววัดก็ถือครอบครองโดยชอบธรรมในส่วนของวัด เพราะได้ไปซื้อขายบนกรมที่ดินต่อเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ทำการโอนให้กรรมสิทธิ์เรามา โดยเสียค่าตอบแทนโดยสุจริต และได้จดทะเบียนโดยสุจริต จ่ายภาษีเข้ารัฐถูกต้อง เมื่อนำมาใช้ประโยชน์เผยแผ่-พัฒนา-สงเคราะห์ผู้ยากไร้ที่พึ่งในสังคมผู้เดือดร้อนไม่มีที่พักที่ทำกินให้มีสัมมาชีพ ได้ประมาณปีกว่า แล้วในภายหลังผู้ขายให้วัด ได้ไปยินยอมความกันให้อีกฝ่ายคู่กรณ๊ในที่ดินแปลงใหญ่ ในปี 2549 ก็มีการอาศัยศาลเป็นเครื่องมือและช่องทางกฎหมายในการเรียกที่ดินคืนโดยการตัดฟ้องระงับข้อพิพาทรื้อคดีนำเอกสารพยาน ระยะเวลา อะไรที่พบข้อพิรุธที่ส่อไปในทางฉ้อฉลได้กรรมสิทธิ์ไป
ในปี 2559 วัดสวนแก้วก็ได้เก็บข้อมูลที่ชอบด้วยกฏหมายมาร้องครอบครองปรปักษ์เป็นคดีใหม่ โดยชั้นต้นสรุปวัดก็ถือครอบครองโดยไม่สุจริต ให้ความเป็นจริงที่แตกต่างจากกรณีศึกษาคำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๘๒๑/๒๕๕๖ เมื่อมีการเลิกบริษัทจำกัดและผู้ชำระบัญชีได้ยื่นขอจดทะเบียนต่อทางการภายใน 14 วัน นับแต่วันเลิกบริษัทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1254 แล้ว ย่อมทำให้สภาพความเป็นนิติบุคคลของบริษัทสิ้นสุดลง รวมทั้งกรรมการบริษัทย่อมไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทได้อีกต่อไป เว้นแต่กรรมการบริษัทนั้นเป็นผู้ชำระบัญชีด้วย จึงจะมีอำนาจกระทำการแทนบริษัทต่อไปในฐานะผู้ชำระบัญชี ตามมาตรา 1252
ดังนั้น เมื่อบริษัท ส. เลิกกันและมีการตั้งจำเลยที่ 1เป็นผู้ชำระบัญชีโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว อำนาจของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการของบริษัทย่อมหมดไป และอำนาจจัดการแทนบริษัท ย่อมตกเป็นของจำเลยที่ 1 ผู้ชำระบัญชี การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งไม่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท อีกต่อไป ได้ทำหนังสือโอนสิทธิเรียกร้องในการรับเงินค่างานก่อสร้างซึ่งบริษัท (มูลนิธิ) จะได้รับจากจำเลยที่ 3 ในนามของบริษัท ให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 หาได้มีส่วนเกี่ยวข้องในการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าบริษัท ได้โอนสิทธิเรียกร้องให้แก่โจทก์ แล้ว โจทก์ไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 3 ให้รับผิดต่อโจทก์ได้ จำเลยที่ 1 เป็นเพียงผู้ชำระบัญชีของบริษัท มีหน้าที่ตามมาตรา 1250 คือชำระสะสางงานของบริษัทให้เสร็จไปกับจัดการใช้หนี้เงินและจำหน่ายทรัพย์สินของบริษัทเท่านั้นหาได้มีบทบัญญัติใดโดยตรงให้ผู้ชำระบัญชีต้องรับผิดเป็นส่วนตัวในหนี้สินของบริษัท ที่ตนเป็นผู้ชำระบัญชีค้างชำระบุคคลภายนอกอยู่ไม่ ประกอบกับเมื่อบริษัท ส. ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะขณะที่ทำสัญญาบริษัทได้จดทะเบียนเลิกบริษัทไปก่อนแล้ว จึงไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลอีกต่อไป สัญญาจึงไม่มีผลผูกพันบริษัท ส. และโจทก์ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ต่อโจทก์ในฐานะผู้ชำระบัญชีอีกด้วย ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)ประกอบมาตรา 246 และ 247 จึงเป็นกรณีให้สังคมผู้คิดผู้สร้างความยุติธรรมศึกษามาเข้าใจกัน ขอเจริญพร พระพยอม กลฺยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ว นนทบุรี
ภายหลังที่เรื่องดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไปได้มีผู้ใช้เฟซบุ๊กเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันจำนวนมาก
สรุป คือมีคนโกงที่เอาที่มาขายวัดแล้ววัดซื้อไว้ เจ้าของเดิมมาทวง ฟ้องร้องจนชนะได้ที่คืน ส่วนเงินคนโกงบอกใช้หมดไม่มีคืนวัด!
ขอบคุณข้อมูล : แหม่มโพธิ์ดำ