- 26 ม.ค. 2561
ติดตามข่าวสารได้ที่ www.mouthkrajay.com
เชื่อเหลือเกินว่าสิ่งของที่ขาดไม่ได้ของแต่ละคน นอกจากโทรศัพท์มือถือแล้ว ก็คือหูฟัง เพราะสมัยนี้โทรศัพท์มือถือของเราเป็นสมาร์ทโฟนแล้ว สามารถใช้งานในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างง่ายดาย ไม่ว่าจะเอาไว้เล่นโซเชียล ดูหนัง ฟังเพลง เล่มเกมส์ ทุกสิ่งทุกอย่างล้วนมีเสียงออกมา แล้วเราก็จำเป็นต้องใช้หูฟังเพียงไม่ให้เสียงจากสิ่งเหล่านั้นไปรบกวนผู้อื่น จนบางทีหลายๆ คนติดใช้หูฟังแม้กระทั่งอยู่กับบ้าน แล้วยุคสมัยนี้หูฟังยี่ห้อต่างๆ ก็แข่งกันพัฒนาระบบเสียง และรูปแบบ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน บ้างคนชอบแบบคอบทั้งหู บางคนชอบแบบเสียบเข้าไปในรูหู เบสหนักๆ เสียงดังๆแต่มีใครเคยตระหนักไหมว่า ที่จริงแล้วหูฟังเป็นภัยเงียบต่อร่างกายของเรา
ลำโพงที่อยู่ในหูฟังขนาดเล็กจะส่งพลังงานเสียงเข้าสู่หูโดยตรง การใช้อุปกรณ์ที่ปรับระดับความดังที่มากเกินไป บวกกับเสียงรบกวนรอบๆ ตัว เช่น เสียงเครื่องจักร หรือเสียงพูดคุยของคนรอบข้าง แม้ว่าจะไม่ส่งผลต่อการสูญเสียการได้ยินโดยฉับพลันทันที แต่จะค่อยๆ ส่งผลอย่างช้าๆสำหรับกลุ่มคนทำงานวัยหนุ่มสาวที่นิยมใช้เทคโนโลยีเหล่านี้อย่างผิดวิธี ย่อมมีโอกาสสูญเสียการได้ยินก่อนวัยอันสมควร ซึ่งหมายความว่าจะสูญเสียการได้ยินแบบถาวรเมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยกลางคน แทนที่จะอยู่ในวัยชรา
โดยเฉพาะหูฟังชนิดเสียบ สามารถส่งเสียงเกือบทั้งหมดตรงเข้าสู่หูโดยตรง และอุปกรณ์เครื่องเสียงเองยังสามารถเร่งความดังได้ถึง 6-9 เดซิเบล จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อระบบการได้ยินเสียงของผู้ที่ใช้หูฟังชนิดนี้ มีข้อแนะนำให้ลดความดังของเครื่องเล่นลงเมื่อมีอาการดังต่อไปนี้
1.มีอาการเริ่มได้ยินเสียงไม่ชัดเจน
2.มีเสียงลั่น เสียงหึ่ง เสียงอู้อี้ในหูข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง
3.ปวดในช่องหูเมื่อได้ยินเสียงดัง
4.มีความรู้สึกไวต่อการได้ยินอย่างฉับพลัน
อาการสูญเสียการได้ยินย่อมไม่เป็นที่ต้องการของใคร และมักจะไม่มีโอกาสหายเป็นปกติได้ สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อถึงวัยวัยหนึ่ง แม้จะเกิดอาการเป็นครั้งคราว แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจะคงทนถาวรไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะตักเตือนพนักงานวัยรุ่นให้เห็นภัยของการฟังรายการเพลงที่มีเสียงดังผ่านหูฟังแบบปลั๊กในขณะปฏิบัติงาน
ไม่เพียงแค่นั้นปัญหาหูเสื่อมไม่จำเป็นต้องมาจากเสียงรบกวนเสมอไป อาจเกิดขึ้นจากเสียงที่พึงปรารถนาด้วยพฤติกรรมต่างๆ เช่น ติดนิสัยฟัง MP3 ตลอดเวลาโดยเปิดในระดับดังมากๆ การเที่ยวกลางคืนบ่อยๆ ทำให้เซลล์รับเสียงคลื่น ถูกกระทบกระเทือนจนทำงานไม่ได้ ทำให้ไม่ได้ยินเสียงพูดคุยระดับปกติและต้องฟังเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ
อันตรายจากการใช้หูฟังกับความปลอดภัยในการทำงาน
1.ทำให้การสื่อสารบกพร่อง ต้องตะโกนคุยกัน หรืออาจไม่ได้ยินเสียงสัญญาณเตือนใดๆในขณะปฏิบัติงานเชื่องช้าต่อการตอบสนอง ทำให้การทำงานผิด พลาดจนเกิดอุบัติเหตุได้
2.รบกวนการนอนหลับ ทำให้เกิดความอ่อนเพลียเมื่อปฏิบัติงานอาจเกิดความผิดพลาดได้ง่าย
3.ขาดสมาธิ ประสิทธิภาพการคิดค้น การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้และการรับฟังข้อมูลลดลง
4.เสียงดังจะเร้าอารมณ์ให้สร้างความรุนแรง มีพฤติกรรมก้าวร้าว
นอกจากนี้ยีงมีอันตรายอีกหนึ่งสิ่งที่ทุกคนมองข้ามนั่นคือ การที่คนใส่หูฟังแล้วเปิดเพลงดัง จนไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง อาจนำพามาซึ่งอุบัติเหตุได้