สนุกไม่แพ้เรื่องราวละครไทย!! สืบค้นประวัติศาสตร์ บรรพบุรุษสกุล "บุนนาค" น่าชื่นชมยิ่ง"ความจงรักภักดี" ข้าราชการผู้รับใช้เบื้องสูง!??

ติดตามข่าวสารได้ที่ www.tnews.co.th

ร้อนแรงจริงๆสำหรับละครไทยผ่านจอโทรทัศน์อย่าง "บุพเพสันนิวาส"  ที่มีกลิ่นอายความน่ารักสร้างรอยยิ้ม เสียงหัวเราะให้กับผู้ชม  สอดประสานไปกับเรื่องราวเชิงประวัติศาสตร์ให้สื่อทุกแขนงนำไปค้นหาต่อยอดรายละเอียดก่อนย้อนกลับมาเสนอให้แก่บุคคลทั่วไปที่สนใจ  ทั้งนี้ยังไม่นับรวมความฮือฮาของกระแสความนิยม  ถึงขั้นทำให้ละครเรื่องนี้มีการนำไปปรับวิธีการนำเสนอผ่านช่องทางต่างๆในหลายประเทศขณะนี้ และนี่เป็นที่มาของหนึ่งเหตุผลที่คอลัมน์ "ฉาย บุนนาค" ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ  มีการหยิบยกประเด็นดังกล่าวมาเขียนเช่นเดียวกันในแง่มุมที่น่าสนใจ น่าติดตามยิ่ง

 

สนุกไม่แพ้เรื่องราวละครไทย!! สืบค้นประวัติศาสตร์ บรรพบุรุษสกุล "บุนนาค" น่าชื่นชมยิ่ง"ความจงรักภักดี" ข้าราชการผู้รับใช้เบื้องสูง!??

"คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า ปรากฏการณ์ “บุพเพสันนิวาส” และ “อุ่นไอรัก” ได้จุดประกายและปลุกจิตวิญญานของ “ชาตินิยม” ในหัวใจประชาชนคนไทยทั้งชาติให้ระลึกถึงขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทยในอดีต ไม่ว่าจะเป็นทั้งอาหารการกิน การละเล่น ศิลปะวรรณกรรมต่างๆและการแต่งกายให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งอย่างมีสีสัน

โดยเฉพาะละครบุพเพสันนิวาส… ละครไทยเรตติ้ง 16 บวก (ทั่วประเทศ) จากการประมวลผลของบริษัทวัดเรตติ้งสากล เอซี เนลสัน ซึ่งแปลความได้ว่ามีประชากรจำนวน กว่า 10 ล้านคนดูละครเรื่องนี้พร้อมกันเฉลี่ยในทุกๆนาทีระหว่าง เวลา 2 ทุ่ม 20 นาที ถึง 4 ทุ่ม 50 นาที ทุกวันพุธและพฤหัส

 

นวนิยายมีชื่อเรื่องนี้แต่งโดย “รอมแพง” หรือ คุณจันทร์ยวีร์ สมปรีดา นักประพันธ์ อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

เธอมีผลงานมาแล้วมากกว่า 20 งานเขียน... และส่วนใหญ่เป็นนวนิยายแนวรักตลก โดยมีเอกลักษณ์ทั้งสำนวนภาษา และบทพรรณาโวหารที่บรรยายสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมในสมัยนั้นๆ อย่างมีเสน่ห์

 

ชื่อนามปากกา คือชื่อที่เธอใช้ตามชื่อตัวละคร “รอมแพง” ในเรื่อง เวียงกุมกามของทมยันตี แปลว่า "ผู้เป็นที่รัก" หรือ "หญิงผู้เป็นที่รัก"

 

สนุกไม่แพ้เรื่องราวละครไทย!! สืบค้นประวัติศาสตร์ บรรพบุรุษสกุล "บุนนาค" น่าชื่นชมยิ่ง"ความจงรักภักดี" ข้าราชการผู้รับใช้เบื้องสูง!??

เนื้อเรื่องของ “บุพเพสันนิวาส” ย้อนอดีตไปในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือราวปี พ.ศ.2125 และได้รวบรวมตัวละครมากมายที่มีอยู่จริงในประวัติศาสตร์ อาทิเช่น สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเพทราชา หลวงสรศักดิ์ (ต่อมาคือสมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 8 หรือ พระเจ้าเสือ) เจ้าพระยาวิชเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) และอื่นๆอีกมากมาย มาร้อยเป็นเรื่องราว

 

สนุกไม่แพ้เรื่องราวละครไทย!! สืบค้นประวัติศาสตร์ บรรพบุรุษสกุล "บุนนาค" น่าชื่นชมยิ่ง"ความจงรักภักดี" ข้าราชการผู้รับใช้เบื้องสูง!??

 

หนึ่งในนั้นคือ “หลวงศรียศ” หรือ “พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)” ข้าหลวงไทยเชื้อสายเปอร์เซีย มีบิดาคือ พระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด) มารดาชื่อ ท่านชี เป็นน้องชายของเจ้าพระยาศรีไสยหาญณรงค์ (ยี) และมีศักดิ์เป็นหลานตาของเจ้าพระยาบวรราชนายก (เฉกอะหมัด) ซึ่งคือต้นตระกูล “บุนนาค” ที่เดินทางมาจากอิหร่าน

 

จากข้อมูลประวัติศาสตร์ ช่วงที่ท่านเป็นจุฬาราชมนตรีอยู่นั้น เป็นช่วงที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์เรืองอำนาจและมีความขัดแย้งระหว่างชาวคริสต์และมุสลิมในราชอาณาจักรมาก จึงได้รับภารกิจลงไปเจรจาแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในมะละกาที่เมืองปัตตาเวีย

 

ด้วยความสนใจในประวัติศาสตร์ ด้วยความภาคภูมิใจในวงศ์ตระกูล ด้วยแรงกระตุ้นจากปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสและด้วยความสงสัยแต่เยาว์วัยว่า “เราคือบุนนาค สายไหนหนอ?” … “ต้นตระกูลเราเป็นใคร?” ... “ทำไมจึงมีคนมากมายนามสกุลเหมือนเรา?” ...จึงทำให้ผมศึกษาเพิ่มเติมอย่างจริงจังเพื่อลำดับสาแหรกของตนเองให้ได้ซึ่งผมจะลำดับให้ผู้อ่านผ่านบทประพันธ์หลายเรื่องตั้งแต่ บุพเพสันนิวาส สู่ พันท้ายนรสิงห์ สู่ ศรีอโยธยา ยาวสู่ทวิภพ …

 

สนุกไม่แพ้เรื่องราวละครไทย!! สืบค้นประวัติศาสตร์ บรรพบุรุษสกุล "บุนนาค" น่าชื่นชมยิ่ง"ความจงรักภักดี" ข้าราชการผู้รับใช้เบื้องสูง!??

 

อย่างไรก็ตาม   บรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” ในละครบุพเพสันนิวาส เฉกเช่น   “หลวงศรียศ” ซึ่งภายหลังดำรงตำแหน่ง “พระยาจุฬาราชมนตรี (แก้ว)” ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  หาใช่บรรพบุรุษสกุล “บุนนาค” เพียงท่านเดียวที่รับราชการสมัยนั้น… “เจ้าพระยาชำนาญภักดี” สมุหนายก อัครมหาเสนาบดีฝ่ายเหนือ คือ  บรรพบุรุษสกุลบุนนาคอีกท่านหนึ่ง ซึ่งเป็น “หลานตา” ของ “เจ้าพระยาบวรราชนายก” (เฉกอะหมัด) ต้นตระกูลบุนนาค ซึ่งถวายตัวรับใช้ราชการในรัชสมัย “สมเด็จพระนารายณ์มหาราช” และ “สมเด็จพระเพทราชา” 

 

สนุกไม่แพ้เรื่องราวละครไทย!! สืบค้นประวัติศาสตร์ บรรพบุรุษสกุล "บุนนาค" น่าชื่นชมยิ่ง"ความจงรักภักดี" ข้าราชการผู้รับใช้เบื้องสูง!??

 

อีกประการสำคัญในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช หาใช่ยุครุ่งเรืองทางการค้าและการทูตเท่านั้น หากเป็นยุคด้านวรรณกรรม เพราะมีกวีลือนามแห่งรัชสมัยได้แก่ “พระโหราธิบดี” หรือ “พระมหาราชครู” ผู้ประพันธ์หนังสือ “จินดามณี” ซึ่งเป็นตำราเรียนภาษาไทยเล่มแรก และกวีอีกผู้หนึ่งคือ “ศรีปราชญ์” ผู้เป็นปฏิภาณกวี เป็นบุตรของพระโหราธิบดี งานชิ้นสำคัญของศรีปราชญ์ คือ หนังสือกำศรวลศรีปราชญ์ และอนิรุทธคำฉันท์

 

สนุกไม่แพ้เรื่องราวละครไทย!! สืบค้นประวัติศาสตร์ บรรพบุรุษสกุล "บุนนาค" น่าชื่นชมยิ่ง"ความจงรักภักดี" ข้าราชการผู้รับใช้เบื้องสูง!??

“ศรีปราชญ์” คือกวีเอกที่ฉายแววตั้งแต่อายุ 7 ขวบ หลังเขียนแต่งต่อบทโคลงบนกระดานชนวนของบิดา ซึ่งบทโคลงนั้นเป็นการบ้านที่พระนารายณ์มอบหมายให้ หลังจากท่านแต่งไว้แล้วติดขัด ซึ่งทำให้เป็นที่พอพระทัยและเป็นจุดเริ่มต้นของการเข้ารับราชการของเด็กชาย “ศรี”

 

ย่างเข้าวัยหนุ่มของ “ศรีปราชญ์”… ด้วยความเจ้าชู้ คึกคะนอง และเมาสุราเป็นครั้งครา จึงทำให้ต้องโทษหลายต่อหลายครั้ง แต่ด้วยความเป็นคนโปรดของขุนหลวงและด้วยคำขอจากบิดาต่อขุนหลวงก่อนเข้ารับราชการ จึงมิเคยต้องโทษถึงขั้นประหาร…

 

แต่ก็ด้วยการเมืองไทยในอดีตก็ไม่ต่างกับปัจจุบัน ความริษยาและความดีเด่นของท่านศรีปราชญ์ก็ทำให้เป็นที่อิจฉาของข้าหลวงอื่นๆที่แวดล้อม จนสุดท้ายต้องถูกเนรเทศและถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายจนต้องโทษประหาร


แม้นักวิชาการบางท่านจะยังมีข้อสงสัยในความมีตัวตนจริงของ “ศรีปราชญ์” แต่เรื่องราวและผลงานของท่านช่างไพเราะ และเตือนใจคนเรายิ่งนักโดยเฉพาะโคลงบทสุดท้ายที่ศรีปราชญ์ได้ขออนุญาตเขียนไว้กับพื้นธรณีก่อนที่เพชฌฆาตจะลงดาบประหาร

 

เพียงเพราะ “ศรีปราชญ์” มีความโดดเด่นเกินวัย จนเป็นที่โปรดปรานของขุนหลวง และด้วยความคะนองพลั้งเผลอในวัยหนุ่มจึงทำให้มีแผลเรื่องความเจ้าชู้ และแผลนี้เองก็ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือใส่ร้ายซํ้าสองจนต้องโทษประหาร ทั้งที่ท่านมิได้กระทำผิด… มิต่างจากเจ้าหน้าที่รัฐในปัจจุบัน

 

โคลงบทนี้ หาใช่คำสาปแช่ง แต่คือ “กฎแห่งกรรม” ที่สะท้อนเตือนใจคน โดยเฉพาะพวกเจ้าหน้าที่รัฐที่ใช้อำนาจอย่างไม่สุจริตและเป็นธรรม มุ่งทำลายล้าง กลั่นแกล้งด้วยอคติ

 

ขอบคุณที่มา :  คอลัมน์ : ฉาย บุนนาค /หน้า 18 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ