เข้าใจผิดมาทั้งชีวิต! "บาดทะยัก" อาการไม่ใด้เป็นแบบที่หลายคนเข้าใจ อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม การรักษาและการป้องกันโรค!

บาดทะยัก โรคร้ายที่ควรเรียนรู้ ความเข้าใจใหมา อาการของโรคไม่ได้เป็นแบบที่เรารู้กัน พร้อมแนะนำวิธีการรักษาและการป้องกันระวังตัว

บาดทะยัก (Tetanus) เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มีอันตรายร้ายแรง ในบ้านเรายังพบโรคนี้ได้เป็นครั้งคราว สามารถพบได้ในคนทุกวัย ส่วนมากผู้ป่วยจะมีประวัติมีบาดแผลตามร่างกาย (เช่น ตะปูตำ หนามเกี่ยว มีบาดแผลสกปรก หรือขาดการดูแลแผลอย่างถูกต้อง) และไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักมาก่อน ซึ่งความสำคัญของโรคนี้คือ ผู้ป่วยจะมีโอกาสเสียชีวิต ส่วนคนที่เคยเป็นโรคนี้ครั้งหนึ่งแล้วก็ยังสามารถเป็นซ้ำได้อีก แต่โรคนี้ก็สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีน

 

สาเหตุของโรคบาดทะยัก

โรคบาดทะยักเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่าคลอสตริเดียม เตตานิ (Clostridium Tetani) แพร่กระจายโดยสปอร์ของแบคทีเรียที่พบได้ตามดิน ฝุ่น สิ่งสกปรก และอุจจาระของสัตว์อย่างม้าหรือวัว โดยเชื้อชนิดนี้มีชีวิตอยู่ภายนอกร่างกายได้เป็นเวลานาน และยังคงทนต่อสภาพแวดล้อมต่าง ๆ แม้แต่ในที่ที่มีความร้อนสูงก็ตาม

การติดเชื้อบาดทะยักเกิดขึ้นได้เมื่อร่างกายบริเวณที่เกิดแผลสัมผัสเข้ากับเชื้อ สปอร์ของแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของบาดทะยักสามารถเพิ่มตัวอย่างรวดเร็วและแพร่ผ่านกระแสเลือดไปสู่ระบบประสาทส่วนกลาง รวมถึงผลิตสารพิษที่มีชื่อว่าเตตาโนสปาสมิน (Tetanospasmin) ซึ่งจะส่งผลให้เส้นประสาทต่าง ๆ ที่ควบคุมกล้ามเนื้อเสียหาย จนเกิดเป็นอาการปวดและชักเกร็งของกล้ามเนื้อซึ่งเป็นอาการหลักของโรคบาดทะยักนั่นเอง

 

บาดทะยัก

น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น 
น้ำมันนวดสมุนไพรวังงู 

 

อาการของโรคบาดทะยัก

หลังจากเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคบาดทะยักเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยอาจแสดงอาการติดเชื้อได้ตั้งแต่ 3-21 วันหรืออาจนานกว่านั้น แต่โดยเฉลี่ยมักมีอาการภายใน 10-14 วัน ซึ่งผู้ป่วยที่มีอาการอย่างรวดเร็วมักจะแสดงถึงการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าและรักษาได้ยากกว่า


โรคบาดทะยักมีอาการบ่งบอก ดังนี้

1. อาการชักเกร็งหรือกล้ามเนื้อขากรรไกรหดเกร็ง ซึ่งอาจทำให้เจ็บปวดและอ้าปากลำบาก
2. กล้ามเนื้อที่ลำคอหดเกร็งจนเกิดอาการเจ็บปวด กลืนและหายใจลำบาก
3. มีอาการหดเกร็งที่กล้ามเนื้อส่วนอื่น ๆ ตามมา เช่น ช่องท้อง หลัง และหน้าอก
4. ร่างกายกระตุกและเจ็บเป็นเวลานานหลายนาที ซึ่งมักเกิดจากสิ่งกระตุ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น เสียงดัง ลมพัด การถูกสัมผัสร่างกาย หรือการเผชิญกับแสง

นอกจากนี้ อาการอื่น ๆ ที่อาจเกิดร่วมด้วย ได้แก่

1. มีไข้สูง
2. เหงื่อออก
3. ความดันโลหิตสูง
4. หัวใจเต้นเร็ว
5. อาการดังกล่าวเหล่านี้ หากปล่อยไว้และไม่ได้รับการรักษาอาจทรุดหนักลงได้ภายในไม่กี่วันหรืออาจเพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อมา และอันตรายถึงขั้นทำให้หายใจไม่ออกหรือหัวใจหยุดเต้นและเสียชีวิตได้


เชื้อบาดทะยักยังสามารถแพร่เข้าสู่ร่างกายผ่านแผลที่มีลักษณะต่อไปนี้

1. แผลถลอก รอยครูด หรือแผลจากการโดนบาด
2. แผลจากการถูกสัตว์กัด เช่น สุนัข เป็นต้น
3. แผลที่มีการฉีกขาดของผิวหนังเกิดขึ้น
4. แผลไฟไหม้
5. แผลถูกทิ่มจากตะปูหรือสิ่งของอื่น ๆ
6. แผลจากการเจาะร่างกาย การสัก หรือการใช้เข็มฉีดยาที่ปนเปื้อนสิ่งสกปรก
7. แผลจากกระสุนปืน
8. กระดูกหักที่ทิ่มแทงผิวหนังออกมาภายนอก
9. แผลติดเชื้อที่เท้าในผู้ป่วยโรคเบาหวาน
10. แผลบาดเจ็บที่ดวงตา
11. แผลจากการผ่าตัดที่ปนเปื้อนเชื้อ
12. การติดเชื้อที่ฟัน
13. การติดเชื้อทางสายสะดือในทารก เนื่องจากการทำคลอดที่ใช้ของมีคมที่ไม่สะอาดตัดสายสะดือ และยิ่งมีความเสี่ยงสูงเมื่อมารดาไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักอย่างครบถ้วน

 

บาดแผล

 

การป้องกันโรคบาดทะยัก

การฉีดวัคซีนเป็นวิธีป้องกันโรคบาดทะยักที่ง่ายและได้ผล โดยควรฉีดกระตุ้นเมื่อเกิดแผลสกปรกหรือแผลเปิดที่ผู้ป่วยไม่แน่ใจว่าตนฉีดวัคซีนครั้งสุดท้ายเมื่อไร และทางที่ดีควรฉีดป้องกันตั้งแต่ยังเป็นทารกด้วยวัคซีน DTaP สำหรับป้องกันทั้งโรคคอตีบ โรคไอกรน และโรคบาดทะยักในวัคซีนเดียวกัน ซึ่งจะฉีดทั้งหมด 5 ครั้งที่บริเวณแขนหรือต้นแขนเมื่อเด็กอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 15-18 เดือน และเมื่ออายุ 4-6 ปี หลังจากนั้นจึงฉีดกระตุ้นด้วยวัคซีน Tdap สำหรับป้องกันโรคบาดทะยักคอตีบไอกรน หรือวัคซีน Td สำหรับป้องกันโรคบาดทะยักคอตีบทุก ๆ 10 ปี

ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยัก ควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก ในระยะแรก 3-4 ครั้ง ขึ้นอยู่กับว่าฉีดเมื่ออายุเท่าใดและเคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคบาดทะยักมาก่อนหรือไม่ หลังจากนั้นจึงฉีดกระตุ้นทุก 10 ปี
อันตรายใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

การป้องกันด้วยตนเองเมื่อเกิดบาดแผล

แผลทุกชนิด ไม่ว่าบาดแผลลึก แผลถูกกัดจากสัตว์ และแผลสกปรกล้วนเสี่ยงต่อการเกิดโรคบาดทะยักได้สูง ยกเว้นแต่แผลเล็กน้อยที่ไม่สกปรกหรือเปรอะเปื้อน การป้องกันเบื้องต้นควรรีบล้างแผล ฟอกสบู่แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด จากนั้นจึงเช็ดด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น แอลลกอฮอล์หรือทิงเจอร์ใส่แผลสด แล้วรีบไปพบแพทย์เพื่อปรึกษาถึงการป้องกันการติดเชื้อบาดทะยัก รวมทั้งตรวจดูว่าวัคซีนที่เคยได้รับยังมีประสิทธิภาพในการป้องกันได้อยู่หรือไม่

บาดแผลที่เล็กน้อยจะสามารถป้องกันการติดเชื้อโรคบาดทะยักด้วยตนเองได้ดังต่อไปนี้

1. กดแผลไว้เพื่อหยุดหรือห้ามเลือด

2. รักษาความสะอาดของแผล เมื่อเลือดหยุดไหลให้ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด และทำความสะอาดบริเวณรอบ ๆ ด้วยสบู่และผ้าเช็ดแผล แต่หากพบว่ามีเศษสิ่งสกปรกใด ๆ ฝังอยู่ในแผลให้รีบไปพบแพทย์ทันที

3. ใช้ยาปฏิชีวนะ โดยหลังจากทำความสะอาดแผลให้ใช้ครีมหรือขี้ผึ้งปฏิชีวนะทาบริเวณแผล เช่น ยานีโอสปอริน (Neosporin) และโพลีสปอริน (Polysporin) ซึ่งแม้ยาเหล่านี้จะไม่ช่วยให้แผลหายเร็ว แต่ก็สามารถขัดขวางการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและการติดเชื้อบาดทะยัก ทั้งนี้หากใช้ยาทาประเภทขี้ผึ้งแล้วเกิดอาการแพ้จนเกิดผื่น ควรหยุดใช้ยาทันที

4. ใช้ผ้าปิดบาดแผลเพื่อให้แผลสะอาดและป้องกันจากการสัมผัสเชื้อแบคทีเรียของแผล โดยเฉพาะแผลพุพองที่กำลังแห้งจะยิ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อ จึงควรปิดแผลไว้จนกว่าแผลเริ่มก่อตัวเป็นสะเก็ด นอกจากนี้ควรเปลี่ยนผ้าทำแผลทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้งหรือเมื่อใดก็ตามที่ผ้าปิดแผลเปียกน้ำหรือเริ่มสกปรก เพื่อหลีกเลี่ยงจากการติดเชื้อ

หมายเหตุ : สาเหตุที่ต้องฉีดกระตุ้นทุก 10 ปีนั้น เนื่องมาจากภูมิคุ้มกันโรคจะค่อย ๆ ลดลงไปเรื่อย ๆ ตามกาลเวลา และอาจไม่เพียงพอต่อการป้องกันโรคเมื่อได้รับสารพิษของเชื้อบาดทะยัก แต่การฉีดวัคซีนป้องกันบาดทะยักถี่เกินไปคือน้อยกว่า 10 ปี ก็อาจทำให้มีอาการปวดมากบริเวณที่ฉีด มีอาการบวมแดงที่อาจเกิดขึ้นทั้งแขนที่ฉีดได้

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- โสโครก!! "15 สิ่งของ" แท้จริงแล้ว สกปรกกว่า "ส้วมสาธารณะ" แหล่งสะสมเชื้อโรคชั้นดี อันตรายใกล้ตัว!! (รายละเอียด)
- 12 สูตรเคล็ดลับ ขจัดคราบดำใน "ร่องยาแนว" แหล่งรวมเชื้อโรค ให้ขาววิ๊งเหมือนใหม่ ง่ายนิดเดียว!!
 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : pobpad.com , medthai.com