กูเป็นตำรวจ มึงจะทำไม! ซิ่งปาดหน้าแถมหาเรื่องประชาชน ในรถมีเด็กอยู่ด้วย (คลิป)

หัวร้อนสุดๆเจอขับรถปาดหน้ากระทันหันขับตามไปตำหนิโดนหาเรื่องกลับ ลั่น เป็นตำรวจ จะเอาอย่างไร!

คุณพิฑูรย์ ธีรวิทยวงษ์ โพสต์คลิปวีดีโอจากกล้องหน้ารถเหตุการณ์เมื่อคืนที่ผ่านมาขณะกำลังขับขี่รถยนต์ไปบนถนนสายหนึ่ง จู่ๆมีรถเก๋งสีขาวพุ่งออกจากซอยปาดหน้ากระทันหันเหยียบเบรคแทบไม่ทัน เมื่อตามไปตำหนิเก๋งขาวกลับตะโกนด่ากลับมาอ้างว่าเป็นตำรวจ

คุณพิฑูรย์ ธีรวิทยวงษ์โพสต์คลิปและข้อความ ตำรวจแล้วไง...สึด..ปล.ลูกเมียอยู่ในรถ นาทีที1.55

 

กูเป็นตำรวจ มึงจะทำไม! ซิ่งปาดหน้าแถมหาเรื่องประชาชน ในรถมีเด็กอยู่ด้วย (คลิป)

 

ขณะกำลังขับรถจู่ๆมีรถเก๋งเลี้ยวออกจากซอยตัดหน้าแบบกระทันหัน เจ้าของคลิปและภรรยาตะโกนร้องด้วยความตกใจแทบเหยียบเบรคไม่ทัน

 

กูเป็นตำรวจ มึงจะทำไม! ซิ่งปาดหน้าแถมหาเรื่องประชาชน ในรถมีเด็กอยู่ด้วย (คลิป)

 

เก๋งขาวอ้างเป็นตำรวจตะโกนตอบกลับเจ้าของคลิปถามว่า "แล้วไง มึงจะเอาไง กูเป็นตำรวจ"

 

กูเป็นตำรวจ มึงจะทำไม! ซิ่งปาดหน้าแถมหาเรื่องประชาชน ในรถมีเด็กอยู่ด้วย (คลิป)

 

หลังปะทะคารมกันไปเก๋งขาวก็ปาดกลับเข้ามาขวางหน้าอีกครั้งและจอดอยู่กับที่ขณะที่ภรรยาเจ้าของคลิปก็พยายามเกลี้ยกล่อมให้สามียอมอย่าไปหาเรื่อง

กูเป็นตำรวจ มึงจะทำไม! ซิ่งปาดหน้าแถมหาเรื่องประชาชน ในรถมีเด็กอยู่ด้วย (คลิป)

 

กูเป็นตำรวจ มึงจะทำไม! ซิ่งปาดหน้าแถมหาเรื่องประชาชน ในรถมีเด็กอยู่ด้วย (คลิป)

 

นอกจากนี้เจ้าของคลิปยังเล่าว่าชายที่อ้างเป็นตำรวจคนนี้มีอาการเมา และอยากเอาเรื่องให้ถึงสน.ต้นสังกัดเลยทีเดียว

 

กูเป็นตำรวจ มึงจะทำไม! ซิ่งปาดหน้าแถมหาเรื่องประชาชน ในรถมีเด็กอยู่ด้วย (คลิป)

 

กูเป็นตำรวจ มึงจะทำไม! ซิ่งปาดหน้าแถมหาเรื่องประชาชน ในรถมีเด็กอยู่ด้วย (คลิป)

 

กูเป็นตำรวจ มึงจะทำไม! ซิ่งปาดหน้าแถมหาเรื่องประชาชน ในรถมีเด็กอยู่ด้วย (คลิป)

 

เปิดเอกสารการพิจารณาความผิดและกำหนดโทษ โดย พล.ต.ต.ปัญญา  เอ่งฉ้วน ผู้บังคับการกองวินัย

ในการพิจารณาปรับบทความผิดจึงควรจะคำนึงถึงหลักทั้ง 2 ดังกล่าว ควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อความถูกต้อง และเป็นธรรมทั้งในด้านนิตินัย และทางพฤตินัย

หลักการพิจารณากำหนดโทษ


ในการพิจารณากำหนดโทษ มีหลักในการพิจารณาดังนี้
(1)  หลักนิติธรรม  คือ คำนึงถึงระดับโทษตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งอาจแบ่งได้เป็น 3 ระดับ คือ
(ก)  ความผิดวินัยอย่างร้ายแรง จะต้องโทษสถานไล่ออก หรือปลดออก ตามความร้ายแรงแห่งกรณี ถ้ามีเหตุอันควรลดหย่อน จะลดหย่อนก็ได้ แต่ลดลงต่ำกว่าปลดออกไม่ได้
(ข)  ความผิดวินัยไม่ร้ายแรง จะต้องลงทัณฑ์ภาคทัณฑ์ ทัณฑกรรม กักยาม กักขัง  หรือตัดเงินเดือน
(ค)  ความผิดวินัยเล็กน้อย อาจวางโทษสถานภาคทัณฑ์ แต่ถ้าเป็นความผิดครั้งแรก และผู้บังคับบัญชาเห็นว่ามีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือน หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้


(2)  หลักมโนธรรม  คือ  การพิจารณาทบทวนให้รอบคอบโดยคำนึงถึงความถูกต้องเหมาะสมตามเหตุผลที่ควรจะเป็นภายในขอบเขตระดับโทษตามที่กฎหมายกำหนด เช่นในกรณีที่กฎหมายกำหนดว่าความผิดวินัยอย่างร้ายแรงจะต้องลงโทษไล่ออก หรือปลดออก ดังนี้กรณีไหนควรกำหนดโทษเป็นไล่ออก กรณีไหนควรกำหนดโทษเป็นปลดออก ควรใช้หลักมโนธรรมเข้าประกอบการพิจารณาด้วย และทำนองเดียวกันในกรณีความผิดไม่ร้ายแรง กรณีไหนจะควรลงทัณฑ์  กักยาม กักขัง หรือภาคทัณฑ์ และกรณีไหนจะควรลดหย่อนโทษ หรืองดโทษ ก็ควรใช้หลักมโนธรรมเข้าประกอบการพิจารณาด้วย


(3)  หลักความเป็นธรรม คือ การวงโทษจะต้องให้ได้ระดับเสมอหน้ากัน ใครทำผิดก็จะต้องถูกลงโทษ ไม่มียกเว้น ไม่เลือกที่รักมักที่ชัง การกระทำผิดอย่างเดียวกันในลักษณะ และพฤติการณ์คล้ายคลึงกัน ควรจะวางโทษเท่ากัน
อย่างไรก็ดี แม้จะเป็นความผิดอย่างเดียวกันก็อาจแตกต่างกันในลักษณะพฤติการณ์ หรือเหตุผลซึ่งอาจใช้ดุลพินิจวางโทษหนักเบาแตกต่างกันตามควรแก่กรณีได้  โดยนำเหตุบางประการมาประกอบการพิจารณา เช่น


- ลักษณะของการกระทำผิด ความผิดอย่างเดียวกัน บางกรณีพฤติการณ์หรือลักษณะแห่งการกระทำผิดเป็นการกระทำความผิดวินัยอย่างร้ายแรง จะต้องวางโทษหนักอาจจะถึงไล่ออกจากราชการ แต่บางกรณีพฤติการณ์หรือลักษณะการกระทำผิดไม่ถึงขั้นเป็นความผิดร้ายแรง  ซึ่งอาจพิจารณาวางโทษสถานเบาลดหลั่นกันตามสมควรแก่กรณี
- ผลแห่งการกระทำผิด ความผิดอย่างเดียวกัน อาจต้องวางโทษต่างกัน เพราะผลแห่งการกระทำผิดทำให้เกิดความเสียหายมากน้อยต่างกัน
- คุณความดี  ในความผิดอย่างเดียวกัน ผู้มีประวัติการทำงานดี ไม่เคยกระทำผิดมาก่อน อาจได้รับโทษน้อยกว่าผู้ที่เคยทำผิดมาก่อนแล้ว ผู้ทำผิดในเรื่องเดียวกัน ความที่พยายามแก้ไขบรรเทาผลร้ายอาจได้รับโทษน้อยกว่าผู้ไม่ได้พยายามทำเช่นนั้น เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจที่บกพร่องควบคุมผู้ต้องหาไม่ดีเป็นเหตุให้ผู้ต้องหาหลบหนี ในรายที่พยายามติดตามจับกุมผู้ต้องหาที่หลบหนีคืนมาได้ ควรจะได้รับโทษน้อยกว่าคนที่ไม่พยายามทำเช่นนั้น
- การรู้หรือไม่รู้ว่าการกระทำนั้นเป็นความผิด ถ้าทำไปทั้ง ๆ ที่รู้ว่าผิด ย่อมมีโทษหนักกว่าทำไปเพราะไม่รู้ว่าผิด
- การให้โอกาสแก้ไขความประพฤติ  ถ้าเป็นความผิดเล็กน้อยไม่ร้ายแรง อาจให้โอกาสแก่ผู้กระทำผิดที่จะแก้ไขความประพฤติอีกครั้ง โดยวางโทษสถานเบา หรืองดโทษโดยว่ากล่าวตักเตือนหรือทำทัณฑ์บน แล้วแต่กรณี
- เหตุเบื้องหลังการกระทำผิด การกระทำผิดเพราะความจำเป็นบังคับหรือเพราะถูกยั่วโทสะ อาจได้รับโทษน้อยกว่าทำผิดโดยสันดานชั่วร้าย บางทีการกระทำผิดอาจเกิดขึ้นเพราะโรคจิตซึ่งต้องใช้การรักษามากกว่าการลงโทษ
- สภาพของผู้กระทำผิด  ในความผิดอย่างเดียวกัน อาจกำหนดโทษต่างกันตามสภาพของผู้กระทำผิด ซึ่งอาจต้องพิจารณาโดยคำนึงถึง เพศ อายุตัว อายุราชการ การศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ และสภาพทางส่วนตัวด้านอื่น ๆ ของผู้กระทำผิด


จุดมุ่งหมายในการให้นำเหตุดังกล่าวข้างต้นมาประกอบดุลพินิจในการวางโทษหนักเบานั้น ไม่ได้มาจากนโยบายผ่อนปรนหรือนโยบายกวดขัน แต่มาจากแนวความคิดที่เห็นว่า การพิจารณาลงโทษไม่ควรจะเป็นไปตามกลไกตายตัวเสียทีเดียว ควรจะให้ผู้บังคับบัญชาและผู้พิจารณาใช้ดุลพินิจได้บ้าง บนรากฐานการชั่งน้ำหนักเหตุต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น

 

 

 

 

 

ขอบคุณ

พิฑูรย์ ธีรวิทยวงษ์ 

การพิจารณาความผิดและกำหนดโทษ โดย พล.ต.ต.ปัญญา  เอ่งฉ้วน ผู้บังคับการกองวินัย