- 03 ก.ย. 2561
เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่โรงเรียนนาแห้ววิทยา อ.นาแห้ว จ.เลย พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานการประชุมรับฟังสรุปผลการปฏิบัติงานความก้าวหน้าและแผนการดำเนินงานตามโครงการจัดพื้นที่ “นาแห้วโมเดล” จ.เลย โดยมีนายอรรถพล เจริญชันษา รองอธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่โรงเรียนนาแห้ววิทยา อ.นาแห้ว จ.เลย พลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานการประชุมรับฟังสรุปผลการปฏิบัติงานความก้าวหน้าและแผนการดำเนินงานตามโครงการจัดพื้นที่ “นาแห้วโมเดล” จ.เลย โดยมีนายอรรถพลเจริญชันษา รองอธิบดีกรมป่าไม้ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
พลเอกสุรศักดิ์ กล่าวว่า จากการรประชุมคณะกรรมการจัดหาที่ดิน (คทช.) ครั้งที่ 2/2561 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 มีมติให้นำเสนอ คทช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบในการแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่ป่า โดย คทช. ได้กำหนดมาตรการและเงื่อนไขที่เหมาะสม เพื่อปฏิรูปและแก้ไขปัญหาเร่งด่วนด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามนโยบายรัฐบาลในพื้นที่จังหวัดเลย จึงกำหนดให้จัดทำ “นาแห้วโมเดล” ให้เป็นพื้นที่นำร่อง ต่อมา คทช. ได้มีมติเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2561 เห็นควรให้พิจารณาชุมชนที่มีความพร้อมเพื่ออนุญาตให้ใช้ประโยชน์พื้นที่ โดยมีการกำหนดขอบเขตพื้นที่ เพื่ออยู่อาศัยและทำกิน ภายใต้กติกาที่ออกแบบร่วมกัน เพื่อป้องกันการบุกรุกเพิ่มเติม รวมทั้งการพิจารณาคัดกรองนายทุนและผู้ยากไร้ตามคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 ด้วย
“สิ่งที่ตั้งเป้าและคาดหวังจาก นาแห้วโมเดล คือ พื้นที่แห่งนี้จะกลายเป็นต้นแบบของจังหวัดเลย เพื่อขยายผลสู่จังหวัดต่างๆ ที่มีปัญหาเช่นเดียวกัน ซึ่งนอกจากพี่น้องประชาชนจะมีสิทธิในพื้นที่ทำกิน และอาศัยอยู่กับป่าได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายแล้ว รัฐบาลยังพร้อมยื่นมือเข้าสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามความจำเป็นภายใต้การใช้ประโยชน์พื้นที่ที่ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และร่วมกันดูแลผืนป่าของเราไปพร้อมๆ กัน” พลเอกสุรศักดิ์ กล่าว
ด้านนายอรรถพล กล่าวว่า อำเภอนาแห้วมีเนื้อที่ 392,235 ไร่ เป็นที่ดินเอกชน 14,041.86 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 3.58 และเป็นที่ดินของรัฐ 378,193.14 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 96.42 ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกรมป่าไม้ จำนวน 311,290.63 ไร่ หรือร้อยละ 79.36 โดยในปี 2558 มีพื้นที่คงสภาพป่าจำนวน 266,020 ไร่ หรือร้อยละ 67.82 สำหรับอำเภอนาแห้วมี 5 ตำบล 34 หมู่บ้าน มีหมู่บ้านทับซ้อนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติจำนวน 33 หมู่บ้าน แบ่งเป็น อยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1, 2 จำนวน 22 หมู่บ้าน และทับซ้อนอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1, 2 บางส่วนอีก 11 หมู่บ้าน ส่วนอีก 1 หมู่บ้านอยู่ในเขตความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1, 2
นายอรรถพล กล่าวว่า โดยพลเอกสุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีทส. ได้มอบหมายกรอบการพิจารณาเพื่อแก้ปัญหาคนอยู่ร่วมกับป่า แบ่งเป็นชุมชนที่อยู่ก่อนประกาศเขตป่า อ.นาแห้ว มี 4 ตำบล 14 หมู่บ้าน, อ.ด่านซ้าย ต.โป่ง 11 หมู่บ้าน และอ.หนองหิน ต.ปวนพุ 4 หมู่บ้าน โดยใช้กลไกปกติเพื่อเข้าสู่การพิจารณาของกองแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ (กบร.) เพื่อขอเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติตามมาตรา 7 พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และพิจารณาควบคู่ตามโครงการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่รัฐแบบบูรณาการมาตราส่วน 1 : 4000 หรือ วันแมป
ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้น 1, 2 ก่อนมติมติครม. 30 มิ.ย. 41 มี 4 มาตรการ คือ 1.จัดระเบียบการใช้ที่ดินทำกิน และรองรับการอยู่อาศัยทำกินในลักษณะแปลงรวม 2.กำกับควบคุมจัดการการใช้ที่ดินและป่าไม้ภายใต้การอนุรักษ์และพัฒนาอย่างยั่งยืน ห้ามบุกรุกขยายพื้นที่ 3.ฟื้นฟูสภาพป่าในรูปแบบการมีส่วนร่วม ส่งเสริมราษฎร ปลูกป่า 3 อย่าง และ 4.ใช้มาตรการอนุรักษ์ดินและน้ำ ควบคุมผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมลดการชะล้างพังทลาย
“สำหรับชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้น 1, 2 หลังมติมติครม. 30 มิ.ย. 41 ได้วางแผนร่วมกับราษฎรและกรรมการหมู่บ้านประชาคม เพื่อออกแบบ คัดเลือกพันธุ์ไม้ตามแนวพระราชดำริปลูกป่า 3 อย่าง เพื่อฟื้นฟูสภาพป่า โดยกรมป่าไม้จะจัดหาพันธุ์ไม้และให้ราษฎรเป็นผู้ดูแลต้นไม้ที่ปลูก และราษฎรใช้ประโยชน์ที่ดินในระหว่างแถวของต้นไม้ได้ โดยราษฎรจะได้รับประโยชน์จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากไม้ที่ปลูก และพืชพื้นล่างด้วย” ชุมชนในเขตป่าสงวนแห่งชาติที่อยู่ในลุ่มน้ำชั้น 3, 4, 5 หลังมติครม. 30 มิ.ย. 41 อนุญาตให้อยู่อาศัยและทำกินแบบแปลงรวม โดยออกแบบการใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างชุมชน และหน่วยงานรัฐ โดยชุมชนต้องดูแลรักษาและใช้ประโยชน์พื้นที่ในลักษณะที่เกื้อกูลต่อการอนุรักษ์ตามที่กำหนดร่วมกัน นายอรรถพลกล่าวปิดท้าย