- 13 ก.ย. 2561
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561 ว่า จากกรณีที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดชุมพร ร่วมกับคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ดร.นวล กันยา และนักวิจัยต่างชาติ Dr.Angel จากฮาวาย ได้ลงพื้นที่สำรวจโดยใช้แสงไฟจากเรือไดน์กมึกล่อ บริเวณอ่าวโฉลกหลำ เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี เพื่อสำรวจชนิดแมงกะพรุน ซึ่งได้รับแจ้งจากเครือข่ายฯ ว่าพบมงกะพรุนพิษบริเวณดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 กันยายน ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจเมื่อวัน 10 -11 กันยายน ที่ผ่านมา ในบริเวณดังกล่าว พบแมงกะพรุนกล่องชนิดหลายสาย (Chironex indrasaksajiae) จำนวน 25 ตัว ซึ่งพบบริเวณชายฝั่งน้ำตื้น ประมาณ 1-2 เมตร
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2561 ว่า จากกรณีที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดชุมพร ร่วมกับคณะวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ดร.นวล กันยา และนักวิจัยต่างชาติ Dr.Angel จากฮาวาย ได้ลงพื้นที่สำรวจโดยใช้แสงไฟจากเรือไดน์กมึกล่อ บริเวณอ่าวโฉลกหลำ เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี เพื่อสำรวจชนิดแมงกะพรุน ซึ่งได้รับแจ้งจากเครือข่ายฯ ว่าพบมงกะพรุนพิษบริเวณดังกล่าว เมื่อวันที่ 8 กันยายน ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจเมื่อวัน 10 -11 กันยายน ที่ผ่านมา ในบริเวณดังกล่าว พบแมงกะพรุนกล่องชนิดหลายสาย (Chironex indrasaksajiae) จำนวน 25 ตัว ซึ่งพบบริเวณชายฝั่งน้ำตื้น ประมาณ 1-2 เมตร
อนึ่ง แมงกะพรุนกล่องในสกุล Chironex spp. ทั่วโลกมีรายงานการพบ 3 ชนิด คือ Chironex fleckeri Southcott, 1956 Chironex yamaguchii Lewis and Bentlage, 2009 และ Chironex indrasaksajiae Sucharitakul, 2017 แมงกะพรุนกล่องทั้ง 3 ชนิด จัดเป็นแมงกะพรุนที่มีพิษร้ายแรงมาก หากได้รับพิษมากกว่าพื้นที่ร้อยละ50ของพื้นที่ผิวหนังของแขนขาแต่ละข้าง พิษจะส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ การไหลเวียนของเลือดในปอดและมีพิษต่อระบบประสาท หากไม่ได้รับการปฐมพยาบาลอาจทำให้เสียชีวิตได้ในที่สุด
ทางด้านนายโสภณ ทองดี รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้กล่าวว่า กรมได้ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฏร์ธานี เพื่อขอความอนุเคราะห์ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนนักท่องเที่ยว และประชาชน ให้หลีกเลี่ยงการลงเล่นน้ำในบริเวณอ่าวโฉลกหลำ เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี ทั้งนี้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ประชาสัมพันธ์ขั้นตอนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
กรณีสัมผัสกับแมงกะพรุนพิษมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการติดตั้งเสาน้ำส้มสายชู การติดตั้งแผ่นป้ายการปฐมพยาบาลเบื้องต้นบริเวณชายหาดทั่วประเทศ ตลอดจนการอบรมให้ความรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่อาสาสมัคร ผู้ประกอบการในจังหวัดชายทะเลทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเดือนกรกฏาคมถึงพฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝนต้นฤดูหนาว เหมาะแก่การขยายพันธุ์ของแมงกะพรุน กรมได้มีการเตรียมความพร้อมเป็นกรณีพิเศษเพื่อเฝ้าระวังเหตุการณ์ดังกล่าว
ด้านนายวิชวุทย์ จินโต ผวจ.สุราษฎร์ธานีกล่าวว่าจังหวัดได้สั่งการให้นายอำเภอและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ดำเนินการติดตั้งเสาน้ำส้มสายชูไว้ตามชายหาดชื่อดังของเกาะพงันไว้เป็นจำนวนหลายจุดแล้ว หากประสบเหตุจริงๆก็ขอให้ปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามคำแนะนำและรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว และเชื่อว่าภายในระยะสั้นนี้สถานการณ์ดังกล่าวจะเข้าสู่ภาวะปกติ จึงไม่อยากให้นักท่องเที่ยวตื่นตระหนกใดๆ เพียงแต่ให้มีความระมัดระวังมากขึ้นเท่านั้น ผวจ.สุราษฏร์ธานี กล่าวในที่สุด