- 12 ต.ค. 2561
เปิดกฎหมาย "ลงทะเบียนสัตว์" ในประเทศต่างๆ เผยตัวเลขค่าธรรมเนียมที่เจ้าของต้องเสีย เป็นคุณจะยอมจ่ายไหม?
เมื่อวัน 10 ต.ค. พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …แก้ไขเพิ่มเติม 2557 ตามที่หระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ
โดยจะต้องนำไปขึ้นทะเบียน โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้คือ ค่าคำร้องขอขึ้นทะเบียนฉบับละ 50 บาท ค่าสมุดประจำตัวสัตว์ 100 บาท ค่าเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ ตัวละ 300 บาท
หากเจ้าของไม่ดำเนินการตามกฎหมาย เมื่อกฎหมายมีผลบังคับใช้ เจ้าพนักงานท้องเถิ่นของรัฐ มีอำนาจเปรียบเทียบปรับ "ไม่เกิน 25,000 บาท" และรายได้จากการเปรียบเทียบปรับจะเป็นรายได้ของท้องถิ่น
“พนักงานท้องถิ่นต้องดำเนินการร่างระเบียบปฏิบัติ นำร่อง หรือเน้น หมา หรือแมวก่อน เพื่อขจัดปัญหาการทอดทิ้งสัตว์ในที่สาธารณะ ซึ่งมีสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการที่เจ้าของสัตว์ไม่จัดสวัสดิภาพให้มีการควบคุมจำนวนสัตว์ของตน และบางส่วนก่อให้เกิดปัญหาโรคระบาดสัตว์ซึ่งติดต่อถึงมนุษย์ อันนำมาซึ่งการเสียชีวิตและเป็นการเพิ่มภาระของภาครัฐ ตลอดจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน”แต่ว่า กฏหมายฉบับนี้ ยังไม่ได้กล่าถึงว่าสุนัข หรือแมวในองค์กรการกุศล หรือวัดนั้นจะต้องจ่ายเงินด้วยหรือๆ ไม่
ล่าสุด นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง กล่าวถึงที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) รับทราบหลักการร่างพ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ…. ว่า เรื่องนี้นายกฯ มีความกังวลและได้ให้ข้อสังเกตในที่ประชุมเมื่อวาน (10 ต.ค.) ว่า เป็นเรื่องการจัดระเบียบ รวมถึงการทารุณสัตว์ที่มีมาในอดีต อย่างไรก็ตามกระทรวงเกษตรและสหกรณ์(กษ.)ที่เสนอกฎหมายดังกล่าวมีความตั้งใจแก้ปัญหาด้วยการขึ้นทะเบียนไม่ให้ทอดทิ้งสัตว์โดยไม่มีความรับผิดชอบ
นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังให้ข้อสังเกตอีกว่า ขอให้กลับไปมาเรื่องอัตราค่าปรับ การขึ้นทะเบียน และรายละเอียดต่างๆ ที่จะมีผลกระทบกับประชาชนในการดำเนินการ จึงมอบหมายให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าวก่อนจะเสนอเข้า ครม.พิจารณาอีกครั้ง ทั้งนี้นายกฯบอกว่า ท่านก็มีสุนัข และรักสุนัขเหมือนกัน อย่างไรก็ตามเห็นด้วยว่ากฎหมายดังกล่าวนั้นดี แต่ไม่อยากสร้างภาระให้กับประชาชน เนื่องจากมีการแปรเจตนารมมณ์ไม่ตรงกับที่นายกฯตั้งไว้
เมื่อถามว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวเกิดขึ้นมาจากกรณีที่นายกฯเคยแสดงความเป็นห่วงสุนัขจรจัดที่จังหวัดระยองหรือไม่ นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า เป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับการดูแลสวัสดิภาพสัตว์ มาร่วมกันออกกฎหมายนี้ ส่วนสัตว์เลี้ยงประเภทอื่นที่กฎหมายอนุญาตให้เลี้ยงได้นั้นกฎหมายดังกล่าวก็ครอบคลุมแต่ในระยะเริ่มต้นก็คงเริ่มที่สุนัขและแมวก่อนเนื่องจากเป็นสัตว์เลี้ยงที่คนไทยนิยมเลี้ยง
เมื่อถามว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นปัญหามาก อาจจะถอนกฎหมายไปเลยหรือไม่ นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า คงไม่ถึงกับถอนร่างกฎหมาย แต่เป็นการทบทวน ซึ่งข้อดีของร่างพ.ร.บ.นี้มีจำนวนมาก แต่การดำเนินการต้องออกให้รอบคอบไม่กระทบกับประชาชน เพราะทุกคนมีสัตว์เลี้ยง ถ้าทุกคนขึ้นทะเบียนก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ต้องมีขั้นตอนที่ถูกต้อง
ขณะที่ในต่างประเทศหลายชาติก็มีกฎหมายให้ลงทะเบียนสัตว์เลี้ยงเช่นเดียวกัน ประเทศเนเธอร์แลนด์ กำหนดให้สุนัขทุกตัวในประเทศต้องถูกขึ้นทะเบียน และมีการเรียกเก็บภาษีการถือครองสุนัขเป็นรายปี ซึ่งเจ้าของสุนัขทุกคนต้องจ่ายภาษีให้กับเขตเทศบาลหรือหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตนเองอาศัยอยู่
ซึ่งแต่ละพื้นที่ของเนเธอร์แลนด์จะมีอัตราการเรียกเก็บภาษีสุนัขในอัตราที่แตกต่างกันออกไป ในสุนัขตัวแรก ในอัตราตัวละ 112.80 ยูโร ต่อปี (ปีละ 4,274 บาท) สุนัขตัวที่ 2 ในอัตราตัวละ 176.76 ยูโร ต่อปี (ปีละ 6,700 บาท) และสุนัขตัวที่ 3 ในอัตราตัวละ 224.16 ยูโรต่อปี (ปีละ 8,500 บาท) ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่มีสุนัขในความดูแลมากเท่าใด ก็จะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงมากยิ่งขึ้นเป็นเงาตามตัว
ประเทศไอร์แลนด์เหนือ ได้มีการออกกฎหมายบังคับว่า สุนัขและแมวทุกตัวจะต้องถูกขึ้นทะเบียนกับรัฐบาล และเจ้าของจะต้องจ่าย “ค่าใบอนุญาต” ในการครอบครองสุนัขและแมวในอัตราตายตัวที่ปีละ 12.50 ปอนด์สเตอร์ลิง หรือประมาณปีละ 540 บาท
ส่วนที่ ประเทศเยอรมนี มีกฏหมายบังคับให้ผู้เลี้ยงสุนัขและแมว ต้องจ่ายเงินภาษีบำรุงท้องที่ให้กับเขตปกครองท้องถิ่นที่ตนอาศัยอยู่ ซึ่งแต่ละท้องที่จะเรียกเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันออกไป เช่น กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของเยอรมนี มีการเรียกเก็บภาษีจากผู้ครอบครองสุนัขและแมวในอัตราตัวละ 140 ยูโรต่อปี (ปีละ 5,300 บาท) และหากผู้ใดมีสุนัขและแมวในความครอบครองมากกว่า 1 ตัว สุนัขและแมวตัวต่อๆ ไป (ตัวที่ 2,3,4…..) จะถูกเก็บภาษีในอัตราตัวละ 180 ยูโรต่อปี (ปีละ 6,820 บาท)
เช่นเดียวกับ ประเทศนิวซีแลนด์ ที่มีกฎข้อบังคับให้สุนัขและแมวทุกตัวที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป เจ้าของหรือผู้ดูแลนำมาขึ้นทะเบียน พร้อมกับฝังไมโครชิพ รวมถึงติดป้ายแท็ก ซึ่งจะมีการเปลี่ยนสีทุกปี ขณะที่ในนิวซีแลนด์ไม่มีการเก็บภาษีสุนัขและแมว มีแต่เพียงการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมเล็กน้อยในการฝังไมโครชิพและลงทะเบียนเท่านั้น
ขอบคุณเนื้อหาบางส่วนจาก AmarinTV