- 20 ต.ค. 2561
คุณแม่แชร์ประสบการณ์รักษาลูกน้อยถูกงูเห่ากัดขา รักษาในโรงพยาบาลกว่า 2เดือนจนหายเป็นปกติ
ประสบการณ์ของคุณแม่เมื่อลูกสาวถูกงูกัด วันนี้ขอเล่าเพื่อเป็นวิทยาทานให้ความรู้กับสังคมเพราะเหตุไม่คาดฝันเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ทางที่ดีควรมีสติและศึกษาวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่ถูกต้อง
คุณแม่หรือสมาชิกเฟซบุ๊กชื่อ Pachgeera Bunsattha ได้โพสต์เล่าประสบการณ์ตรงจากคนใกล้ตัวของเธอเมื่อลูกสาวของเธอถูกงูเห่ากัดขา คนเป็นแม่ใจสลายหนักแต่ดีที่มีสติจึงช่วยชีวิตลูกสาวไว้ได้จึงขอโพสต์เล่าประสบการณ์ครั้งนี้เป็นวิทยาทาน
วันที่ 10 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมาคุณPachgeera Bunsattha โพสต์เรื่องราวจากประสบการณ์จริง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัว เหตุเกิดกับลูกสาวเราเอง เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2561 เวลา 06:50 ตอนเช้าวันนั้น #น้องมีนา ได้เข้าห้องน้ำเพื่อจะอาบน้ำไปโรงเรียนและเราก็รีดเสื้อผ้าอยู่นั้นก็มีเสียงกรี๊ดอย่างดังเราตกใจมากเมื่อมองไปเห็นงูกำลังกัดเท้าลูกอยู่ เห็นงูดิ้นไปมา(ด้วยความกลัวมากของเด็กก็จับงูออกจากเท้าเอง)
งูก็เข้าไปที่ท่อระบายน้ำทิ้งในห้องน้ำ เรารีบวิ่งปรี่เข้าไปหาลูกแล้วอุ้มลูกออกมาจากห้องน้ำทันที จากนั้นก็มองไปที่เท้าของลูกก็เห็นแผลมีเลือดออกลักษณะแผลมี2เขี้ยวก็รู้ทันทีว่าเป็นงูมีพิษ เรารีบหาผ้ามาพันเหนือแผลทันที แล้วบอกให้ลูกอยู่นิ่งๆห้ามขยับ ลูกก็ร้องไห้ด้วยความตกใจและกลัว แล้วก็เรียกสามีที่กำลังกรีดยางอยู่หลังบ้าน บอกว่าลูกโดนงูกัด พอสามีมาถึงก็หาตัวงู เราก็โทรศัพท์ไปที่ #1669ทันที แล้วสามีก็เจอก็ตีงูเพื่อนำไปด้วย จากนั้นหน่วยกู้ภัยก็มาปฐมพยาบาลเบื้องต้น แล้วนำส่งโรงพยาบาล
เมื่อมาถึง รพ.ระยอง ก็เข้าห้องฉุกเฉิน เราร้องไห้ตลอด ลูกก็ร้อง(แม่หนูเจ็บๆ) เราเหมือนใจสลายเหมือนตายทั้งเป็นกลัวมากกลัวกังวลว่าลูกจะเป็นอะไร หมอก็ให้แอดมิดแล้วดูอาการ ซึ่งอาการน้องตอนนั้นจะง่วงจะหลับตลอดเวลา เราก็จะพยายามปลุกลูกตลอดไม่ให้หลับ หมอก็ดูอาการแล้วก็บอกว่าเป็น #งูเห่า เรานี่ตกใจมากกลัวไปหมด กว่าหมอจะวินิจฉัยว่าเป็นงูเห่าก็เป็นเวลาเที่ยง ด้วยความกลัวว่าลูกจะเป็นอะไรเราก็ว่าหมอทำไมไม่ฉีดยาเซรุ่มให้ลูกซักที ตอนนั้นหมอก็น่าจะเครียดเหมือนกัน
หมอได้บอกกับเราว่า (คุณแม่ใจเย็นก่อนนะ ถ้าฉีดยาให้น้องเลยถ้าน้องแพ้ยาก็เสียชีวิตได้เลยนะ)จากนั้นหมอก็นำยาเซรุ่มมาเทสที่แขนน้องดู5นาที น้องไม่แพ้ไม่มีผื่น หมอก็ฉีดเซรุ่มให้ทันที
ตอนนั้นเวลา 12:17 น.หมอก็ยังสังเกตุอาการหลั่งฉีดเซรุ่มเข้าไป อาการน้องตอนนั้นก็ดีขึ้นเรื่อยๆนน้องโชคดีมากไม่มีอาการอะไรให้น่าเป็นห่วง
23:00น.น้องก็เข้าห้องผ่าตัด จากนั้นอาการก็ดีขึ้นตามลำดับ อยู่ รพ.เป็นเวลา2เดือน2วัน เราจะเอาวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นที่เราก็เพิ่งได้รับความรู้จากประสบการณ์ครั้งนี้เพื่อเป็นวิทยาทานให้ความรู้กับทุกคนนะคะ
วิธีการปฐมพยาบาลเมื่อถูกงูกัด
อันดับแรกเมื่อถูกงูกัด คือต้องมีสติก่อนเลยค่ะ ควรให้คนที่โดนกันอยู่นิ่งๆพยายามไม่ให้ขยับมากที่สุด นำสำลีที่สะอาดปิดปากแผลเพื่อไม่ให้เชื้อโรคเข้าแผล จากนั้นให้เอาไม้ดามส่วนที่โดนกัด นำผ้ามาพันไม้กับแขนหรือขาที่โดนกัด ดามเหมือนคนแขนขาหัก #ห้ามทำอะไรกับบาดแผลหรือใช้ปากดูดพิษ เพราะไม่ใด้ทำให้พิษออกมาอาจเป็นอันตรายกับคนที่ดูดแผลแล้วบาดแผลอาจติดเชื้ออีก แล้วโทร1669แล้วถ่ายรูปงูหรือจำลักษณะงูที่กัด ให้อยู่ห่างงูแล้วนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด แล้วโทร1699เป็นหน่วยงานที่จับงูโดยตรง เพื่อไม่ให้โดนงูกัดซ้ำ
งูมีระบบทำลายร่างการอยู่2ระบบคือ
1.ระบบปราสาท มี งูเห่า จงอาง ทับสมิงคลา สามเหลี่ยม
2.ระบบเลือด มี งูกะปะ งูแมวเซา งูเขียวหางไหม้
22345
22567
อาการคนที่โดนงูเห่ากัด เป็นกลุ่มงูทำลายระบบปราสาท จะมีอาการปวดที่บาดแผลร่วมด้วยอาการบวม จะมีอาการหนังตาตก ระบบร่างกายล้มเหลวหายใจลำบากหรือหยุดหายใจ เสียชีวิตในที่สุด
การรักษา สังเกตอาการ ผู้ป่วยจะมีอาการหายใจลำบากก็จะให้เครื่องช่วยหายใจโดยการหย่อนสายลงไปที่ลำคอ ฉีดยาเซรุ่ม
ฝากเป็นวิทยาทานเป็นความรู้กับคนที่ยังไม่เข้าใจกับเรื่องงูเห่าด้วยนะคะ เราก็เพิ่งเข้าใจ เพราะแต่ก่อนก็เข้าใจผิดมาตลอดว่าต้องพันเชือกเหนือแผล ซึ่งมันจะทำให้เนื้อส่วนที่พันตายเพราะไม่มีเลือดไปเลี้ยงนั่นเอง อาจถึงต้องตัดส่วนนั้นทิ้งเลยนะ การดูดพิษเราก็คิดว่าจะดูดพิษเหมือนกัน555เพราะเห็นในละคร แต่เป็นความรู้ที่ผิด พิษจะฝังเข้าสู่ร่างกายแล้วเราก็ทำอะไรไม่ได้หรอก หากมีข้อผิดพลาดประการใดหรือมีอะไรแนะนำก็เม้นมาคุยได้เลยนะค่ะ ขอบคุณที่อ่านจบนะคะปรบมือให้ตัวเองรัวๆๆๆๆค่ะ
(ภาพปัจจุบัน หนูน้อยหายดีแล้ว)
ขอบคุณ Pachgeera Bunsattha