- 15 ธ.ค. 2561
7 ข้ออ้าง "ไฟแนนซ์" ใช้เพื่อเอาเปรียบเรา รู้ไว้ จะได้ไม่เสียเปรียบ
เชื่อว่าหลายๆ คนคงเคยมีปัญหากับ "ไฟแนนซ์" ที่คอยตามจิกค่างวดรถทำให้ปวดหัว บางคนถึงขั้นอายจนต้องลาออกจากงานเลยก็มี ซึ่งขณะนี้ในโลกโซเชียลได้มีการเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยรู้เท่าทันไฟแนนซ์ หากวันหนึ่งต้องตกอยู่ในสถานการณ์กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
1. สิ่งที่ไฟแนนซ์มักจะข่มขู่ คือ ให้เรารับผิดชอบค่าติดตามยึดรถ ค่าทนายความ ค่าธรรมเนียมศาล โดยมักข่มขู่ ให้ผู้เช่าซื้อเป็นผู้รับผิดชอบ โดยอ้างตัวเลขจำนวนสูง และเราควรรู้ไว้ด้วยว่าไฟแนนซ์ไม่สามารถเรียกค่าใช้ จ่ายดังกล่าวได้ตามอำเภอใจ การค่าเสียหายเรียกได้ตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจริงเท่านั้น ดังนั้นผู้เช่าซื้ออย่าวิตก
2. การเข้ายึดรถผู้เช่าซื้อจะต้องค้างชำระค่าเช่าซื้อ 3 งวดติดต่อ กัน ก่อนยึดรถอีก 1 เดือน รวมเป็น 4 เดือน ไฟแนนซ์จึงจะสามารถยึดรถได้ แต่ถ้าไฟแนนซ์ยึดรถก่อนหน้านี้จะมีความ ผิดตาม พรบ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งคุ้มครองเกี่ยวกับเรื่องสัญญา ดังนั้นถ้าไฟแนนซ์มายึดรถก่อนกำหนดเวลาดังกล่าว ผู้เช่าซื้อต้องอย่ายอมให้ยึดรถและให้เรียกตำรวจมาเป็นพยาน
3. การยึดรถถ้าผู้เช่าซื้อไม่ยินยอมให้ยึดรถ ไฟแนนซ์จะยึดรถไม่ได้ ถ้ามีการบังคับขู่เข็ญหรือไล่ให้ผู้เช่าซื้อลงจากรถหรือกระชากกุญแจรถ ไป หรือเอากุญแจสำรองมาเปิดรถและขับหนีไป การกระทำดังกล่าวมีความผิดต่อ เสรีภาพ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 และถ้ากระทำการโดยมีอาวุธหรือร่วมกระทำความผิดด้วยกัน ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เพราะฉะนั้นถ้ามีคนกระทำการดังกล่าวให้ถ่าย รูปหรือบันทึกเสียงไว้เป็นหลักฐาน และแจ้งความดำเนินคดีอาญา หรือให้ทนาย ฟ้องศาลได้เลย
4. เมื่อผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อ ไม่ควรให้ไฟแนนซ์ยึดรถ ยืนยันได้เลยว่าไม่ควรให้ไฟแนนซ์ยึดรถไม่ว่าในกรณีใดๆ เพราะถ้าถูกยึดรถแล้วเราก็จะหมดอำนาจต่อรอง และหลังจากยึดรถไปแล้วไฟแนนซ์จะ นำรถของเราไปขายทอดตลาดในราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาดมาก แถมเมื่อได้เงินมาไม่ เพียงพอกับค่าเช่าซื้อที่เราค้างชำระ ไฟแนนซ์ก็จะเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้จากเรา แต่ถ้ารถยังอยู่ในความครอบครองของเรา เรายังสามารถใช้ประโยชน์ในทรัพย์ได้ (พูดง่ายๆ ก็คือใช้รถหาเงินได้อยู่นั่นเอง) และยังมีอำนาจต่อรองกับไฟแนนซ์อยู่
5. ในกรณีที่เราถูกยึดรถและไฟแนนซ์มีหนังสือแจ้งให้ชำระหนี้ส่วนที่ เหลือ อย่าตกใจให้หาทนายสู้คดี โดยทั่วไปค่าเสียหายของไฟแนนซ์มักจะสูงเวอร์ สุดๆ ยกตัวอย่างเช่น เรียกมา 1,000,000 บาท ศาลมักจะพิพากษาให้ชดใช้เพียง 500,000 บาทหรือ 300,000 บาท เท่านั้น
6. เมื่อแพ้คดีไฟแนนซ์จะต้องทำตัวอย่างไร ถ้าเรามีทรัพย์สินถือครอบครองในนามลูกหนี้เราจะถูกยึดทรัพย์ทั้งหมด ถ้า ไม่มีทรัพย์สินถือครอบครองในนามลูกหนี้ แต่ถือครอบครองในนามญาติ พี่น้อง เพื่อนฝูง ไฟแนนซ์ก็ไม่สามารถยึดทรัพย์ของคนอื่น ซึ่งมิใช่ลูกหนี้ ได้ ดังนั้นถ้ามีไฟแนนซ์มาข่มขู่ว่าลูกหนี้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านของใคร จะยึด ทรัพย์เจ้าของบ้าน ตอบได้เลยว่าไม่ต้องกลัวเพราะตามกฎหมายไม่สามารถยึดได้
7. ถ้าไม่มีเงินจ่ายไฟแนนซ์จะติดคุกหรือไม่สามารถตอบได้เลยว่า ไม่ติดคุกเนื่องจากเป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีอาญา
ทั้งนี้ การเป็นหนี้ไฟแนนซ์ ไม่ต้องลาออกจากงาน เพราะไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่การงาน การเป็นหนี้สินเป็นเรื่องส่วนตัว ไฟแนนซ์นำเรื่องส่วนตัวไปประจานให้เพื่อนร่วมงานหรือผู้บังคับบัญชาของ ลูกหนี้รับรู้ไม่ได้ ถือว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาท (เรายังสามารถฟ้องได้อีก) แต่ถึงยังไงข้อมูลเหล่านี้ให้รู้เอาไว้เพื่อที่เราจะได้ไม่โดนข่มขู่จนหลงเชื่อและเสียเปรียบ
ขอบคุณข้อมูล : samutpokdum