กสร. เร่งออกกฎหมาย แรงงานฉบับใหม่ บังคับใช้ ก.พ. ปี 62 เพิ่มสิทธิประโยชน์ลูกจ้าง

 เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 61 ที่ผ่านมา นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ออกมาชี้แจงถึงร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับล่าสุดตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบ หลังเมื่อวันที่  13 ธ.ค. 61 ได้มีการยกร่างกฎหมายดูแลลูกจ้างหลังเกษียณขึ้นมาประชุมกัน โดยทั้งนี้ทางคณะกรรมการไตรภาคี

   เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 61 ที่ผ่านมา นายวิวัฒน์ ตังหงส์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) ออกมาชี้แจงถึงร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับล่าสุดตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเห็นชอบ หลังเมื่อวันที่  13 ธ.ค. 61 ได้มีการยกร่างกฎหมายดูแลลูกจ้างหลังเกษียณขึ้นมาประชุมกัน โดยทั้งนี้ทางคณะกรรมการไตรภาคี ประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายนายจ้าง ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง และผู้แทนฝ่ายภาครัฐ มีการเปิดรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ มีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นจากหน่วยงานภาคเอกชนภาครัฐ และประชาชนทั่วไป จำนวน 297 คน รวมทั้งได้เปิดรับฟังผ่านทางเว็บไชต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ในช่วงระหว่างวันที่ 24 เม.ย.-26 พ.ค. 2560 โดยส่วนใหญ่เห็นด้วยในหลักการ เนื่องจากเป็นการขยายการคุ้มครองลูกจ้างมากขึ้น

 

ผู้ใช้แรงงาน

 ในส่วนของการพิจารณาร่างในตอนนี้ ได้นำผลความคิดเห็นต่างๆเข้ามาประกอบการพิจารณาในครั้งนี้ด้วย ซึ่งกฎหมายฉบับที่จะแก้ไขเพิ่มเต็มนี้จะเพิ่มเติมสิทธิให้แก่ลูกจ้างผู้ทำงาน ในพ.ร.บ. 
คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 อันมีบังคับใช้มาเป็นเวลานาน โดยให้สิทธิแก่ลูกจ้างที่ทำงานมานานกว่า  20 ปี ขึ้นไปได้รับค่าชดเชย ในอัตราที่เหมาะสมกับอายุงาน รวมถึงแก้ไขหลักประกันต่างๆตามที่เห็นสมควรหากมีการต้องจ้างลูกจ้างรายนี้ออกจริงๆ ในขณะที่อายุงานเยอะและสูงวัย โดยข้างต้นจะมีการเพิ่มสิทธิ 2 ส่วนด้วยกัน คือ

ส่วนที่ 1 ลูกจ้างต้องได้รับเงินจากนายจ้าง ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
ส่วนที่ 2 ส่วนได้รับจากกองทุนประกันสังคมที่ลูกจ้างแต่ละบริษัทได้ส่งเงินเข้ากองทุนไว้ ซึ่งเรื่องนี้ทางสำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการปฏิรูประบบบำนาญชราภาพให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันมากยิ่งขึ้น

 

แรงงาน

  นอกจากนี้ยังมีการดูแลแรงงานหญิงให้มีค่าจ้างเท่าเทียมแรงงานชาย รวมถึงการเพิ่มสิทธิลากิจให้ลูกจ้างได้ปีละ 3 วัน โดยได้รับค่าจ้าง ทั้งนี้กฎหมายแรงงานฉบับใหม่ ยังเพิ่มสิทธิอื่นๆ เช่นสิทธิลาคลอด กำหนดให้ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อคลอดบุตร 98 วัน จากเดิมมีสิทธิลา 90 วัน โดยมีสิทธิได้รับค่าจ้างระหว่างลา 45 วัน และอีก 45 วัน ไปรับจากกองทุนประกันสังคม สำหรับ 8 วันที่เพิ่มขึ้นมา ในกรณีที่ลูกจ้างลาครบ 98 วัน นายจ้างจะจ่ายค่าจ้างระหว่างลา หรือไม่ก็แล้วแต่นายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกัน นอกจากนี้วันลาเพื่อคลอดดังกล่าว ยังรวมวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนจะคลอดด้วย ซึ่งข้อนี้ต้องมีการเขียนบอกให้ชัดเจนเพื่อให้ทั้งตัวนายจ้างและลูกจ้างเข้าใจกันทั้งสองฝ่าย 

ประชาชน

 

     ด้านนายวิวัฒน์ ยังกล่าวต่อว่าการเพิ่มสิทธิค่าชดเชย 400 วัน ให้แก่แรงงานอายุงาน 20 ปี ขึ้นไป แม้จะมีผลกระทบต่อนายจ้างอยู่บ้างที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ แต่หลักสำคัญของการแก้ไขกฎหมายแรงงานฉบับใหม่นี้เพื่อให้นายจ้างเห็นความสำคัญและดูแลลูกจ้าง ที่ทำงานมาอย่างยาวนานให้ดี และหากถูกบังคับให้ออกลูกจ้างก็ยังสามารถดำรงชีพต่อไปได้ นอกจากนี้กฎหมายใหม่ยังเพิ่มสิทธิประโยชน์ต่างๆให้ลูกจ้างกว่า 9.5 ล้านคน แต่ขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอน ยังต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อน ถึงจะมีผลบังคับใช้ใน 30 วัน คาดว่าจะบังคับใช้ในเดือน ก.พ. ปีหน้า

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-จัดหางานสุรินทร์ ชี้แจงเข้มนายจ้าง สร้างความเข้าใจกฎหมายแรงงานต่างด้าว เพื่อให้ปฏิบัติอย่างถูกต้องและครบถ้วน

-ดีเดย์ หากพ้น มีนาคม 61 จับจริง! ผู้ประกอบการ นายจ้างจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายแรงงาน