กทม.ตีเส้นแดงช่วงจราจรสำหรับ รถฉุกเฉิน

ลงมือแล้ว เมื่อกรุงเทพมหานคร ทยอยตี “เส้นจราจรสีแดง”บนพื้นถนน ในเขตเมือง เพื่อเป็นช่องทางเดินรถสำหรับรถพยาบาล และรถฉุกเฉิน ถนนเส้นแรกเป็น เส้นจราจรบนถ.สีลม จากแยกนราลมถึงโรงพยาบาลเลิดสิน

สำนักงานวิศวกรรมจราจร สำนักจราจรและขนส่ง กทม. มีข้อความประกาศแล้วว่า ขณะนี้ กทม.ร่วมกับ กองบัญชาการตำรวจจราจร (บก.จร.2)  ทยอยตีเส้นจราจรสีแดงบนพื้นถนน เมื่อคืนวันที่ 19 ธันวาคม โดยเป็นเส้นตรงกลางระหว่างช่องจราจรที่ 2 และ 3 ขนาดความกว้าง 1.60 เมตร เหมือนเส้นทางบนสะพานข้ามแยกดินแดงที่มุ่งหน้าไปโรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งได้ตีเส้นไปก่อนหน้านี้ จากนั้น ดำเนินการตีเส้นช่องทางฉุกเฉินอีก 2 จุดคือ เส้นมุ่งโรงพยาบาลกลาง ถ.เสือป่า และถ.ยุคล 2 ช่วงถ.บำรุงเมือง กับเส้นมุ่งโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ ตีเส้นบนถนนตก

 

กทม.ตีเส้นแดงช่วงจราจรสำหรับ รถฉุกเฉิน

 

“หลังตีเส้นจราจรแล้วจะมีติดตั้งป้ายแนะนำ พร้อมกับตีเครื่องหมายกากบาทบนพื้นถนน เพื่อให้ผู้ใช้รถได้ทราบ และไม่ทำให้สับสนว่าต้องขับรถในช่องทางใด” ผู้อำนวยการสำนักงานวิศวกรรมจราจร กทม.แจ้ง


ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 76 ได้กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับการไม่หลบรถพยาบาลไว้ว่า เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือ ผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดไว้ ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อน โดยปฏิบัติดังต่อไปนี้

 

กทม.ตีเส้นแดงช่วงจราจรสำหรับ รถฉุกเฉิน

 

กทม.ตีเส้นแดงช่วงจราจรสำหรับ รถฉุกเฉิน

 

1. สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทางหรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด
2. สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถและจอดรถ ให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง
 

กทม.ตีเส้นแดงช่วงจราจรสำหรับ รถฉุกเฉิน

 

3. สำหรับผู้ขับขี่หรือควบคุมสัตว์ ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วม ทางแยก ทั้งนี้ ผู้ใดฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500 บาท ตามมาตรา 148 แห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้
 

กทม.ตีเส้นแดงช่วงจราจรสำหรับ รถฉุกเฉิน

 

พร้อมกับระบุว่า ผู้ใช้รถใช้ถนน สามารถเดินรถในช่องทางเดิม คือเส้นสีขาวทับเส้นสีแดงได้ตามปกติ เว้นแต่ได้ยินเสียงไซเรนขอให้ขับเบี้ยงออกจากเส้นสีแดง คือชดซ้ายหรือขวา เป็นการหลบให้รถฉุกเฉินจากด้านหลังวิ่งในช่องสีแดงผ่านไปก่อน ผู้ฝ่าฝืนที่ไม่หลบทางให้รถฉุกเฉิน จะมีความผิดตามพ.ร.บ.การจราจร ถูกปรับ 500 บาท ตามมาตรา 148 แห่งพระราชบัญญัติ

 

กทม.ตีเส้นแดงช่วงจราจรสำหรับ รถฉุกเฉิน