ประวัติรูปปั้นนางเงือก แลนด์มาร์คสำคัญคู่หาดสมิหลามากว่า 52 ปี!

เปิดเผยถึงประวัติรูปปั้นนางเงือก แลนด์มาร์คสำคัญคู่หาดสมิหลามากว่า 52 ปี จ.สงขลา

จากกรณีเมื่อคืนวันที่ 26 ธ.ค. 2561 ที่ผ่านมา ได้เกิดเหตุระทึกคนร้ายลอบวางระเบิด ที่บริเวณ หาดสมิหลา สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญที่มีชื่อเสียง กลางเมือง สงขลา ส่งผลให้รูปปั้นนางเงือกสัญลักษณ์ประจำหาดได้รับความเสียหายบริเวณหางของรูปปั้นนั้นขาด

 

 

โดยคนร้ายลอบวางระเบิดรูปปั้นนางเงือก และรูปปั้นหนูกับแมว ซึ่งเป็นสัญลักษณ์สำคัญบริเวณชายหาดสมิหลา จ.สงขลา

 

รูปปั้นนางเงือก รูปปั้นนางเงือก

 

หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ EOD ได้นำกำลังเข้าตรวจสอบ และประกาศขอให้ชาวสงขลาเพิ่มความระมัดระวังในเขตชุมนุม ตลาด ห้างสรรพสินค้า พบวัตถุต้องสงสัย โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ โดยเหตุระเบิดเกิดขึ้น2ครั้ง และยังสามารถเก็บกู้ระเบิดได้อีก3ลูก รวมทั้งหมดถูกวางระเบิดไว้5ลูกด้วยกัน

 

วัตถุต้องสงสัยรูปปั้นนางเงือก วัตถุต้องสงสัยรูปปั้นนางเงือก

 

จากการตรวจสอบคาดว่าผู้ก่อความไม่สงบได้นำวัตถุระเบิดแสวงเครื่องวางไว้บริเวณรูปปั้น ผลของแรงระเบิดทำให้เกิดขนาดหลุมกว้างประมาณ 50 ซม.(ระเบิดลูกที่ 1) หลังจากนั้นจึงได้ทำการนิรภัยวัตถุระเบิดแสวงเครื่องลูกที่ 2 บริเวณใต้รูปปั้น พบวัตถุพยานในที่เกิดเหตุ ดังนี้
1.ชุดควบคุมการจุดระเบิด เป็นนาฬิกาข้อมือยี่ห้อ คาสิโอ 1 ชุด
2.ภาชนะบรรจุดินระเบิดหลัก เป็นกล่องเหล็กกว้าง 4 นิ้ว ยาว 5 นิ้ว หนา 2 นิ้ว
3.ชิ้นส่วนสายไฟ
4.ปลั๊กไฟตัวผู้ 
5.แบตเตอรี่ ขนาด AA จำนวน 3 ก้อน
6.ฝากล่องพลาสติก(ใส่ชุดควบคุมการจุดระเบิด)

 

วัตถุต้องสงสัย วัตถุต้องสงสัย

 

วัตถุต้องสงสัย 1 วัตถุต้องสงสัย 1

 

วัตถุต้องสงสัย 2 วัตถุต้องสงสัย 2

 

กระทั่งล่าสุดวันที่ 27 ธ.ค. 2561 มีรายงานเพิ่มเติมว่าหลังตรวจสอบลักษณะของระเบิดพบว่าวงจรระเบิดคล้ายระเบิดที่ใช้ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้

 

วัตถุต้องสงสัย 3 วัตถุต้องสงสัย 3

 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกระทบจิตใจคนสงขลาเป็นอย่างมาก เนื่องจากรูปปั้นนางเงือกนี้เป็นเหมือนสัญลักษณ์ประจำหาด เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่ทำให้หาดสมิหลากลายเป็นที่รู้จักและนักท่องเที่ยวหลายคนที่มาเที่ยวก็มาเพื่อชื่นชมและถ่ายรูปคู่กับรูปปั้นนี้ เรียกได้ว่าใครที่มาแล้วไม่ได้ถ่ายรูปคู่กับนางเงือกถือว่ามาไม่ถึงหาดสมิหลา

และตำนานเรื่องเล่าของรูปปั้นนางเงือกนี้ถูกเล่าขานส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น โดยมีความเป็นมาดังนี้

#ประวัติความเป็นมา รูปปั้นนางเงือก

ย้อนไปเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2509 ณ แหลมสมิหลา สงขลา ม.จ.ทองคำเปลว ทองใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เป็นประธานในพิธี 1 เมษยน 2509 - 1 เมษยน 2561ครบรอบ 52 ปีที่เงือกทองยังคงสวยสง่าคู่เมืองสงขลา สัญลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของเมือง 2 ทะเล

นักปกครองหนุ่มวัย 40 ปี ผู้มีวิสัยทัศน์ก้าวไกล"นายชาญ กาญจนาคพันธุ์" ปลัดจังหวัดสงขลา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีเมืองสงขลาด้วย เป็นผู้ริเริ่มในการสร้าง สัญญัลักษณ์ทางวัตถุของเมืองสงขลา 
ให้ผู้คนได้รู้จัก นอกเหนือสัญญลักษณ์ทางธรรมชาติ"เกาะหนู เกาะแมว"

 

รูปปั้นนางเงือก หาดสมิหลา รูปปั้นนางเงือก หาดสมิหลา

 

โดยในวัยเด็กปลัดชาญ มักได้ยินคุณพ่อ"ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์)"(นักคิด นักค้นคว้า และนักเขียนสำคัญคนหนึ่งของ ยุครัตนโกสินทร์) เล่านิยายปรัมปราเกี่ยวกับนางเงือก ไว้ว่า" ในวันดีคืนดีนางเงือกจะมานั่งหวีผม บนชายหาดด้วยหวีทองคำ

วันหนึ่งบังเอิญว่ามีชายชาวประมงเดินผ่านมา ทำให้นางเงือกตกใจ รีบหนีลงทะเลไปโดยลืมหวีทองคำไว้ ฝ่ายชาวประมงเห็นดังนั้นก็เก็บหวีทองคำไว้และเฝ้าคอยนางเงือกที่หาดนั้นเสมอ แต่นางเงือกก็ไม่เคยปรากฏกายให้เห็นอีกเลย"

ด้วยเรื่องที่พ่อเล่าให้ฟังตั้งแต่เด็ก จึงเป็นที่มาที่จะสร้างรูปปั้นนางเงือก ในท่าที่กำลังหวีผม เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ของเมืองสงขลา ใช้งบประมาณของเทศบาล 60,000 บาทในการสร้าง โดยให้ศิลปินนักปั้นชั้นครูเมืองหนึ่งของเมืองไทยในสมัยนั้น"อาจารย์จิตร บัวบุศย์" อาจารย์ใหญ่โรงเรียนเพาะช่าง (ผู้ที่มีผลงาน การปั้นพานรัฐธรรมนูญ บนอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ.2483) เป็นผู้ออกแบบ หล่อและปั้นรูปนางเงือก

ด้วยสถานที่มีธรรมชาติสวยงาม บริเวณแหลมสมิหลา รูปปั้นนางเงือกนั่งแปรงผมยาวสลวยอยู่บนโขดหินธรรมชาติ ได้อย่างเหมาะเจาะพอดีกับทุกสิ่งทุกอย่างในบริบทนั้น บนหาดสวย ริมทะเลงาม มีเกาะหนู เกาะแมว เป็นฉากหลัง

เพราะฉะนั้นผู้ที่มาเยือนเมืองสงขลา ต้องไม่พลาดที่จะมาถ่ายรูปคู่กับนางเงือกทองสงขลา แห่งนี้

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-คนร้ายวางระเบิดรูปปั้นนางเงือก-รูปปั้นหนูกับแมวที่หาดสมิหลา รวมทั้งหมด5ลูก !

-เพจดังเผยประวัติความเป็นมา "รูปปั้นนางเงือก" หาดแหลมสมิหลา

 

ขอบคุณ ข่าวสาร ชายแดนใต้

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Thailand Web Stat