ทำความรู้จักพายุดีเปรสชั่น เมื่อโซนร้อนปาบึกอ่อนแรง เปลี่ยนความเร็ว-ลดรุนแรง

ทำความรู้จักพายุดีเปรสชั่น เมื่อโซนร้อนปาบึกอ่อนแรง เปลี่ยนความเร็ว-ลดรุนแรง

จากกรณีกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศเตือน เกี่ยวกับสถานการณ์พายุโซนร้อนปาบึก (PABUK) ซึ่งเคลื่อนตัวเข้าสู่บริเวณอ่าวไทย ซึ่งทางกรมอุตุฯได้ออกประกาศเตือนฉบับที่ 18 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุดในขณะนี้ โดยเมื่อเวลา 12.45 น. ของวันนี้ (4 ม.ค. 62) พายุโซนร้อน “ปาบึก” (PABUK) ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณระหว่างอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว หรือที่ละติจูด 8.2 องศาเหนือ ลองจิจูด 100.2 องศาตะวันออก ความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือด้วยความเร็ว 18 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าพายุนี้จะอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันและจะเคลื่อนเข้าปกคลุมจังหวัดสุราษฎรธานีในระยะต่อไป ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

 

ทำความรู้จักพายุดีเปรสชั่น เมื่อโซนร้อนปาบึกอ่อนแรง เปลี่ยนความเร็ว-ลดรุนแรง

 

ทั้งนี้ทำให้หลายคนสงสัยถึงความหมายของพายุโซนร้อนปาบึก กับพายุดีเปรสชั่น ว่ามีความเป็นมาอย่างไร แตกต่างกันหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบของพายุทั้งสองประเภทนี้มีความรุนแรงอย่างไร สำหรับเรื่องนี้ นักอุตุนิยมวิทยา ได้เรียกชื่อพายุตามการกำเนิดของมัน แม้ว่าพายุโดยทั่วไปจะหมายถึง อากาศที่ไม่ดี ลมแรงจัด และที่สำคัญยังหมายรวมถึงลมที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง มันเริ่มต้นมาจากอากาศ 2 บริเวณที่อยู่ติดกันซึ่งมีความแตกต่างของอุณหภูมิอย่างมาก ซึ่งความแตกต่างนี้จะทำให้อากาศบริเวณหนึ่งซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า ลอยตัวขึ้นสู่ด้านบนอย่างรวดเร็ว และทำให้อากาศในอีกบริเวณซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าไหลเข้ามาแทนที่ในแนวราบ ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดการหมุนของอากาศจนกลายเป็นพายุ

 

ทำความรู้จักพายุดีเปรสชั่น เมื่อโซนร้อนปาบึกอ่อนแรง เปลี่ยนความเร็ว-ลดรุนแรง

 

ขณะที่มีการแบ่งประเภทของพายุออกเป็น 3 กลุ่ม คือ

 

กลุ่มที่ 1 พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm)

เกิดขึ้นในบริเวณที่มีอากาศร้อนและความชื้นสูง โดยปกติแล้วจะเกิดใกล้เส้นศูนย์สูตร พายุที่ประเทศไทยมักพบก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ โดยจะมาในรูปแบบของลมแรง ฝนตกหนักและติดต่อกันยาวนานมากกว่า แต่ไม่ได้มีพายุลมหมุนให้เห็นชัดเจน

 

 

 

ทำความรู้จักพายุดีเปรสชั่น เมื่อโซนร้อนปาบึกอ่อนแรง เปลี่ยนความเร็ว-ลดรุนแรง

 

กลุ่มที่ 2 พายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone)

เป็นพายุที่มีลมหมุนให้เห็นได้ โดยเกิดขึ้นในแถบเส้นศูนย์สูตรเช่นกัน ซึ่งเริ่มเกิดเมื่อมีหย่อมความกดอากาศต่ำเกิดขึ้นบริเวณผิวน้ำทะเลหรือมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส พายุในกลุ่มนี้จะก่อตัวเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่กินวงกว้าง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเกิน 100 กิโลเมตรขึ้นไป ลักษณะสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ทิศทางการหมุนวนของพายุ หากพายุเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร จะหมุนวนทวนเข็มนาฬิกา แต่หากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรหรือซีกโลกใต้ จะหมุนวนตามเข็มนาฬิกา

 

อย่างไรก็ตามพายุหมุนเขตร้อนสามารถแบ่งย่อยตามความรุนแรงได้เป็น

       - ดีเปรสชั่น (Tropical Depression) เป็นพายุที่มีความเร็วลมต่ำที่สุดในบรรดาพายุหมุนเขตร้อนด้วยกัน คือ มีความเร็วลมสูงสุดใกล้จุดศูนย์กลางไม่เกิน 63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กลุ่มเมฆหมุนวนเป็นวงกลม แต่ไม่เป็นเกลียว และไม่มีตาพายุชัดเจน ลมไม่แรงพอจะพังบ้านเรือน แต่ฝนอาจตกหนักติดต่อกันจนน้ำท่วมได้    

        - พายุโซนร้อน ( Tropical Storm) เมื่อพายุซึ่งเกิดขึ้นในทะเลเคลื่อนที่เข้าหาฝั่ง และพบกับความกดอากาศที่แตกต่างกว่าเดิม จะทำให้ความเร็วลมเพิ่มขึ้น ลมกรรโชกแรงพอที่จะพังบ้านเรือนที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรงได้ ทำให้มีฝนตกหนักมากขึ้น จึงเปลี่ยนชื่อเป็น พายุโซนร้อน ซึ่งจะมีความเร็วลมไม่เกิน 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และเริ่มเห็นเกลียวแขนของพายุบ้างแล้ว

 

ทำความรู้จักพายุดีเปรสชั่น เมื่อโซนร้อนปาบึกอ่อนแรง เปลี่ยนความเร็ว-ลดรุนแรง

 

     - ไต้ฝุ่น (Typhoon) หรือเฮอริเคน (Hurricane) หากพายุโซนร้อนมีความเร็วลมเพิ่มขึ้นสูงกว่า 118 กิโลเมตรต่อชั่วโมงขึ้นไป มีตาพายุชัดเจน ซึ่งบริเวณศูนย์กลางตาพายุจะฟ้าโปร่ง อาจมีเพียงฝนปรอย ลมสงบ ขัดต่อสภาพรอบนอกของตาพายุ ความรุนแรงก็เพิ่มระดับไปสู่ขั้นที่ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง น้ำท่วมฉับพลันทันที บ้านเรืองปลิวหรือพังถล่มเสียหาย รวมถึงก่อให้เกิดอันตรายต่อการเดินเรือได้ด้วย กลุ่มนี้จะถูกเรียกว่า ไต้ฝุ่นหรือเฮอริเคน ซึ่งโดยปกติแล้วประเทศไทยมักจะพบเพียงแค่ดีเปรสชัน  เนื่องจากพายุมักเกิดที่มหาสมุทรแปซิฟิก และกว่าจะเคลื่อนตัวมาถึงเขตประเทศไทยก็อ่อนกำลังลงไปมากแล้ว พายุหมุนเขตร้อนยังมีชื่อเรียกที่ปรับเปลี่ยนไปตามภาษาถิ่นของพื้นที่ที่เกิดด้วย

 

นอกจากนี้ยังมีประเภทที่3 นั่นคือ กลุ่มพายุทอร์นาโด (Tornado)

เกิดจากการปะทะกันของลมร้อนและลมเย็น โดยปกติแล้วมักพบมากในแผ่นดินทวีปอเมริกาเหนือ เนื่องจากมีความแตกต่างกันของสภาพอากาศค่อนข้างมาก และกว่า 90% ของพายุกลุ่มนี้เกิดขึ้นบนบก ลักษณะของพายุจะมีเกลียวงวงช้างเห็นได้ชัดเจน และมีลมดูดยกเอาสิ่งปลูกสร้างหรือสิ่งของที่มีน้ำหนักไม่มากนักให้ลอยขึ้นได้ การก่อตัวของพายุกลุ่มนี้จะรวดเร็ว คาดเดาไม่ได้ และคงตัวอยู่ไม่กี่ชั่วโมง ก่อนจะสลายตัวไปเมื่ออุณหภูมิของอากาศเริ่มใกล้เคียงกัน แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นและความไม่แน่นอนของเวลาและสถานที่ที่จะเกิด ทำให้มันเป็นกลุ่มพายุที่อันตรายมากที่สุด

 

ทำความรู้จักพายุดีเปรสชั่น เมื่อโซนร้อนปาบึกอ่อนแรง เปลี่ยนความเร็ว-ลดรุนแรง