- 07 ม.ค. 2562
ระเบียบใหม่ขนส่งฯ พักใช้-ถอนใบขับขี่ หนักสุดปรับ 2 แสนบาท
จากกรณีที่กรมการขนส่งทางบกพยายามที่จะแก้ไขปัญหาการทำผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะจากการขับรถเร็วเกินกำหนด หรือการขับรถผิดกฎจราจร ที่เคยมีการแก้ปัญหาทั้งในเรื่องของ ตักเตือนปรับ ยึดใบขับขี่หรือแม้แต่เพิกถอนใบอนุญาตใบขับขี่ของบุคคลที่กระทำความผิดนั้น แต่ว่าการทำแบบนี้ดูจะไม่ค่อยเป็นผมเท่าที่ควร เลยได้ออกกกฎระเบียบขึ้นมาใหม่โดยการปรับเนื้อหาในระเบียบให้เข้มขึ้นจากเดิม ซึ่งระเบียบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนั่นก็คือกรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก พ.ศ. 2561 เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการป้องกันการฝ่าฝืนหรือละเมิดกฎหมายจราจรอย่างเด็ดขาด
(เพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย)
ล่าสุด กรมการขนส่งทางบกได้แก้ไขเพิ่มเติมออกระเบียบว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบก โดยมีการเพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมายสำหรับผู้ที่ทำผิดหรืรอละเมิดหากพบว่าเป็นโทษที่มีความผิดรุนแรง สามารถพิจารณาเพิกถอนได้ทันที
โดยมีรายละเอียดโทษแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบกรมขนส่งทางบกว่าด้วยการพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งจะแบ่งโทษเป็นความผิดทั่วไป ความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ และความผิดร้ายแรงที่มีโทษจำคุก และมีการแบ่งระดับโทษ เปรียบเทียบ อบรม พักใช้ และเพิกถอน อย่างไรก็ตาม หากพบว่า เป็นโทษที่มีความผิดรุนแรง สามารถพิจารณาเพิกถอนได้ทันที
(เพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย) ขอบคุณภาพจาก kapook
สาระสำคัญของระเบียบ คือ การเพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งมีทั้งความผิดทั่วไป ความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ และความผิดร้ายแรง โดยแบ่งโทษออกเป็นหลายระดับ ตั้งแต่โทษปรับ อบรม พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
กลุ่มความผิดทั่วไป
1) กระทำการอันควรขายหน้าต่อธารกำนัล หรือกระทำการลามกขณะขับรถ
2) สูบบุหรี่ขณะเป็นผู้ที่ขับรถ
3) ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือคอมพิวเตอร์พกพาในขณะขับรถ โดยไม่ใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการสนทนา
4) ไม่ใช้อุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ (ปลดหรือถอดเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถ แหล่งจ่ายพลังงานหรือสัญญาณ หรือดัดแปลงให้ไม่สามารถส่งข้อมูลการเดินทางของรถได้)
5) ขับรถในเวลาที่ร่างกายหรือจิตใจหย่อนสมรรถภาพ
6) รับบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง ระเบิด หรือวัตถุอันตราย โดยฝ่าฝืนข้อห้าม
7) ไม่หยุดหรือจอดรถ ณ สถานีขนส่งขับรถเกินกว่าชั่วโมงการทำงานที่กฎหมายกำหนด
9) กระทำการใด ๆ ให้ผู้โดยสารซึ่งชำระค่าโดยสารถูกต้องแล้วต้องลงจากรถก่อนถึงจุดหมายปลายทาง
10) ไม่หยุดรถเพื่อรับหรือส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้หยุดรถ
11) ขณะปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ขับรถได้ละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุสมควร
12) เรียกเก็บค่าขนส่งหรือค่าบริการผิดไปจากอัตราที่คณะกรรมการกำหนด
หากทำผิดครั้งที่ 1 จะถูกปรับและอบรม
ครั้งที่ 2 จะถูกปรับ พักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 1 เดือน แต่ไม่เกิน 3 เดือน และอบรม
ครั้งที่ 3 จะถูกปรับ พักใช้ไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน และอบรม
โดยโทษปรับนั้น จะปรับไม่เกิน 5,000 บาท
กลุ่มความผิดที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัยสาธารณะ
1) ทำการขนส่ง เช่นเดียวกับ หรือคล้าย หรือแย่งผลประโยชน์ กับผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทาง (เฉพาะกรณีผู้ขับรถเป็นบุคคลเดียวกับผู้ประกอบการขนส่ง)
2) ไม่ใช้เครื่องอุปกรณ์และส่วนควบของรถ (ไม่ล็อกอุปกรณ์ยึดตู้บรรทุกสินค้า ไม่ล็อกอุปกรณ์ต่อพ่วง)
3) ไม่แสดงเครื่องหมายหรือสัญญาณ เมื่อจำเป็นต้องจอดรถในทางเดินหรือไหล่ทาง
4) บรรทุกผู้โดยสารเกินจำนวนที่นั่งผู้โดยสาร
5) ขับรถด้วยอัตราความเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด
6) ขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว
7) ขับรถโดยก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินของผู้อื่น และไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือตามสมควร
ข้อ 1) หากเป็นความผิดครั้งที่ 1 จะถูกปรับและอบรม
ครั้งที่ 2 จะถูกปรับ พักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน และอบรม
ครั้งที่ 3 ปรับและเพิกถอนใบอนุญาต
โดยโทษปรับนั้นจะปรับตั้งแต่ 50,000 บาทถึง 200,000 บาท
(เพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย) ขอบคุณภาพจากพันทิพย์
ข้อ 2) – 7) หากเป็นความผิดครั้งที่ 1 จะถูกปรับและอบรม
ครั้งที่ 2 จะถูกปรับ พักใช้ใบอนุญาตไม่น้อยกว่า 3 เดือน แต่ไม่เกิน 6 เดือน และอบรม
ครั้งที่ 3 ปรับและเพิกถอนใบอนุญาต
โดยโทษปรับนั้นจะปรับไม่เกิน 5,000 บาท
กลุ่มความผิดร้ายแรง
1) เสพหรือเมาสุราหรือของมึนเมาอย่างอื่นขณะเป็นผู้ขับรถ
2) เสพยาเสพติดให้โทษขณะเป็นผู้ขับรถ
3) เสพวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทขณะเป็นผู้ขับรถ
4) ไม่ใช้เครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบของรถ (ใช้อุปกรณ์ตัดสัญญาณความถี่วิทยุ ทำให้ไม่สามารถส่งข้อมูลการเดินทางของรถได้)
ข้อ 1) หากเป็นความผิดครั้งที่ 1 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 30 วัน
ครั้งที่ 2 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 60 วัน
ครั้งที่ 3 จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
และต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับตั้งแต่ 2,000 - 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยข้อหาความผิดมีโทษจำคุก ต้องส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี
ข้อ 2) – 3) หากเป็นความผิดครั้งที่ 1 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 30 วัน
ครั้งที่ 2 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 60 วัน
ครั้งที่ 3 จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
และต้องระวางโทษสูงกว่ากฎหมายที่ว่าด้วยยาเสพติดให้โทษหรือกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทกำหนดอีกหนึ่งในสาม โดยข้อหาความผิดมีโทษจำคุก ต้องส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดี
ข้อ 4) หากเป็นความผิดครั้งที่ 1 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 30 วัน
ครั้งที่ 2 จะถูกพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ 60 วัน
ครั้งที่ 3 จะถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่
โดยโทษปรับนั้นจะปรับไม่เกิน 5,000 บาท
(เพิ่มโทษแก่ผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย)
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีกฎหมายที่เข้มงวดมากขึ้น แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผู้ใช้รถใช้ถนนต้องร่วมด้วยช่วยกันปฏิบัติตามกฎหมายด้วยความเต็มใจ เพราะความประมาทเพียงนิด อาจทำให้เสียชีวิต บาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหายได้
ขอบคุณ กรมขนส่งทางบก