- 09 ม.ค. 2562
IUU ประกาศปลดใบเหลือง การประมงไทยพร้อมทั้งให้โอกาสชาวประมงไทยหากินช่วยเพิ่มรายได้ให้กับตัวเอง
หากย้อนไป 4 ปีก่อนไทยเจอวิกฤติประมง สหภาพอียูให้ใบเหลืองเรา แต่เพราะการปรับปรุงที่ถูกต้องตามหลักการ อียูจึงได้พิจารณาปลดใบเหลืองประมงของประเทศไทย ซึ่งเป็นเพียงประเทศเดียวที่ได้รับการพิจารณาครั้งนี้ เพราะไทยได้ดำเนินการในการกำกับดูแลและประมงได้เป็นมาตรฐานสากล
โดยตลอดช่วงเวลาเกือบ 4 ปี ที่ผ่านมา นับตั้งแต่ไทยได้ใบเหลืองเมื่อเดือนเม.ย. 2558 จนมาถึงปี 2561 ไทยได้มุ่งมั่นแก้ไขปัญหาตามข้อแนะนำของไอยูยู จนมีผลเป็นรูปธรรมอย่างครอบคลุมทั้งในด้านกรอบกฎหมาย การบริหารจัดการประมง การบริหารจัดการกองเรือ การติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง
อีกทั้งรวมไปถึงการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งทำให้ไทยสามารถแสดงความรับผิดชอบและบทบาททั้งในฐานะรัฐเจ้าของธง รัฐชายฝั่ง รัฐเจ้าของท่าและรัฐตลาด ในระดับของมาตรฐานสากล ส่งผลให้สหภาพยุโรปปลดใบเหลืองให้ไทย
โดยประเด็นดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จที่ไทยได้ยกระดับของการทำประมงเชิงพาณิชย์ ทั้งในและนอกน่านน้ำเข้าสู่มาตรฐานสากล และพร้อมที่จะเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกับสหภาพยุโรปในการส่งเสริมการประมงอย่างยั่งยืนทั้งในระดับประเทศและภูมิภาค
ทั้งนี้ที่ผ่านมา ทางนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มอบหมายให้ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานอนุกรรมการไอยูยู เป็นหัวหน้าคณะทำงานของไทย ร่วมหารือทวิภาคีความร่วมมือด้านการประมงไทย-สหภาพยุโรป
พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า "จากนี้ไปรัฐบาลไทยก็ยังมีความมุ่งมั่น ที่จะขจัดปัญหาการทำประมงไอยูยู เพราะตระหนักดีถึงความจำเป็นที่จะต้องรักษาความยั่งยืนของทรัพยากรสัตว์น้ำเพื่ออนุชนรุ่นหลัง พร้อมกันนี้ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กำกับดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และเชื่อมั่นว่าไทยได้วางรากฐานระบบป้องกันการทำประมงไอยูยู ไว้อย่างสมบูรณ์ทั้ง6ด้านคือ 1. ด้านกฎหมาย 2. ด้านการบริหารจัดการประมง 3. ด้านการบริหารจัดการกองเรือ 4 ด้านการติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง (MCS) 5. ด้านการตรวจสอบย้อนกลับ และ 6. ด้านการบังคับใช้กฎหมาย"
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-"พล.อ.ฉัตรชัย" เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (IUU)!!!
-ยอมรับกติกา !! เรือประมงสงขลายังทำการประมงปกติไม่มีการหยุดเรือประท้วง
และ 2560 เพิ่มเป็น 125 ตันต่อปี เฉลี่ยเพิ่มขึ้นประมาณ 35 ตันต่อลำภายใต้เป้าหมายแก้ปัญหาทุกภาคส่วน การกำหนดจำนวนเรือ จำนวนท่าเทียบ สามารถลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชาวประมง โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์ต่างๆ ให้ชาวประมงปฏิบัติได้ ภายใต้กรอบกติกาสากล ความยั่งยืน ประกอบด้วย เรือถูกต้อง และแรงงานถูกต้อง การทำประมงถูกต้อง
ปัจจุบันเรือประมงที่ถูกต้องมีจำนวน 38,495 ลำ แยกเป็นเรือประมงพาณิชย์จำนวน 10,565 ลำ หรือพื้นบ้านจำนวน 27,930 ลำ จากก่อนหน้า ที่ไทยมีเรือจำนวนมากกว่า 50,000 ในของเรือประมงพื้นบ้าน จะบริหารจัดการ ให้แล้วเสร็จในปีนการในช่วงปี 2562 เพื่อให้ทุกลำเป็นระบบสากล เป็นการยืนยันข้อมูลชาวประมงพื้นบ้านเป็นครั้งแรกของประเทศไทย
เมื่อทำทุกอย่างถูกต้อง พี่น้องประมงไทยก็จะมีการทำงานในรูปแบบสากลมากขึ้น ได้รับการรับการยอมรับจากนานาประเทศ เพื่อการทำเศรษฐกิจเกี่ยวกับสัตว์น้ำ สัตว์ทะเลที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตามเป้าหมายหลักหลังจากที่ไทยได้รับการปลดใบเหลืองนั้น ก็เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และรักษาทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลซึ่งเป็นของส่วนรวม และการมีนโยบายประมงที่มีความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม เพื่อความยั่งยืนของไทยเป็นสำคัญ