อย่าลืมเก็บภาพ! "คืนนี้" ถ่ายภาพจันทร์ดวงโตกับ "ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก"

อย่าลืมเก็บภาพ! "คืนนี้" ถ่ายภาพจันทร์ดวงโตกับ "ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก"

วันนี้ (21/02/2562) เพจเฟซบุ๊ก สถาบันวิจันดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ชวนคนไทยถ่ายรูปดวงจันทร์ดวงโต ที่จะโคจรใกล้โลกในวันที่ 19 ก.พ.นี้ พร้อมแนะนำเทคนิคถ่ายภาพจันทร์เต็มดวงให้ยิ่งใหญ่อลังการใน และออกมาสวยงามสุดๆ โดยระบุว่า

ก่อนชม “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก” คืนนี้ (21 มกราคม 2562) อาจารย์แจ็คชวนมาถ่ายรูปดวงจันทร์ดวงโตกันครับ 3 กลเม็ดเคล็ด(ไม่)ลับ การถ่ายภาพ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก” อย่างไรให้ดูยิ่งใหญ่เป๊ะปังอลังการ การถ่ายภาพ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก” นั้น สิ่งสำคัญ คือ จะถ่ายภาพออกมาอย่างไรให้ดวงจันทร์เต็มดวงมีขนาดใหญ่อลังการ “เทคนิคการถ่ายภาพเพื่อเปรียบเทียบขนาดดวงจันทร์” จึงค่อนข้างมีความสำคัญกับการถ่ายภาพปรากฏการณ์นี้ ผมขอแนะนำ 3 ไอเดีย ดังนี้ครับ

ไอเดียที่ 1 : การถ่ายภาพดวงจันทร์เปรียบเทียบกับวัตถุบนพื้นโลกการถ่ายภาพดวงจันทร์เปรียบเทียบกับวัตถุบนพื้นโลก (Moon Illusion) หรือภาพลวงตานั้น คือการถ่ายภาพดวงจันทร์ในบริเวณที่อยู่ใกล้กับขอบฟ้า หรือใกล้กับวัตถุ ไม่ว่าจะเป็น ต้นไม้ คน อาคาร หรือสิ่งก่อสร้างต่างๆ ปกติดวงจันทร์เมื่อมองด้วยตาเปล่าจะมีขนาดปรากฏเชิงมุมเพียง 0.5 องศา (เหยียดแขนให้สุด ใช้นิ้วก้อยวัดขนาดเท่ากับ ครึ่งนิ้วก้อย) ดังนั้นหากต้องการถ่ายภาพเปรียบเทียบกับวัตถุบนโลก ก็ต้องให้วัตถุดังกล่าวมีระยะห่างจากจุดถ่ายภาพไกลพอที่จะทำให้มองเห็นวัตถุนั้นๆ มีขนาดใกล้เคียงกับขนาดปรากฏเชิงมุมเพียง 0.5 องศาเช่นกัน นอกจากการหาสถานที่ที่เหมาะสมแล้ว การเลือกใช้เลนส์เทเลโฟโต้ และการเลือกโฟกัสที่ฉากหน้าหรือตัววัตถุที่ต้องการถ่ายภาพเพื่อเปรียบเทียบกับขนาดของดวงจันทร์ก็เป็นอีกสิ่งที่ควรให้ความสำคัญ

 

อย่าลืมเก็บภาพ! \"คืนนี้\" ถ่ายภาพจันทร์ดวงโตกับ \"ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก\"

ไอเดียที่ 2 : การถ่ายภาพดวงจันทร์ในช่วงเที่ยงคืน เพื่อให้ได้ขนาดใหญ่ที่สุด

เทคนิคการถ่ายภาพดวงจันทร์เต็มดวงให้ได้ขนาดใหญ่ที่สุด “คือการถ่ายภาพในช่วงเที่ยงคืน” เนื่องจากเป็นช่วงที่ดวงจันทร์จะอยู่ในตำแหน่งใกล้ผู้สังเกตบนโลก ตำแหน่งดวงจันทร์ในช่วงเที่ยงคืนนั้นเป็นไปตามหลักการของการหมุนรอบตัวเองของโลก ที่ทำให้ตำแหน่งของผู้สังเกตในช่วงเวลาต่างๆ มีระยะห่างจากดวงจันทร์ที่แตกต่างกันนั่นเอง ในเวลาเที่ยงคืน นอกจากดวงจันทร์จะอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กับผู้สังเกตแล้ว ดวงจันทร์ยังอยู่บริเวณกลางท้องฟ้าทำให้ได้ภาพดวงจันทร์ที่ชัดเจนและใสเคลียร์อีกด้วย

อย่าลืมเก็บภาพ! \"คืนนี้\" ถ่ายภาพจันทร์ดวงโตกับ \"ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก\"

ไอเดียที่ 3 : การถ่ายภาพเปรียบเทียบขนาดดวงจันทร์เต็มดวงไกล-ใกล้โลกที่สุดในรอบปี

หากใครที่ได้ถ่ายภาพปรากฏการณ์ดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปีไว้ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2560 ก็สามารถถ่ายภาพดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี เพื่อนำมาเปรียบเทียบขนาดกันได้ ประการสำคัญของการถ่ายภาพลักษณะนี้คือ อุปกรณ์ที่ใช้ในการถ่ายภาพต้องเป็นอุปกรณ์แบบเดียวกัน

ผมแนะนำว่า ในปีนี้เราอาจถ่ายภาพ “ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี 2562” ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 ไว้ก่อน แล้วเมื่อถึงวันที่ 14 กันยายน 2562 ก็ตามถ่ายภาพดวงจันทร์เต็มดวงไกลโลกที่สุดในรอบปีอีกครั้ง เพื่อนำเอาทั้งสองภาพมาเปรียบเทียบกัน ก็จะได้ภาพที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างกันมากที่สุด

อย่าลืมเก็บภาพ! \"คืนนี้\" ถ่ายภาพจันทร์ดวงโตกับ \"ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลก\"

 

ขอบคุณข้อมูลจาก 

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page