คกก.สอบคำร้อง "อัจฉริยะ - พ.ต.ท." ร่วมทำพยานหลักฐานเท็จ - ปลอมเอกสารราชการ มีมติเอกฉันท์ผิดจริง

คกก.สอบคำร้อง "อัจฉริยะ - พ.ต.ท." ร่วมทำพยานหลักฐานเท็จ - ปลอมเอกสารราชการ มีมติเอกฉันท์ผิดจริง

จากกรณีที่ น.ส.รักชนก เจริญมากสุวรรณ และ นายเศรษฐ์ เดชสุภา สองสามีภรรยา ได้แจ้งความกับตำรวจ สภ.บางปะอิน ภายหลังถูก นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม และตำรวจยศ พ.ต.ท. ร่วมกันนำข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ไปเผยแพร่ในโลกโซเชียลจนเกิดความเสียหาย เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ปี 2561 ตามที่เสนอข่าวไปนั้น  

ในเวลาต่อมาที่กองบังคับการปราบปราม ถนนพหลโยธิน นายษิทรา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม พร้อมด้วยนายเศรษฐ เดชสุภา และนางสาวรักชนก เจริญมากสุวรรณ ได้นำเอกสารหลักฐานเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กองกำกับการ 2 กองบังคับการปราบปราม (กก.2 บก.ป.) ให้ดำเนินคดีกับ นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ และ พ.ต.ท.เรืองยศ เกษรบัว รองผู้กำกับสืบสวน สภ.บางประอิน ในข้อหา “ร่วมกันปลอมแปลงเอกสารราชการและร่วมกันทำพยานหลักฐานเท็จ-ปลอมเอกสารราชการ” หลังร่วมกันทำพยานหลักฐานทางคดีและเอกสารทางราชการอันเป็นเท็จจนเกิดความเสียหาย

 


ในขณะเดียวกัน ทนายตั้ม ได้เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า  "หลังจากผู้เสียหายได้เข้าแจ้งความกับนายอัจฉริยะ และ รองผู้กำกับ สภ.บางปะอิน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา หลังถูกคัดลอกข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ไปเผยแพร่ พบว่ามีพิรุธ ในการลงบันทึกประจำวันย้อนหลังกลับไปเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน ซึ่งมีข้อน่าสงสัยหลายประการที่ผิดไปจากระเบียบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) คือ หลักฐานทางให้ระบุเรื่องร้องเรียนได้1 คนต่อ 1 หน้าเท่านั้น และเมื่อหมดฉบับแล้วต้องขึ้นหน้าใหม่"

 

"จะไม่มีการเขียนทับซ้อนจนเกินหน้า อีกทั้งยังมีเรื่องความไม่ต่อเนื่องของเวลา จากบันทึกในฉบับที่ 1 ลงเวลา 13.30น. แต่ข้อต่อมากลับเป็นฉบับที่ 100 พร้อมระบุเวลาเป็น 15.00น. พร้อมลงลายมือชื่อของรองผู้กำกับไว้ ซึ่งผิดไปจากระเบียบของ ตร. เช่นกัน ที่กำหนดให้เป็นหน้าที่ของ ร้อยเวร หรือสิบเวรสอบสวน เท่านั้น อย่างไรก็ตาม คาดว่าสาเหตุที่คู่กรณีร่วมกันกระทำการดังกล่าว เป็นเพราะเกรงจะมีความผิด จึงต้องทำบันทึกย้อนหลังไว้"


 

ด้าน นายเศรษฐ์ ผู้เสียหายได้กล่าวว่า "เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากตนได้ไปคอมเมนต์บนเพจกะโหลกแดงหรือ Red Skull ในฐานะลูกเพจเท่านั้น ซึ่งเข้าใจว่าเพจนี้คงจะมีปัญหากับนายอัจฉริยะมาก่อนแล้ว จากนั้นจึงพบว่า ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของแฟนสาวของตนได้ถูกคัดลอกไปเผยแพร่ในกลุ่มไลน์และบนเฟซบุ๊ก โดยแฟนสาวถูกวิจารณ์รูปลักษณ์หน้าตา ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกันเลย ตนจึงไปปกป้องสิทธิ์ด้วยการไปแจ้งความกับตำรวจแต่กลับพบว่ามีการปลอมแปลงเอกสารดังกล่าว จึงถามว่าเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ ทั้งนี้ ตนยังถูกคนมาคอมเมนต์ข่มขู่ หมายจะทำร้ายร่างกายอีกด้วย"

 


เบื้องต้น นายษิทรา หรือ ทนายตั้มได้เตรียมที่จะแจ้งข้อกล่าวหาร่วมกันสมคบทำพยานหลักฐานเท็จและปลอมแปลงเอกสารราชการกับนายอัจฉริยะ และนายตำรวจ พ.ต.ท. รวมถึงเตรียมที่จะดำเนินการกับผู้คอมเม้นต์ข่มขู่ผู้เสียหายในความผิดฐานหมิ่นประมาท

ทั้งนี้ ทนายตั้ม หรือ นายษิทรา เบี้ยบังเกิด เลขาธิการมูลนิธิทีมงานทนายประชาชน เข้าร้องทุกข์ต่อศูนย์ ศปอส.ตร.  กล่าวโทษดำเนินคดี นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ กับแอดมินอื่น ของเพจชมรมช่วยเหลืออาชญากรรม ที่ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในคดีดังต่อไปนี้

 

 

ต่อมาที่ห้องศูนย์หมายจับคนร้ายข้ามชาติ กองบัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (สวนพลู) นายษิทรา เบี้ยบังเกิด ทนายความ นำนายเศรษฐ์ เดชสุภา ซึ่งถูกนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ประธานชมรมช่วยเหลือช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม ให้รองผู้กำกับการสืบสวน สถานีตำรวจภูธรบางปะอิน ค้นข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของภรรยานายเศรษฐ์ เพื่อนำไปเผยแพร่ในสื่อโซเชียล จนได้รับความเสียหาย เข้าพบพล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผบช.สตม. ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

 

 

เพื่อร้องเรียนพฤติกรรมเจ้าหน้าที่รัฐที่ให้ข้อมูลแก่บุคคลภายนอกโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นเหตุเกิดขึ้นที่สภ.บางปะอินจังหวัดพระนครศรีอยุธยาโดยพบว่ามีความพยายามทำให้ชอบด้วยกฎหมายมีพฤติกรรมการลงบันทึกประจำวันย้อนหลัง ซึ่งพบเป็นความผิดชัดเจนและจะดำเนินคดี นายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงศ์ ในข้อหาพรบ.คอมพิวเตอร์ และพยายามฉ้อโกงประชาชน
 

 


นายษิทรา กล่าวว่า "เพจเฟซบุ๊กชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมเคยโพสต์ข้อความเมื่อปี 2556-2257 ระบุว่าสายสืบต้องมียาเสพติดติดตัวและเรียกรับเงินจำนวนหนึ่งถึง 20,000 บาท ส่วนตัวไม่เชื่อว่าตำรวจจะกระทำการตามที่ถูกกล่าวหา และกรณีการตรวจสอบทะเบียนราษฎร์ มีลักษณะรับจ้างคัดทะเบียนราษฎร์ของประชาชน

 

 

หากมีผู้ร่วมขบวนการก็จะดำเนินคดีในข้อหาร่วมกันกระทำผิดด้วย ส่วนกรณีที่ประธานชมรมเหยื่ออาชญากรรมระบุว่า จะดำเนินคดีกับตนและตำรวจที่รับเรื่องทั้งหมดก็เป็นสิทธิ ถ้านายอัจริยะไม่ได้รับความเป็นธรรม  
 

 

อย่างไรก็ตามยืนยันว่าเอกสารใบบันทึกประจำวันที่เอาออกมาก่อนหน้านี้ ทั้งหมดชอบด้วยกฎหมาย และหากฝั่งคู่กรณีคิดว่าเอาออกมาโดยมิชอบ ก็สามารถแจ้งความได้ ส่วนที่คู่กรณีระบุว่า เป็นการล้างแค้น ดิสเครดิตกันหรือไม่นั้น นายษิทรา ยังกล่าวอีกว่า หากนายอัจริยะไม่ได้ทำผิดกฏหมาย ก็ไม่สามารถเอาผิด หรือล้างแค้นนายอัจริยะได้ เมื่อถามว่าจะมีการไกล่เกลี่ย กันได้หรือไม่ นายษิทรายืนยันว่าไม่สามารถยอมความได้ เนื่องจากความผิดมีอายุความถึง 10 ปี ข้อหาตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ 

 

 


โดยทนายตั้มได้มาร้องเรื่อง 1.มีผู้มาร้อง กล่าวหา การปฏิบัติงานของตำรวจว่าจะมีการ พกยาบ้าติดตัวครั้งละ 10-20 20 เม็ดแล้วจะใช้วิธีการยัดให้กับผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติดแล้วเรียกเงิน 2. มีเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้ช่องทางในการตรวจสอบประวัติ ทะเบียนราษฎร์ และ ทำ เป็นธุรกิจเรียก บริการค่าทดสอบ

 


หากนายอัจฉริยะฯ กับพวก พิสูจน์ได้ว่าตำรวจทุกโรงพักมีพฤติกรรมแบบที่ว่าจริงๆ ก็ไม่ใช่ความเท็จจึงไม่มีความผิด หรือพิสูจน์ได้ว่าตน มีอำนาจคัดทะเบียนราษฎร์ได้โดยถูกต้อง ไม่ได้หลอกลวงเงินจากประชาชน ก็ไม่มีความผิดฐานพยายามฉ้อโกงประชาชน และพรบ.คอมพิวเตอร์ แต่หากพิสูจน์ไม่ได้ก็รับผลกรรม ร่วมกับแอดมินทุกคน ซึ่งคดีนี้แม้จะเกิดปี 2556 - 2557 แต่อายุความมีถึง 10 ปี และแม้จะลบข้อความไปแล้ว ความผิดก็สำเร็จไปตั้งแต่ตอนโพสต์แล้ว

 

 

 

ขณะที่พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผบช.สตม. กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ทั้งหมดต้องมีการตรวจสอบว่ากระทบต่อคดีอาญา และประชาชนหรือไม่ ซึ่งหากกระทบทางพนักงานสอบสวนต้องดำเนินคดี ส่วนประเด็นการคัดสำนวนบันทึกประจำวัน ทราบว่าขณะนี้ทางผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว และการบันทึกข้อความในสำนวน ตำแหน่งรองผู้กำกับสามารถกระทำได้ เนื่องจากเป็นผู้บังคับบัญชา

 


ล่าสุดมีรายงานว่า คณะกรรมการดังกล่าว ได้มีมติเอกฉันท์ ว่า การกระทำของพันตำรวจโทเรืองยศ เข้าข่ายเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ทั้งความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสาร และใช้เอกสารราชการปลอม ส่วนนายอัจฉริยะ เข้าข่ายมีความผิดฐาน เป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และปลอมและใช้เอกสารราชการปลอมพร้อมให้ส่งสำนวนการสอบสวนดังกล่าวไปให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.พิจารณา เมื่อวันที่ 25 มกราคมที่ผ่านมา

 

ในขณะที่ ทางสำนักงานป้องกันปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. ระบุว่ายังไม่พบเรื่องดังกล่าวเสนอเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงของ ป.ป.ท. ซึ่งเป็นไปได้ว่ายังอยู่ระหว่างการพิจารณาของ ป.ป.ช. ตามกฎหมายใหม่ภายใน 30 วัน ว่าจะดำเนินการอย่างไร เช่น อาจส่งกลับไปให้พนักงานสอบสวนในท้องที่รวบรวมสำนวนทำความเห็นสั่งฟ้องเอง หรือ ส่งให้ทาง ป.ป.ท. รับไปไต่สวนหาข้อเท็จจริง หรือ ป.ป.ช.อาจรับไว้พิจารณาเองก็ได้

 

ด้านแนวทางในการพิจารณาข้อเท็จจริงหากมีการส่งเรื่องมายัง ป.ป.ท. ต้องมีการพิสูจน์อย่างน้อยใน 2 ประเด็น คือเรื่องอำนาจหน้าที่ของผู้ที่ถูกกล่าวหา และลักษณะการปลอมเอกสาร เช่น การตรวจสอบลายมือที่เขียนในหลักฐานเปรียบเทียบกับลายมือที่เคยเขียนในเอกสารอื่นๆ ในช่วง 1 ปี ทีผ่านมา ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้โดยใช้หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์
 

 

คกก.สอบคำร้อง \"อัจฉริยะ - พ.ต.ท.\" ร่วมทำพยานหลักฐานเท็จ - ปลอมเอกสารราชการ มีมติเอกฉันท์ผิดจริง

 

คกก.สอบคำร้อง \"อัจฉริยะ - พ.ต.ท.\" ร่วมทำพยานหลักฐานเท็จ - ปลอมเอกสารราชการ มีมติเอกฉันท์ผิดจริง