- 04 ก.พ. 2562
ดราม่ายับ แห่วิจารณ์ คนนำ"ปลาช่อนอเมซอน" อ้างทำบุญ ชาวเน็ตลากไส้ ไม่รู้หรือไง มันคือปลานักล่า
เรื่องราวที่ถูกวิจารณ์กันอย่างกระหน่ำในโลกออนไลน์ เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดที่หนองกระทิง จ.ลำปาง ผู้ใช้เฟซบุ๊กที่มีชื่อว่า "จรัล ยะอนันต์" ได้แชร์ภาพการนำปลาอะเมซอนน้ำจืดที่จับได้ไปปล่อย อ้างเพื่อเป็นการทำบุญ
เรื่องราวดังกล่าว ได้ถูกเพจชื่อดังอย่าง เจ้าหญิงน้อยแห่งอันดามัน ได้แชร์และมีเนื้อหาดังนี้
ลาก่อน ปลาบ้านหนองกระทิง
นึกภาพมีคนปล่อย "พรีเดเตอร์ เข้าไปในหมู่บ้านคุณสิ" จะเหลือรึ ?
ใครแจ้ง ท่านผู้ว่าลำปาง หรือคนที่เกี่ยวข้องที เอาไปไว้ประมงจังหวัด หรืออแควเรี่ยมเถอะ หรือ กำจัดไปเลย
ไม่อยากใจร้ายนะ แต่จำเป็น
ความเห็นโซเชียล
ปลาอะราไพม่า หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาไทยว่า ปลาช่อนยักษ์อเมซอน (อังกฤษ: Arapaima; ชื่อวิทยาศาสตร์: Arapaima gigas) ปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาอะราไพม่า (Arapaimidae) ในอันดับปลาลิ้นกระดูก (Osteoglossiformes) (ในข้อมูลเก่าจะระบุให้อยู่ในวงศ์ปลาตะพัด (Osteoglossidae)
มีรูปร่างคล้ายปลาช่อน (Channa stiata) มาก เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่มาก เกล็ดมีขนาดใหญ่ มีสีดำเงาเป็นมัน ครีบบน ครีบล่าง มีตำแหน่งค่อนไปทางหาง มีแถบสีแดง-ส้ม ตัดกับพื้นสีดำ มีลำตัวค่อนข้างกลมและเรียวยาว ส่วนหัวมีลักษณะแข็งและมีน้ำหนักมาก ส่วนลำตัวด้านท้ายมีลักษณะแบนกว้าง ในขณะที่ปลายังเล็กพื้นลำตัวจะมีสีเขียวเข้ม และลำตัวส่วนที่ค่อนไปทางหางจะเป็นสีดำ และรูปร่างจะออกไปทางทรงกระบอก เมื่อโตขึ้นบริเวณลำตัวและส่วนที่ค่อนไปทางหาง ครีบ และหาง จะปรากฏสีชมพูปนแดงหรือสีบานเย็นประแต้มกระจายอยู่ทั่วไป เมื่อจวนตัว ปลาอะราไพม่าจะใช้ส่วนหัวที่แข็งพุ่งชนและกระโดดใส่เมื่อความรุนแรงเพื่อป้องกันตัว
ปลาอะราไพม่า ไม่มีหนวดซึ่งแตกต่างไปจากปลาชนิดอื่น ๆ ในวงศ์เดียวกัน และเป็นปลาที่มีอัตราการเจริญเติบโตที่ไวมาก ภายในเวลาเพียง 1-2 ปี สามารถมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นถึง 3-5 เท่าได้ ปลาที่โตเต็มที่เท่าที่มีการบันทึกสถิติไว้คือยาว 4.5 เมตร น้ำหนักกว่า 400 กิโลกรัม
พบในแม่น้ำอเมซอนและลุ่มน้ำสาขาในทวีปอเมริกาใต้ โดยชาวพื้นเมืองจะเรียกว่า พิรารูคู (Pirarucu) ขณะที่ชาวพื้นเมืองที่ประเทศเปรูจะเรียกว่า ไพชี่ (Phiche) โดยปลาชนิดนี้เป็นปลาที่ชาวพื้นเมืองใช้บริโภคกันในท้องถิ่น ในบางท้องที่มีการเพาะเลี้ยงกันเป็นปลาเศรษฐกิจ
ปลาอะราไพม่ากินอาหาร ได้แก่ ปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร โดยใช้ลิ้นที่แข็งเป็นกระดูกนั้นบดอาหารกับเพดานปาก ในบางครั้งสามารถกินสัตว์เลือดอุ่นขนาดเล็กกว่าที่อยู่บนบก เช่น ลิง หรือ สุนัข หรือ นก ด้วยการกระโดดงับได้อีกด้วย
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- ผลงานนักเรียนอาชีวศึกษาสิงห์บุรีสุดเจ๋ง!!! ผลิตแกงส้มปลาช่อนผงสำเร็จรูปคว้ารางวัลระดับชาติ