เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือปี 2562 ... SACICT เทิดเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน ต้นแบบอนุรักษ์มรดกอารยธรรมไทย

ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ  SACICT เปิดเผยกระบวนการ คัดสรรบุคคลระดับช่างฝีมือ และช่างฝีมือขั้นสูงที่มีผลงานยอดเยี่ยมด้านศิลปหัตถกรรมประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ เป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม” และ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ประจำปี 2562 พร้อมนำสุดยอดผลงาน มาจัดแสดงภายในงาน “๑ ทศวรรษ อัตลักษณ์แห่งสยาม” ระหว่าง 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2562 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ที่ผ่านมา 

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ  เปิดเผยว่า    “ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ หรือ SACICT  ได้เล็งเห็นความสำคัญการที่จะอนุรักษ์ รักษาคุณค่าภูมิปัญญา ทักษะฝีมือและองค์ความรู้เชิงช่างที่อยู่ในตัวบุคคล    ที่ถือได้ว่าเป็นสมบัติอันมีค่าที่สุดเหล่านี้ ไม่ให้สูญหายไปตามกาลเวลา  และส่งต่อไปถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน คนรุ่นหลังได้เห็นคุณค่า  เกิดเป็นแรงบันดาลใจในการช่วยกันอนุรักษ์ รักษา สืบสานต่อ  ในขณะเดียวกันก็ยังส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาต่อยอดผสมผสานด้วยภูมิปัญญาดั้งเดิม และแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ พัฒนาต่อยอดสู่ความร่วมสมัยและสมัยนิยม อันจะนำไปสู่การสร้างโอกาสทางการตลาดในเชิงพาณิชย์ต่อไปได้ ด้วยความสำคัญดังกล่าวนี้  SACICT จึงได้มีการดำเนินกิจกรรมคัดสรรและเชิดชูเกียรติบุคคลที่ทรงคุณค่าเหล่านี้ใน 3 สถานะ ประกอบด้วย ครูศิลป์ของแผ่นดิน   ครูช่างศิลปหัตถกรรม และ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม ซึ่งดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2552 เป็นต้นมา 

 

เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือปี 2562 ... SACICT เทิดเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน  ต้นแบบอนุรักษ์มรดกอารยธรรมไทย


“สำหรับในปี 2562 นี้มีจำนวนผู้ที่เสนอชื่อเข้าร่วมการคัดสรรทั้ง 3 ประเภท จากทั่วประเทศมากกว่า 300 ราย ในหลากหลายประเภทผลงานศิลปหัตถกรรม แต่ละคนล้วนแล้วมีผลงานที่น่าสนใจทั้งสิ้น ในการพิจารณาคัดสรรนั้น SACICT มีการดำเนินการตามขั้นตอน   ซึ่งพิจารณาโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มีการแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในงานศิลปหัตถกรรมหลากหลายแขนง และในแต่ละปีคณะกรรมการ จะทำงานกันอย่างหนักมาก เพื่อร่วมพิจารณาคัดสรรบุคคลผู้มีฝีมือ โดยจะให้ความสำคัญในเรื่องของบุคคลผู้มีทักษะฝีมือ และผู้ที่เปี่ยมด้วยองค์ความรู้    ภูมิปัญญาที่สะท้อนผ่านผลงานอันทรงคุณค่า งดงาม น่าประทับใจ ที่เป็นที่สุดของงานแขนงนั้นๆ จริงๆ และในปี 2562  คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ  ร่วมคัดสรรบุคคลที่สมควรได้รับการเชิดชูเป็น  “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” “ครูช่างศิลปหัตถกรรม”   และ “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม” ประจำปี 2562  รวม  25 คน"   

 

เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือปี 2562 ... SACICT เทิดเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน  ต้นแบบอนุรักษ์มรดกอารยธรรมไทย

โดยผู้ที่ได้รับการเชิดชูเป็น “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” ถือเป็นบุคคลเป็นบุคคลชั้นบรมครู เป็นผู้อนุรักษ์ รักษา คงคุณค่าองค์ความรู้ภูมิปัญญา ในงานศิลปหัตถกรรม สั่งสมสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันด้วยทักษะฝีมือเชิงช่างชั้นสูง สั่งสมประสบการณ์ในการสร้างสรรค์งานมาอย่างยาวนาน ถือเป็นสุดยอดของผู้มีฝีมือที่ล้ำเลิศ ในปี 2562 มีผู้ที่ได้รับการเชิดชู จำนวน 7 คน ประกอบด้วย 1.นางสาวทองอยู่ กำลังหาญ ผู้สืบทอดมรดกภูมิปัญญา  “ผ้าซิ่นตีนจก” ในวัฒนธรรมของชาวไทยวน-คูบัว สั่งสมภูมิปัญญาการทอผ้าซิ่นตีนจก  ที่ยังยึดถือวิธีแบบโบราณดั้งเดิมด้วย เทคนิคจกขนเม่น  ตามแบบวัฒนธรรมของชาวไทยวนมาเกือบทั้งชีวิตเป็นเวลากว่า 68 ปี 2.นายสงคราม งามยิ่ง ถือได้ว่าเป็นช่างทอ “ผ้าไหมมัดหมี่” ที่มีฝีมือและมีชื่อเสียงในอำเภอชนบท ที่ไม่มีใครไม่รู้จักด้วยผลงานพิเศษผ้ามัดหมี่หน้านาง นับเป็นหนึ่งในช่างทอที่ยังคงอนุรักษ์ รักษาภูมิปัญญาลวดลายผ้าโบราณเป็นเวลากว่า 50 ปี  

 

เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือปี 2562 ... SACICT เทิดเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน  ต้นแบบอนุรักษ์มรดกอารยธรรมไทย

 

3.นายเจน นวลสุภา หนึ่งในช่างฝีมือที่ทุ่มเททั้งชีวิต สืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมงานแกะสลักไม้ คู่ชุมชนบ้านกิ่วแลน้อยด้วยความเชี่ยวชาญการ “แกะสลักแนวสามมิติ” มาเป็นเวลากว่า 50 ปี   4.นายตีพะลี อะตะบู มีความเชี่ยวชาญในการทำ “กริชรามันห์” ตามโครงสร้างจากช่างหลวงโบราณตระกูลปันไดสาระทุกกระบวนการ ทั้งการตีใบกริชที่มีความแข็งแกร่งหากริชชนิดอื่นเทียบได้ยาก ยึดถือหลักการปฏิบัติตัวและหลักปฏิบัติจรรยาบรรณของช่างทำกริชอย่างเคร่งครัดมากว่า 35 ปี 5.นายบุญมี ล้อมวงศ์  สืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำ “เครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว”  โบราณดั้งเดิมแบบ “สูญขี้ผึ้ง” หัตถกรรมที่อยู่คู่ชาวอุบลราชธานีมากว่า 200 ปี  จวบจนปัจจุบัน เป็นเวลากว่า 40 ปี  และยังคงใช้กรรมวิธีการสร้างงาน “เครื่องทองเหลือง””   ที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ที่เหลือเพียงครูบุญมี เท่านั้นที่ยังคงสานต่อกระบวนการทำทองเหลืองแบบโบราณใช้วิธีการปั้นด้วยมือปั้นงานทีละชิ้นไว้ให้คงอยู่จวบจนปัจจุบัน     6.นายอุทัย เจียรศิริ  เป็นผู้ที่มีทั้งความรู้ ทักษะฝีมือ และความชำนาญ สืบสานการทำงาน “เครื่องถม”  ไปพร้อมๆ กับการสานต่อลมหายใจของ “งานคร่ำ” หนึ่งในงานศิลปหัตถกรรมโบราณที่เป็นช่างฝีมือเพียงคนเดียวที่สร้างสรรค์งาน   คร่ำโบราณตามกระบวนการดั้งเดิมจนเป็นที่เลื่องชื่อและมีชื่อเสียงมาก 7.นายชยธร ภาณุมาศ ช่าง “ปูนปั้นสด” ที่ทุ่มเททั้งชิวิตทำงานปูนปั้น โดยยึดเทคนิคปั้นปูนสดแบบโบราณสกุลช่างเมืองเพชรบุรี ฝากฝีมือด้วยผลงานในสถานที่สำคัญๆ จนมีชื่อเสียงเป็นที่ประจักษ์มากว่า 45 ปี 

 

เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือปี 2562 ... SACICT เทิดเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน  ต้นแบบอนุรักษ์มรดกอารยธรรมไทย

 
สำหรับครูช่างศิลปหัตถกรรม  เป็นบุคคลผู้มีทักษะฝีมือในงานศิลปหัตถกรรม และรักษาคุณค่าองค์ความรู้ ภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษที่สะท้อนในศาสตร์และศิลป์เชิงช่าง ดำรงไว้ซึ่งการอนุรักษ์ สร้างสรรค์หรือต่อยอดเพื่อให้คนรุ่นปัจจุบันได้ตระหนักและเข้าถึงงานศิลปหัตถกรรม นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนา สร้างสรรค์ต่อยอดสร้างงานศิลปหัตถกรรมด้วยทักษะฝีมือที่มีความละเอียด ประณีต และงดงาม  ในปี 2562 มีผู้ที่ได้รับการเชิดชู จำนวน 10 คน ประกอบด้วย 1.นายอำพัน น่วมนุ่ม  เป็นผู้บุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการทำ “เครื่องจักสานหวาย” ลายเล็กละเอียดและตะกร้าหวายที่มีฝาปิดแบบหลังเต่าที่มีเพียงคนเดียวในจังหวัดลพบุรีที่สามารถทำฝาปิดหลังเต่าได้ 2.ครูทองใบ เอี่ยมประไพ ผู้สืบสานต่อภูมิปัญญางาน “ผ้าทอสี่เขา” ที่มีกลิ่นอายทางวัฒนธรรมไทยวน-เสาไห้ แบบดั้งเดิมอยู่ในทุกผืนผ้า เป็นเวลากว่า 40 ปี 3.นางณิษา ร้อยดวง  ผู้อนุรักษ์และสืบสานงานทอ “ผ้ายกมุก” ผ้าทอที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในวิถีชีวิตของชาวไทยวน-เสาไห้ที่มีมากว่า 200 ปีที่เสี่ยงต่อการสูญหาย  

 

เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือปี 2562 ... SACICT เทิดเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน  ต้นแบบอนุรักษ์มรดกอารยธรรมไทย

 

 

4.นายศุภชัย เขว้าชัย ผู้ยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการดำเนินชีวิตสืบสานและสร้างงาน “ผ้าไหมมัดหมี่” ตามแบบวิถีภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชนบ้านเขว้าที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานกว่า 200  ปีของจังหวัดชัยภูมิ มีความโดดเด่นที่ใช้สีย้อมที่แต่ละผืนมีสีที่มีความแตกต่างกัน  5.นางสำเนา จบศรี ผู้สืบทอดงานทอ “ผ้าซิ่นตีนจก” ตามแบบวัฒนธรรมของชาวลาวครั่ง บ้านกุดจอก จังหวัดชัยนาท ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษยาวนานมากว่า 100 ปี 6.นางสุพัตรา ชูชม ผู้มีความผูกพันอยู่กับเสียงกระทบฟืมในชุมชนของชาวไทยวน-เสาให้ มาตั้งแต่เกิด อนุรักษ์ “ผ้าซิ่นตีนจก” ผ้าทอในวัฒนธรรมของคนไทยวน เสาไห้ โดยใช้การจกด้วยขนเม่นที่เคยสูญหายไปกว่า 100 ปี ให้กลับมามีชีวิตถึงในปัจจุบัน 7.นายยรรยงค์  คำยวง สืบทอด

 

 

ส่วนการอนุรักษ์ภูมิปัญญางานแกะสลักไม้มีทักษะ ความเชี่ยวชาญในการ “แกะสลักสามมิติ” ที่มีลวดลายละเอียด วิจิตร ซับซ้อนมีเอกลักษณ์โดดเด่นทุกชิ้นงาน  8.นายไพโรจน์ สืบสาม เป็นช่างผู้มีฝีมือสร้างสรรค์งาน  “เครื่องประดับทองโบราณ”  ได้อย่างประณีต ละเอียด งดงามเหมือนเครื่องทองโบราณในแบบฉบับของสกุลช่างไทยที่มีมาหลายร้อยปี 9.นายสำเนียง หนูคง เป็นผู้ที่มีฝีมือและความชำนาญด้านการทำงาน “สลักดุน” ที่ละเอียด ประณีต อนุรักษ์และสืบสานเทคนิคและการทำงานสลักดุนโลหะแบบดั้งเดิมไว้ทั้งหมด  10. นายเชวง โล่เจริญสุขเกษม ผู้มีทักษะความสามารถเฉพาะตัวในการสร้าง   “เรือโบราณจำลอง” จากเรือทั่วทุกมุมโลกมากกว่า 100 แบบ จนเป็นที่ยอมรับของคนทั่วโลกว่าเป็น “เรือจำลอง” ที่มีความเหมือนสมจริงติด 1 ใน 10 ของโลก 

 

เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือปี 2562 ... SACICT เทิดเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน  ต้นแบบอนุรักษ์มรดกอารยธรรมไทย

 

 

เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือปี 2562 ... SACICT เทิดเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน  ต้นแบบอนุรักษ์มรดกอารยธรรมไทย


ขณะที่ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม  เป็นกลุ่มที่เป็นหัวใจของการสืบสานงานศิลปหัตถกรรม ผู้มีความมุ่งมั่นและใฝ่เรียนรู้ เป็นผู้  ที่มารับช่วงต่อเพื่ออนุรักษ์ไม่ให้หายไป เริ่มจากการเป็นลูกหลาน หรือการเป็นลูกศิษย์ ที่ได้รับการถ่ายทอดในงานศิลปหัตถกรรมแขนงนั้นๆ  ซึ่งเป็นกลุ่มพิเศษที่ มีทั้งเป็นคนรุ่นใหม่ และคนที่พร้อมจะสืบสานต่อ กลุ่มทายาทฯ  จะเป็นกำลังสำคัญในอนาคต  ด้วยการสร้างสรรค์ และต่อยอดผลงานทำให้เป็นที่รู้จัก และพัฒนาการผลิตสู่ตลาดได้  ในปี 2562 มีผู้ที่ได้รับการเชิดชู จำนวน 8 คน ประกอบด้วย  1.นางเพ็ญภักดิ์ แก้วสุข เรียนรู้และสืบทอด “งานหัตถกรรมจักสานไม้ไผ่” ตั้งแต่ยังเล็ก มีความชำนาญในการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นงานประติมากรรมจักสานเป็นจักสานไม้ไผ่ขนาดใหญ่ จนถือเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของคุณเพ็ญภักดิ์  2.นายจักษ์ภิรมย์ ศรีเมือง เติบโตมาในหมู่บ้านที่มีช่างทอผ้าที่สืบทอดมาหลายช่วงอายุ  ถือเป็นช่างฝีมือรุ่นใหม่ที่เรียนรู้และสืบสานงานทอ “ผ้ายกสังเวียนโบราณ” ที่ปัจจุบันเกือบจะสูญหายไปจากท้องถิ่นให้กลับมาเป็นผ้าทอที่มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของจังหวัดมหาสารคราม 3.นางติ๋ม ป้อมคำ  สืบเชื้อสายมาจากชนชาวลาวครั่ง มีความชำนาญด้านการทอผ้าตามแบบฉบับของชาวลาวครั่งที่มีมาตั้งแต่โบราณ  

 

เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือปี 2562 ... SACICT เทิดเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน  ต้นแบบอนุรักษ์มรดกอารยธรรมไทย


โดยเฉพาะการทอ “ผ้าซิ่นตีนจก” สัญลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นชาติพันธุ์ “ลาวครั่ง” ได้อย่างชัดเจน 4.นายธนกร เปลี่ยนพิทักษ์ ถือเป็นช่างรุ่นใหม่ผู้มีฝีมือในงาน “ปักสะดึงกรึงไหม” อนุรักษ์สืบสานงานปักแบบโบราณไว้ทั้งหมด ด้วยเอกลักษณ์ของงานโบราณที่วิจิตร งดงาม

 

เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือปี 2562 ... SACICT เทิดเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน  ต้นแบบอนุรักษ์มรดกอารยธรรมไทย

 

 

5.นายบันเทิง ว่องไว  เรียนรู้และสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้ามัดหมี่ และ “ผ้ามัดหมี่แบบโบราณ” อย่าง “ผ้าสมปักปูม” และ “ผ้าโฮล”  เอกลักษณ์ท้องถิ่นอีสานใต้ ที่ผูกพันอยู่ในสายเลือดไม่ให้สูญหายไป  6.นางลัดดา ชูบัว เป็นผู้สืบทอดอนุรักษ์และรื้อฟื้น “ผ้าทอนาหมื่นศรี” หนึ่งในวัฒนธรรมที่ถือเป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาที่มีมากว่า 200 ปี ของอำเภอนาโยง จังหวัดตรังไม่ให้สูญหายมาจนถึงปัจจุบัน  7.นายณัฐกฤตกรณ์ ปินใจ  เป็นช่างรุ่นใหม่ที่มีฝีมือการสร้างสรรค์ผลงานจาก “แผ่นโลหะ” ที่มีคุณสมบัติคม และแข็งกระด้างให้ออกมาเป็นผลงานที่มีความประณีต อ่อนช้อยได้อย่างงดงาม  8.นายพิชิต นะงอลา มีทักษะ ความชำนาญในการตอกดุนลวดลายบนชิ้นงานที่มีความเล็กละเอียด  และมีความชำนาญในการสร้างสรรค์เป็นงานปติมากรรม   “สลักดุนลอยตัวขนาดใหญ่” ที่สามารถมองเห็นความงดงามได้รอบด้านในรูปแบบลอยตัว  

 

เชิดชูสุดยอดช่างฝีมือปี 2562 ... SACICT เทิดเหล่าครูศิลป์แผ่นดิน  ต้นแบบอนุรักษ์มรดกอารยธรรมไทย

 
ทั้งนี้ SACICT ได้ประกาศเชิดชูเกียรติ  พร้อมทั้งนำสุดยอดผลงานของทั้งครูศิลป์ของแผ่นดิน   ครูช่างศิลปหัตถกรรม และ ทายาทช่างศิลปหัตถกรรม มาจัดแสดงภายใน “1 ทศวรรณ อัตลักษณ์แห่งสยาม” จัดขึ้น 31 มกราคม - 3 กุมภาพันธ์ 2562  ที่ผ่านมา ณ ห้องเพลนารี1-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ 

 

 

โดยการจัดงานดังกล่าวถือว่ายิ่งใหญ่กว่าทุกๆ ครั้งของการจัดงานอัตลักษณ์แห่งสยาม  ด้วยการรวมผลงานศิลปหัตถกรรมสมบัติจากบุคคลระดับ “ครู” ไว้ในที่เดียวกันกว่า 180 คูหาที่นำมาจำหน่าย และเผยแพร่ถ่ายทอดองค์ความรู้ และที่สำคัญที่ถือว่ายิ่งใหญ่กว่าทุกครั้ง ก็คือ การเปิดเวทีจำหน่ายผลงานที่เป็น “ที่สุด” อันเป็นฝีมือ “ครูศิลป์ของแผ่นดิน” และ “ครูช่างศิลปหัตถกรรม”  ซึ่งไม่สามารถได้เห็นผลงานเหล่านี้ในคูหาจำหน่ายปกติ เพราะเป็นผลงาน “ชิ้นพิเศษ” ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นมาเฉพาะซึ่งมีเพียงชิ้นเดียวเพื่องานครั้งนี้เท่านั้น จึงอยากจะขอเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมส่งเสริม สนับสนุน และเป็นกำลังใจให้กับช่างผู้รังสรรค์งานหัตถศิลป์ไทย ผลิตชิ้นงานที่ทรงคุณค่า สวยงาม สะท้อนอัตลักษณ์ภูมิปัญญาของชาติไทย เพื่อเป็นมรดกส่งต่อรักษาไว้ให้ลูกหลานสืบไป” 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

"นาก" ไม่ใช่สัตว์เลี้ยง สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า ชี้เป็นสัตว์คุ้มครอง

ทุกชีวิตที่ท่านได้ช่วยไว้...หลวงพี่นำเงินบริจาคไถ่14ชีวิตโคแล้ว นำส่งหมู่บ้านอนุรักษ์

ลอยกระทง "ประเพณียี่เป็ง" ความสำคัญที่ต้องอนุรักษ์

เพื่อแม่ของแผ่นดิน!!กลุ่มอนุรักษ์ชายเลน“บ้านท่าบ่อโก”ร่วมปลูกป่าชายเลนพร้อมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำเนื่องใน“วันแม่แห่งชาติ”(ชมคลิป)

สอบถามเพิ่มเติมโทร. 1289   หรือสนใจติดตามได้ที่   www.sacict.or.th และ    http://www.facebook.com/sacict