ศูนย์อนุรักษ์ช้างมหาสารคาม พบลักษณะพิเศษ 7 ประการ "พลายเอกชัย" พร้อมน้อมถวายเป็นช้างเผือกคู่บารมี "ในหลวงร.10"

ศูนย์อนุรักษ์ช้างมหาสารคาม พบลักษณะพิเศษ 7 ประการ "พลายเอกชัย" พร้อมน้อมถวายเป็นช้างเผือกคู่บารมี "ในหลวงร.10"

นับเป็นเรื่องราวที่น่ายินดีอย่างยิ่ง หลังมีรายงานว่า พบช้างที่มีคุณลักษณะคชลักษณ์พิเศษตรงตามลักษณะช้างเผือก ซึ่งหลังจากนี้หากผลพิสูจน์อย่างละเอียดช้างเชือกดังกล่าว เข้าลักษณะตามตำราว่าเป็นช้างเผือก ก็จะเตรียมน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ ต่อไป 

 

โดยมีการเปิดเผยจากแหล่งท่องเที่ยวศูนย์อนุรักษ์ช้าง ตั้งอยู่ที่ ต.นาข่า อ.วาปีปทุม จ.มหาสารคาม ซึ่งทางด้านนายธนบดี พรหมสุข ประธานกรรมการ บริษัทช้างทองคำ ได้เปิดผู้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชน กรณีภายในศูนย์อนุรักษ์ช้างแห่งนี้ มีช้างอยู่กว่า 10 เชือก แต่มี 1 เชือกที่มีคชลักษณ์พิเศษแตกต่างจากช้างทั่วๆไป ตรงตามลักษณะช้างเผือก ซึ่งเป็นช้างมงคล

ทั้งนี้นายธนบดี พรหมสุข ประธานกรรมการบริษัทช้างทองคำเปิดเผยว่า ทางศูนย์อนุรักษ์ช้างมีช้างที่เลี้ยงไว้กว่า 10 เชือก แต่มีช้างเชือกหนึ่งชื่อพลายเอกชัย ช้างหนุ่มอายุ 33 ปี น้ำหนักตัวประมาณ3 ตันเศษ งายาวกว่า 100 ซ.ม. โคนงาเส้นรอบวง 28ซ.ม. เป็นช้างที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจากช้างเชือกอื่นๆ ที่เลี้ยงไว้ เมื่อเร็วๆ นี้ ตนจึงได้แจ้งให้ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และทางคณะจากสำนักพระราชวัง มาตรวจสอบพิสูจน์ลักษณะพิเศษของช้างเชือกนี้ ที่ศูนย์อนุรักษ์ช้างของบริษัทช้างทองคำ และผลการตรวจสอบทางคณะผู้ตรวจได้ลงความเห็นความพิเศษภายนอกในเบื้องต้นด้วยสายตา และสัมผัสช้างพลายเอกชัย ปรากฏว่ามีคุณลักษณะพิเศษหลายอย่างที่ตรงตามลักษณะช้างเผือกที่มีคชลักษณะ 7 ประการ


พบว่ามีเล็บขาว ตาขาว เพดานขาว ขนขาว พื้นหนังขาว หรือสีคล้ายหม้อใหม่ อัณฑโกศขาว ช้างสีประหลาด ซึ่งถือเป็นช้างสำคัญที่มีมงคล ส่วนการที่จะเข้าข่ายตระกูลช้างมงคลตระกูลใดนั้นจะต้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง ขณะนี้ศูนย์อนุรักษ์ กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการขั้นตอนของการขอพระราชทานน้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายช้างที่มีลักษณะคชลักษณ์พิเศษเชือกนี้ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ซึ่งได้ทำเป็นเอกสารยื่นต่อสำนักพระราชวังและหน่วยงานต่างๆ เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบตามระเบียบในขั้นตอนต่อไปแล้ว
 

เบื้องต้นได้รับแจ้งว่าให้ทางบริษัทช้างทองคำทำการดูแลเป็นพิเศษต่อช้างพลายเอกชัย ในช่วงที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการตามระเบียบของสำนักพระราชวัง ยังความปลาบปลื้มยินดีให้กับบริษัทช้างทองคำเป็นอย่างมาก ซึ่งในระหว่างนี้สิ่งที่เป็นกังวลคือการดูแลช้างพลายเอกชัยอย่างพิเศษ ตนมีความตั้งใจอย่างแรงกล้า และมีความหวังอันสูงสุดที่จะได้มีโอกาสถวายช้างพลายเอกชัยเชือกนี้ เพื่อเป็นช้างคู่บารมีสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร หากผลการตรวจสอบคุณลักษณะพิเศษ และตระกูลช้างมงคล ออกมาว่าเป็นช้างสำคัญ ตามคชลักษณะพิเศษของช้างเผือก และอยู่ในตระกูลช้างมงคล

 

ศูนย์อนุรักษ์ช้างมหาสารคาม พบลักษณะพิเศษ 7 ประการ \"พลายเอกชัย\" พร้อมน้อมถวายเป็นช้างเผือกคู่บารมี \"ในหลวงร.10\"

 

ศูนย์อนุรักษ์ช้างมหาสารคาม พบลักษณะพิเศษ 7 ประการ \"พลายเอกชัย\" พร้อมน้อมถวายเป็นช้างเผือกคู่บารมี \"ในหลวงร.10\"

 

สำหรับชั้นและชื่อช้างเผือก

ชั้นของช้างเผือกมี 3 ชั้น คือ ช้างเผือกเอก ช้างเผือกโท และช้างเผือกตรี การจะกำหนดว่า ช้างเผือกเชือกใด จะเป็นชั้นใดนั้น ตำราคชลักษณ์กำหนดไว้ว่า 

ช้างสีสังข์ 1 ช้างทองเนื้อริน 1สงเคราะห์เข้าในเกณฑ์ว่าเป็น เผือกเอก
ช้างสีบัวโรย 1 สงเคราะห์เข้าในเกณฑ์เป็น เผือกโท
ช้างสียอดตองตากแห้ง 1 สีแดงแก่ 1 สีแดงอ่อน 1 สีทองแดง 1 สีเมฆ 1(นิล) สีดำ 1 สงเคราะห์เข้าในเกณฑ์เป็น เผือกตรี

แต่การกำหนดว่า ช้างเผือกแต่ละเชือกจะเป็นชั้นใดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นผู้กำหนด ผู้เชี่ยวชาญการตรวจคชลักษณ์มีหน้าที่เพียงทำรายงานกราบบังคมทูลพระกรุณา เพื่อประกอบกับพระบรมราชวินิจฉัยเท่านั้น 

ส่วนชื่อของช้างเผือก หรือช้างสำคัญ ที่ปรากฏในพระราชพงศาวดาร ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ อาจแบ่งได้เป็น ๒ ประเภท คือ 

ประเภทที่ 1 

มีคำที่ความหมายว่า ช้างอยู่ด้วย เช่น คชา กุญชร หัตถี หสดิน คเชนทร์ เช่น พระบรมคชลักษณ์ พระเทพกุญชร พระบรมจักรพาลหัตถี พระบรมหัสดิน พระบรมวิไลเชนทร์ เป็นต้น 

ประเภทที่ 2

ตั้งชื่อตามลักษณะบางอย่างของช้าง เช่น ช้างพลายเล็บครบ มีชื่อว่า พระบรมนัขมณี ช้างพลายงาเดียว มีชื่อว่า พระบรมเมฆเอกทนต์ ช้างหลายเล็บดำ มีชื่อว่า พระพิไชยนิลนัข ช้างพลายสีนิล มีชื่อว่า พระสรีสกลกฤษณ์ เป็นต้น 

 

นอกจากนี้ชื่อช้างเผือกจะมีชื่อเป็น พระยา เจ้าพระยา เหมือนบรรดาศักดิ์ข้าราชการในสมัยก่อน เช่น พระวิสูตรรัตนกิริณี พระยาเศวตไอยรา เจ้าพระยาปราบไตรจักร เป็นต้น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัว ทรงกำหนดให้ใช้คำว่า พระเศวต นำหน้าชื่อ และลงท้ายด้วยคำว่า เลิศฟ้า

 

ศูนย์อนุรักษ์ช้างมหาสารคาม พบลักษณะพิเศษ 7 ประการ \"พลายเอกชัย\" พร้อมน้อมถวายเป็นช้างเผือกคู่บารมี \"ในหลวงร.10\"

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดคลิปวินาทีช้างบุกพังรั้วบ้านครูด้วยความหิวโหย ต้นไม้ต้นกล้วยล้มระเนระนาด ราบเรียบเป็นหน้ากลอง

สวนนงนุชสมรสบนหลังช้าง สร้างสีสันวันวาเลนไทน์

14กุมภา วาเลนไทน์ "ซัตเต" บนหลังช้าง แบบชาวกูย หนึ่งเดียวในโลก ที่สุรินทร์

ขอบคุณข้อมูล : สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ