- 20 ก.พ. 2562
รวบหนุ่มอ้างเป็นทหารยศพันตรี - ปลอมไลน์ "นายกฯลุงตู่" ตุ๋นลงทุนชอร์ทหุ้น สูญกว่า50ล้าน
พล.ต.ท.สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้บัญชาการสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง แถลงการจับกุมผู้ต้องหาร่วมกันฉ้อโกงประชาชน โดยหลอกให้ลงทุนชอร์ทหุ้นต่างประเทศ หลังศูนย์ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้รับการร้องเรียนกว่า 100 ราย ว่าถูกกลุ่มคนร้าย หลอกให้ร่วมลงทุนโครงการซื้อขายทำกำไรระยะสั้นของหุ้นต่างประเทศ (ชอร์ทหุ้น) มูลค่าเสียหาย 50 ล้านบาท เข้าข่ายกระทำความผิดตาม พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527
จากการสืบสวนทราบว่ากลุ่มคนร้าย คือ นายจิตรภณ นิศารัตน์ ,นายศรฉัตร กล่ำแสง และนายพีระยุทธ อาจอำนวย โดยนายศรฉัตร และนายพีระยุทธ อ้างตนว่าเป็นผู้ประสานงานโครงการและเป็นผู้ดูแลโปรแกรมการลงทุน ได้ประกาศชักชวนผู้เสียหายให้เข้ามาเป็นสมาชิกร่วมลงทุนกับกลุ่มเอนบี (NEW BLOOD) ที่บริหารงานโดยนายจิตรภณ เป็นการนำเสนอโครงการเพื่อนำเงินไปชอร์ทหุ้นต่างประเทศซึ่งอ้างว่าจะมีผู้บริหารระดับประเทศทั่วโลกจะไปดำเนินการซื้อขายหุ้นในช่วงตลาดหุ้นของวอร์สตรีทปิดทุกวัน โดยเสนอผลตอบแทนการลงทุนในอัตราร้อยละ 10 ต่อเดือน ตลอดชีวิตและสามารถตกทอดเป็นมรดกได้ และยังได้ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากการซอร์ทหุ้นอีกเดือนละ 1 ครั้ง โดยเป็นการลงทุนขั้นต่ำ 300,000 บาท
บุคคลทั้ง 2 ยังได้กล่าวอ้างกับผู้ลงทุนว่านายจิตรภณ เป็นนายทหารยศพันตรี เป็นลูกของรองประธานสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และมีบุคคลสำคัญของประเทศ รวมถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และพล.ต.ท.สุรเชษฐ์ ว่าจะมีการให้ข้อมูลความเคลื่อนไหวของหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ พร้อมทำปลอมไลน์ "นายกฯ ลุงตู่" เป็นหลักฐานว่ามีการพูดคุยทางไลน์กับนายกฯ จริง ทำให้เหยื่อตายใจเข้าร่วมลงทุน
หนุนหลังอยู่ ทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมทุนจำนวนมาก ต่อมาได้มีการจ่ายเงินปันผลที่เป็นดอกเบี้ยตอบแทนให้ผู้ลงทุนในระยะเริ่มแรกประมาณ 3-4 เดือนจริงแต่หลังจากนั้นกลุ่มผู้ต้องหาขอเลื่อนจ่ายเงินปันผลออกไปอีกเรื่อยๆ และปฎิเสธการจ่ายเงินแล้วหลบหนีไป
พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจได้รวบรวมพยานหลักฐาน ขออนุมัติหมายจับคนร้ายทั้งสามคนต่อศาลอาญา ในความผิดฐาน “ร่วมกันฉ้อโกงโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงให้ได้ไปซึ่งทรัพย์สินของผู้อื่น,ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนและโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง และร่วมกันกู้ยืมเงินอันเป็นการฉ้อโกงประชาชน”
ต่อมาวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562 เจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการศูนย์ป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ติดตามจับกุมตัว นายจิตรภณ ขณะหลบหนีไปซ่อนตัวอยู่ที่อพาร์ทเม้นย่านพระโขนง กรุงเทพมหานคร นำส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ส่วนผู้ต้องหาอีก 2 รายอยู่ระหว่างติดตามจับกุม
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :
บิ๊กโจ๊กเอาจริง!!ลุยกวาดล้างเอเย่นต์ปลอมตราประทับแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ