- 21 ก.พ. 2562
"โรคซึมเศร้า" ภัยเงียบใกล้ตัว ที่น่ากลัวกว่ามะเร็ง!! ขณะที่ โฆษกกรมสุขภาพจิต เผย สถิติการฆ่าตัวตายมีแนวโน้มลดลง (คลิป)
นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์และโฆษกกรมสุขภาพจิต เปิดเผยถึงโรคซึมเศร้า ว่า ปัจจุบันมีคนถึงโรคซึมเศร้ามากขึ้น หลังจากมีข่าวออกมาเป็นระยะๆ ว่า คนที่ฆ่าตัวตายมักจะเป็นโรคซึมเศร้าด้วย ซึ่งสาเหตุหลักๆ ของการเกิดโรคซึมเศร้า มักเกิดจากพันธุกรรม แต่ไม่ได้แสดงออกในช่วงวัยแรกเกิด ส่วนใหญ่จะเริ่มเกิดช่วงวัยรุ่น หรือผู้ใหญ่ตอนต้น และอาจจะเกิดได้จนถึงวัยผู้สูงอายุ
ส่วนถ้าเป็นแล้วจะสังเกตตัวเองหรือคนรอบข้างอย่างไร ว่าเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ นพ.อภิชาติ กล่าวว่า อารมณ์ซึมเศร้า คือ อารมณ์ปกติของมนุษย์ ซึ่งทุกคนเกิดขึ้นได้เมื่อมีเรื่องมากระทบ หรือกระตุ้นจิตใจ แต่ความรู้สึกเศร้าเหล่านั้นมักจะหายไปหลังเรื่องเหล่านั้นหายไป ก็จะกลับมามีอารมณ์ปกติ แต่โรคซึมเศร้าจะมีความแตกต่างจากความเศร้าปกติ เพราะโรคซึมเศร้าจะทำให้อารมณ์เศร้าจะเป็นอยู่นานมากก็ยังไม่หาย หรือบางครั้งไม่มีเรื่องกระตุ้นก็จะรู้สึกเศร้าโดยไม่มีสาเหตุ และควบคุมไม่ได้ จะไม่ใช่ความเศร้าแบบคนปกติ ซึ่งถ้าปล่อยไว้มากๆ อารมณ์เศร้าจะพัฒนาไปถึงขั้นว่าไม่อยากจะมีชีวิตอยู่ อยากจะฆ่าตัวตายในที่สุด เช่น ช่วงที่ผ่านมาที่มีข่าวการฆ่าตัวตาย ซึ่งหลายคนเป็นโรคซึมเศร้า
อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการฆ่าตัวตายในประเทศไทยสถิติล่าสุดปี 2560 จะมีประมาณ 6.02 คน จากจำนวนประชากร 100,000 คน ซึ่งน้อยกว่าเมื่อก่อนมาก โดยองค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญมาก เพราะเวลาเกิดการฆ่าตายครั้งหนึ่งจะส่งผลต่อเศรษฐกิจ สังคม จำนวนมาก ซึ่งจะให้ความสำคัญในการปัองกัน และลดการฆ่าตัวตาย ประเทศไทยจึงถือว่าอัตราการฆ่าตัวตายถือว่ามีแนวโน้มลดน้อยลง
จิตแพพทย์และโฆษกกรมสุขภาพจิต เปิดเผยอีกว่า หลายคนสงสัยว่า พฤติกรรมการฆ่าตัวตายจะเกิดเฉพาะคนที่เป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่ ต้องบอกว่าคนที่เป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้รักษา หรือรักษาแล้วทานยาไม่ครบ ขาดยา หยุดยาไปเอง อาจทำให้ตัวโรคกำเริบและนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ เพราะทำให้เกิดการฆ่าตัวตายส่วนหนึ่ง แต่ทั้งหมดอาจจะเจอคนปกติธรรมดาที่ไม่ได้เป็นคนที่มีปัญหาสุขภาพจิต หรือ โรคซึมเศร้ามาก่อน แต่อาจเจอเรื่องผิดหวัด ปัญหาชีวิตที่รับมือไม่ทัน และคุกคาม จนทำให้เกิดอารมณ์ชั่ววูบ จนถึงขั้นฆ่าตัวตาย หรือการใช้สารเสพติด หรือ ดื่มสุรา เพราะจะทำให้การยับยั้งชั่งใจลดลง การตัดสินใจ ซึ่งจะนำไปสูการฆ่าตัวตายได้
ส่วนพฤติกรรมหรือวิธีการฆ่าตัวตาย เป็นส่วนที่คนที่จะฆ่าตัวตายมักจะเลือกวิธีที่ใกล้ตัว เช่น โดดตึก กินยา แต่ถ้าเกิดไปเห็นในสื่อ ในออนไลน์ ในข่าว แล้วเกิดดูหลายๆ รอบ และลงรายเอียดเยอะเกินไป ซึ่งทำได้ง่ายและใกล้ตัว ก็อาจเกิดการทำตาม หรือ เป็นพฤติกรรมเลียนแบบ แต่ในปัจจุบัน สื่อและภาครัฐได้ตระหนักถึงปัญหา ซึ่งไม่ได้ลงรายละเอียดมาก แต่จะช่วยกันลงถึงวีธีการรักษาและป้องกัน
นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ กล่าวว่า ปัจจุบันโรคซึมเศร้ามีโอกาสรักษาให้หายขาดได้เลย แต่ต้องกินยาให้ครบ หลังจากนั้นต้องดูแลตัวเอง ไม่กินสารพวกคาแฟอีน หรือดี่มแอลกอฮอล ยาเสพติด ต้องพักผ่อนให้เพียงพอ เพราะสิ่งเหล่านี้จะทำใหตัวโรคกลับมาใหม่ได้
สำหรับการักษาโรคซึมเศร้า ปัจจุบันนี้ คือ การทานยาอย่างสม่ำเสมอเป็นการรักษาหลัก ร่วมกับการทำจิตบำบัด คือ การปรับเปลี่ยนวิธีการคิด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดความเสี่ยงที่จะเกิดกับปัญหาในอนาคต
ล่าสุด ที่เพจ 123 คนดีมีน้ำใจ นำเสนอข่าวการฆ่าตัวตาย จากสาเหตุมาจากโรคซึมเศร้า และหลายกรณีเลือกใช้วิธีรมควันฆ่าตัวตาย เช่น กรณีที่หนุ่มใหญ่เครียดจุดเตาถ่านรมควันจนเสียชีวิตภายในรถกระบะย่านเทิด บริเวณใต้ตอม่อจุดก่อสร้างทางรถไฟสายสีแดง ถนนประดิพัทธ์ เขตดุสิต กรุงเทพฯ
จากการสอบสวนญาติผู้เสียชีวิต พบว่าผู้เสียชีวิตมีโรคประจำตัว คือโรคหัวใจ เบื้องต้น คาดว่าผู้ตายอาจเกิดความเครียดเรื่องสุขภาพ ทำให้คิดสั้นก่อเหตุสลดดังกล่าว และคาดว่ามาจากโรคซึมเศร้า
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง - สาวเล่าข้อคิด พ่อแม่ 5 ประเภท ที่ผลักลูก ให้เผชิญโรคซึมเศร้าแต่เด็ก ปัญหาใหญ่ที่ไม่ควรมองข้าม
อีกกรณีหนึ่งนักศึกษาย่านประชาชื่นฆ่าตัวตาย ด้วยการรมควันภายในหอพัก โดยที่ สน.ทุ่งสองห้อง รับแจ้งเหตุพบผู้เสียชีวิต ภายในห้องพักสตรี หลัง ม.ดัง แห่งหนึ่ง เขต หลักสี่ ที่เกิดเหตุภายในห้องพักมีกลิ่นควันคุ้งอยู่ภายในห้องพัก พบศพผู้เสียชีวิตทราบชื่อ น.ส.พิชิตา คงทอง อายุ 25 ปี นักศึกษา ม.ดัง สภาพสวมชุดนักศึกษา ใกล้ตัวพบกระทะไฟฟ้า โดยภายในกระทะพบเศษขี้เถ้าอยู่ภายใน เบื้องต้น สาเหตุการเสียชีวิต เกิดจากการขาดอากาศหายใจ นางวีนัส หมื่นกระโทก แม่ของผู้เสียชีวิต แจ้งว่าผู้เสียชีวิตเป็นโรคซึมเศร้า และทราบว่า ก่อนหน้านี้ มีการทะเลาะแฟนจนมาฆ่าตัวตายดังกล่าว
ขณะที่ อีกกรณี ซึ่งมีพฤติกรรมซ้ำๆ คือ พ่อ "สอง พาราด็อกซ์" วัย 70 ปี จุดเตาถ่านรมควันตัวเองดับคารถเก๋ง ซึ่งการฆ่าตัวตายเกิดจากเป็นโรคซึมเศร้าเช่นกัน
ล่าสุด มีสาววัย 22 ปี โพสต์เฟซบุ๊กลาตาย ก่อนกระโดดสะพานแม่น้ำปิง โชคดีพลเมืองดีช่วยทัน พบเคยฆ่าตัวตายมาแล้ว 2 ครั้ง แต่เพื่อนช่วยทัน ซึ่งพบว่าเป็นปัญหาครอบครัว ป่วยโรคซึมเศร้า เป็นต้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
- https://www.tnews.co.th/contents/494339
- https://www.tnews.co.th/contents/477770
- https://www.tnews.co.th/contents/467764
กดติดตามเพจ 123 คนดีมีน้ำใจ เกาะติดสถานการณ์มานำเสนอ แบบไม่พลาด ครบทุกเหตุการณ์อย่างแน่นอน
โปรดติดตามข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจจาก Youtube channel ของ สำนักข่าวทีนิวส์ www.tnews.co.th
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- "ดี้ นิติพงษ์" โพสต์แสดงความเสียใจ กรณีคู่หมั้น "ซูซี่" จบชีวิตตัวเองจากภาวะป่วยโรคซึมเศร้า โรคนี้นับวันยิ่งขยายกว้าง คนใกล้ชิดควรดูแล?
- หนุ่มใหญ่ทำคาร์แคร์ แขวนคอลาโลกในสำนักป่า หลังภรรยาดับ โรคซึมเศร้ารุมเร้า