ป.ป.ส. แจงผู้มีสิทธิ์ขออนุญาตและอนุญาตให้ผลิต นำเข้าและส่งออก “กัญชา”

ป.ป.ส. แจงผู้มีสิทธิ์ขออนุญาตและอนุญาตให้ผลิต นำเข้าและส่งออก “กัญชา”

รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) กัญชายังคงเป็นยาเสพติดผิดกฎหมาย ซึ่งได้ผ่อนปรนให้สามารถใช้เพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์และการศึกษาวิจัยได้เท่านั้น นายนิยม เติมศรีสุข เลขาธิการ ป.ป.ส. “กล่าวว่า การขออนุญาต และการอนุญาตเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยผู้ขออนุญาตที่หน่วยงานของรัฐ ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ และผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศ กรณีบุคคลธรรมดา ต้องมีสัญชาติไทยและอยู่ในประเทศไทย ส่วนกรณีนิติบุคคล ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายไทยและกรรมการ 2 ใน 3 ต้องมีสัญชาติไทย รวมทั้งต้องมีสำนักงานที่ตั้งในประเทศไทยด้วย ขอเน้นย้ำว่า ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ไม่ว่าจะเป็น กัญชา หรือพืชกระท่อม ยังคงเป็นยาเสพติดให้โทษ ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 การผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย ครอบครอง หรือเสพ โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นความผิดและมีโทษตามกฎหมาย ทั้งโทษจำคุกหรือโทษปรับ 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเตือนสายเขียว ปลดล็อดกัญชา แต่อย่าหลงปลูกหลังบ้าน

การผ่อนปรนเพื่อใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ กฎหมายได้กำหนดให้มีมาตรการในการกำกับดูแลทั้งการผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายและครอบครองหรือเสพเพื่อการบำบัดรักษาอาการเจ็บป่วย ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข จึงฝากถึงผู้ป่วยอย่างหลงเชื่อว่าสามารถปลูกกัญชาเพื่อใช้รักษาโรคที่บ้านเองได้ หากต้องการใช้กัญชาเพื่อการบำบัดรักษาโรคให้ไปพบแพทย์เพื่อประเมินอาการและวินิจฉัยหรือสั่งใช้กัญชาหรือสารสกัดเพื่อการบำบัดรักษาโรค ซึ่งจะได้กัญชาหรือสารสกัดที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัยภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์ และใช้ได้โดยไม่เป็นความผิดตามกฎหมาย”

ป.ป.ส. แจงผู้มีสิทธิ์ขออนุญาตและอนุญาตให้ผลิต นำเข้าและส่งออก “กัญชา”

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : องค์การเภสัชกรรม เร่งปลูก “กัญชา” ให้ทัน ม.ค. 62 ยันใช้เพื่อการแพทย์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : สนช.ลงมติเอกฉันท์ปลดล็อก "กัญชา-กระท่อม" เพื่อการแพทย์ ให้ป.ป.ส.จัดโซนนิ่งเพาะปลูก

 

ผู้ที่จะสามารถขออนุญาตผลิต นำเข้า และส่งออก กัญชาได้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

(1) หน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ศึกษาวิจัย หรือจัดการเรียนการสอนทางการแพทย์ เภสัชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือเกษตรศาสตร์ หรือให้บริการทางเกษตรกรรม เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ หรือเภสัชกรรม 
(2) ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม เภสัชกรรม ทันตกรรม และสัตวแพทย์ หรือแพทย์แผนไทย แพทย์แผนไทยประยุกต์หรือหมอพื้นบ้านตามหลักเกณฑ์ที่ รมว.สธ. กำหนด 
(3) สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ที่มีการศึกษาวิจัยและจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับการแพทย์หรือเภสัชศาสตร์
(4) เกษตรที่รวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม หรือสหกรณ์การเกษตร ซึ่งจดทะเบียนตามกฎหมาย และดำเนินการภายใต้ความร่วมมือและกำกับดูแลของผู้ขออนุญาตที่เป็นหน่วยงานรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 
(5) ผู้ประกอบการขนส่งสาธารณะระหว่างประเทศ
(6) ผู้ป่วยเดินทางระหว่างประเทศที่มีความจำเป็นต้องนำติดตัวเข้ามาใน หรือออกไปนอกราชอาณาจักร เพื่อใช้รักษาโรคเฉพาะตัว
(7) ผู้ขออนุญาตอื่นๆ ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

(cr.สำนักงานคณะกรมมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด)

ติดตามข่าวอื่นๆ ได้ทาง ยูทูป ชาแนล งสำนักข่าวทีนิวส์ WWW.tnews.co.th