- 01 มี.ค. 2562
โวยรพ. ลูกจ้ากทม.ถูกงูเห่าฉก พาส่งตัวรักษาแต่ไม่รอด!
เจ้าของเฟซบุ๊ก Snake Wrangler by Pinyo โพสต์ตั้งคำถามถึงทางโรงพยาบาลแห่งหนึ่งหลังมีผู้ป่วยถูกงูเห่าฉก ทว่าแม้จะรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลแต่สุดท้ายคนป่วยเสียชีวิต จึงอยากทราบว่าทางโรงพยาบาลมีความพร้อมที่จะรับรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินเช่นนี้จริงๆหรือไม่
"ถ้าคุณถูกงูพิษกัด คุณจะไปโรงพยาบาลไหนดี .. ถึงจะไม่ตาย"
ฟังดูแปลกๆๆใช่ไหมคับ แต่เรื่องที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องจริงมันไม่แปลก เพราะเหตุการณ์เกิดขึ้นประมาณตอนเที่ยงกว่า ได้มีเจ้าหน้าที่เขตสะพานสูงของกทม. ทำงานลงพื้นที่ เห็นชาวบ้านนำงูเห่าที่แทงโดยฉมวกเข้ามาถามว่า "จะให้ .. เอาไหม" ได้คำตอบจากน้องคนหนึ่งว่า "ผมเอาครับ" และก็ทำการปลดงูออกจากฉมวก แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ทันใดนั้นงูได้แว้งบิดคอเข้ากัดที่โคนนิ้วซ้ายหนึ่งเขี้ยว และพยายามใช้ปากดูดพิษ
บริเวณรอยเขี้ยวพร้อมกับใช้ผ้ารัดเหนือบาดแผลและเอางูเห่านำมาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งแถวถนนพัฒนาการ ซึ่งใกล้กับที่เกิดเหตุ โดยใช้เวลาเพียงแค่ 15 นาทีเท่านั้น และระหว่างนำส่งน้องยังพูดจาได้ปกติ ไม่มีอาการน่าเป็นห่วงใดใด ซึ่งพวกเราก็คิดว่าถึงมือหมอแล้วน่าปลอดภัย และให้นอนรอสังเกตการณ์ จนอาการเริ่มแย่ลงมา รู้สึกหายใจไม่ออกจึงได้ย้ายเข้าห้อง ICU
แต่ .. สุดท้ายไม่สามารถยื้อชีวิตน้องได้ ขอแสดงความเสียใจกับน้องและทางครอบครับด้วยนะคับ จึงเกิดเป็นคำถามในใจว่า โรงพยาบาลมีเซรุ่มไหม? และหมอมีความรู้ความชำนาญการรักษาเกี่ยวกับการถูกงูพิษกัดไหม? เพราะทุกวันนี้มีกี่โรงพยาบาลที่พร้อมจะรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแบบนี้กับสิ่งที่ไม่น่าจะให้เกิดความสูญเสีย และที่สำคัญมันดันเกิดขึ้นในพื้นที่กทม.คับ
คำตอบจากชาวเน็ตที่เป็นแพทย์คือ ขออนุญาตตอบในฐานะแพทย์นะครับ ปกติการฉีดเซรุ่มแก้พิษงูนั้นจะให้ในกรณีที่มีอาการแสดงทั่วร่างกาย(ไม่ได้แสดงเฉพาะบริเวณที่โดนกัด) เพราะเซรุ่มที่ได้นั้นมีโอกาสแพ้สูง และก่อนให้ควรทดสอบอาการแพ้ก่อนครับ
ซึ่งในการให้เซรุ่มก็ไม่ได้ยืนยัน100%ว่าจะสามารถช่วยผู้ป่วยได้ทั้งหมด แต่เพิ่มโอกาสจะลดความรุนแรงของพิษได้ครับ
ส่วนการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ห้ามดูด กรีด นาบไฟบริเวณแผลที่ถูกกัด เพราะนอกจากจะไม่ได้ช่วยขับพิษแล้วยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อ และการบาดเจ็บอวัยวะนั้น ๆ ได้ครับ
แต่ให้ช่วยด้วยการพันบริเวณที่ถูกกัดให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุดเหมือนการดามกระดูก เพื่อลดการไหลเวียนเลือด(พร้อมทั้งบอกให้ผู้ป่วยอย่าตื่นตกใจ) การมัดเหนือแผลไม่ได้ช่วยให้พิษลามช้าลง แต่กลับทำให้บริเวณที่ถูกกัดมีอาการเฉพาะที่จากพิษมากขึ้น(โดยเฉพาะพิษงูที่มีการทำลายเนื้อเยื่อ)
อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยรายนี้ผมไม่ทราบประวัติการรักษาใด ๆ จึงไม่ขอเอ่ยถึงครับ สุดท้ายขอแสดงความเสียใจแก่ญาติและครอบครัวผู้เสียชีวิตด้วยครับ
เพจดังอย่าง Drama-addict ก็ได้พูดถึงกรณีที่เกิดขึ้นนี้ว่า ขอแสดงความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิตด้วย กรณีนี้อ่านๆดูแล้วเข้าใจว่าเป็นงูชนิดที่มีพิษต่อระบบประสาท เช่น งูเห่า งูจงอาง งูพวกนี้น่ากลัวตรงที่ พอกัดแล้วมันจะส่งผลต่อระบบประสาท ทำให้ร่างกายอ่อนแรง แล้วส่วนสำคัญคือกล้ามเนื้อที่คุมการหายใจ ถ้ากล้ามเนื้อส่วนนี้อ่อนแรงก็จะหายใจไม่ได้แล้วขาดออกซีเจนจนเสียชีวิตได้
ปรกติเวลาถูกงูกัด เราจะไม่ให้เซรุ่มทันที แม้จะถูกงูพิษกัด เพราะตัวเซรุ่มมันทำจากเลือดของม้า โอกาสแพ้สูง ดังนั้นจะรอสังเกตอาการ ถ้ามีอาการว่าโดนพิษเมื่อไหร่ก็จะเริ่มให้เซรุ่มตอนนั้น ในกรณีงูเห่ากัดนี่ หลักๆคือใส่ท่อช่วยหายใจ ดูแลการหายใจ แล้วให้เซรุ่ม ดูแลการหายใจ จนอาการอ่อนแรงเริ่มดีขึ้น ขั้นตอนการรักษาเวลาคนถูกงูกัดก็ประมาณนี้ครับ
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- สาวผวายืนมอง "งูจงอางตัวใหญ่" เลื้อยเข้าบ้าน ชูคอแผ่แม่เบี้ย ตัวยาวถึง 3.8 เมตร
- กระหน่ำซื้อเลขที่บ้าน "งูเหลือมยักษ์" เลื้อยบุกห้องนอน ฉกขาสาวใหญ่
- หนุ่มเดินเข้าห้อง เอะใจเห็นอะไรผ่านตา พอยกที่นอนขึ้น เจอ "งูเห่า" ยาวกว่า 2 เมตร
ขอบคุณ Snake Wrangler by Pinyo และ Drama-addict