ภัยแล้งปีนี้มาเร็ว กว่า 10 เขื่อนน้ำลดฮวบ เหลือกักเก็บไม่ถึงครึ่ง

ภัยแล้งปีนี้มาเร็ว กว่า 10 เขื่อนน้ำลดฮวบ เหลือกักเก็บไม่ถึงครึ่ง ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบในวงกว้างในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ 

จากกรณีที่พล.อ.พรพิพัฒน์ เบญญศรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้สั่งการเร่งด่วนให้หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา บก.ทท. ดำเนินการตามนโยบายของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนรม.และรมว.กห. ในการติดตาม เฝ้าระวังและเตรียมรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง และปัญหาไฟป่า ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะได้รับผลกระทบในวงกว้างในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ 
 

ทั้งนี้ผบ.ทหารสูงสุดได้สั่งการให้สำนักงานพัฒนาภาค 1-5 นทพ. ติดตามและประเมินสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งนำน้ำสะอาดออกแจกจ่ายให้กับประชาชน เพื่อให้มีน้ำกิน น้ำใช้ รวมทั้งวางแผนการขุดลอกคูคลองที่มีความตื้นเขิน ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ให้สามารถเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำในพื้นที่ต่าง ๆ ได้เพิ่มมากขึ้นเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนในห้วงฤดูแล้ง

 

โดยให้บูรณาการความร่วมมือกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในทุกจังหวัดเพื่อร่วมประเมินสถานการณ์น้ำในพื้นที่เสี่ยง และเตรียมแผนการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในระยะยาวต่อไปนั้น 

 

ภัยแล้งปีนี้มาเร็ว กว่า 10 เขื่อนน้ำลดฮวบ เหลือกักเก็บไม่ถึงครึ่ง

 


ล่าสุดทางด้านนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้เปิดเผยถึงผล จากการหารือร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) พบว่าขณะนี้มีสาขาที่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำดิบในช่วงฤดูแล้งปี 2561/62 และการแก้ไขปัญหาและเฝ้าระวัง จำนวน 9 สาขา ได้แก่

 

1. สุวรรณภูมิ (เกษตรวิสัย) จ.ร้อยเอ็ด 

2. พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม 

3. แม่ขะจาน (วังเหนือ) จ.เชียงราย 

4. ฝาง (แม่อาย) จ.เชียงใหม่ 

5. หนองบัวลำภู (นากลาง, ศรีบุญเรือง) จ.หนองบัวลำภู 

6. พิมาย (เมืองคง) จ.นครราชสีมา 

7. บุรีรัมย์ 

8. เกาะพะงัน กำลังประเมินอาจต้องใช้น้ำสำรองและทำน้ำจืด 

9. ลาดยาว จ.นครสวรรค์
 

ภัยแล้งปีนี้มาเร็ว กว่า 10 เขื่อนน้ำลดฮวบ เหลือกักเก็บไม่ถึงครึ่ง

ปัจจุบันสาขาต่างยังสามารถส่งน้ำได้ตามปกติ ยกเว้นสาขาสุวรรณภูมิ (จ.ร้อยเอ็ด) เริ่มมีการขาดแคลนน้ำแล้ว แต่ได้มีมาตราการในการแก้ไขปัญหาโดย การสูบทยอยน้ำจากลำห้วยเตาที่อยู่ใกล้เคียงมายังจุดสูบน้ำดิบลำน้ำเสียวใหญ่ ซึ่งมีระดับน้ำ 0.8 เมตร และจ่ายน้ำเป็นช่วงเวลา (ช่วงเช้า ตั้งแต่เวลา 05.00-10.00 น. และ ช่วงเย็นตั้งแต่เวลา 17.00-22.00 น

 

ภัยแล้งปีนี้มาเร็ว กว่า 10 เขื่อนน้ำลดฮวบ เหลือกักเก็บไม่ถึงครึ่ง

 

สำหรับเขื่อนที่วิกฤตมีน้ำน้อยกว่า 30% มีจำนวนมาก แต่ในเขื่อนขนาดกลางมี 13 เขื่อน ที่ไม่เหลือน้ำใช้แล้ว โดยเฉพาะในภาคอีสาน ได้แก่ 


1. อ่างเก็บน้ำห้วยทรายสว่าง จ.สกลนคร มีความจุ 1.1 ล้านลบ.ม. เหลือน้ำ 0.1 ล้านลบ.ม. หรือ 7.1% ของความจุอ่าง 


2. อ่างเก็บน้ำห้วยหินแตก จ.สกลนคร มีความจุ 1.5 ล้านลบ.ม. เหลือน้ำในอ่าง 0.2 ล้านลบ.ม. หรือ 10.0% ของความจุอ่าง 

 

3. อ่างเก็บน้ำห้วยนาบ่อ จ.สกลนคร ความจุกอ่าง 2.2 ล้านลบ.ม. ขณะนี้ไม่มีน้ำเหลือในอ่างแล้ว

 

4. อ่างเก็บน้ำน้ำซับคำโรงสี จ.สกลนคร มีความจุอ่าง 2.0 ล้านลบ.ม. มีน้ำเหลือ 0.5 ล้านลบ.ม. หรือ 24.3% 

 

5. อ่างเก็บน้ำหนองสำโรง จ.อุดรธานี มีความจุอ่าง 4.3 ล้านลบ.ม. เหลือน้ำ 0.3 ล้านลบ.ม. หรือ 6.1% 

 

6. อ่างเก็บน้ำห้วยจานใต้ จ.ร้อยเอ็ด มีตวามจุอ่าง 5.8 ล้านลบ.ม. เหลือน้ำในอ่าง 0.2 ล้านลบ.ม. หรือ 3.1% ของความจุอ่าง 

 

7. อ่างเก็บน้ำหนองผือ จ.ร้อยเอ็ด มีความจุดอ่าง 4.2 ล้านลบ.ม. เหลือน้ำในอ่าง 0.8 ล้านลบ.ม. หรือ 19.1% ของความจุดอ่าง 

 

8. อ่างเก็บน้ำห้วยสวาย จ.บุรีรัมย์ มีความจุ 13.6 ล้านลบ.ม. เหลือน้ำในอ่าง 0.7 ล้านลบ.ม. หรือ 5.5% ของความจุ

 

9. อ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก จ.บุรีรัมย์ ความจุอ่าง 26.0 ล้านลบ.ม. เหลือน้ำในเขื่อน 1.3 ล้านลบ.ม. หรือ 5.0% ของความจุดอ่าง 

 

10. อ่างเก็บน้ำห้วยใหญ่ จ.บุรีรัมย์ มีความจุอ่าง 1.3 ล้านลบ.ม. เหลือน้ำในอ่าง 0.1 ล้านลบ.ม. หรือ 7.6% ของความจุดอ่าง 

 


11. อ่างเก็บน้ำห้วยตะคร้อ จ.นครราชสีมา ความจุดอ่าง 9.5 ล้านลบ.ม. เหลือน้ำ 0.1 ล้านลบ.ม. หรือ 1.1% ของความจุ 

 

12. เขื่อนในภาคตะวันออก มีอีก 1 เขื่อนที่ไม่มีน้ำใช้แล้ว

 

13. อ่างเก็บน้ำคลองบอน จ. จันทบุรี ความจุ 2.5 ล้านลบ.ม. ขณะนี้เหลือน้ำเพียง 1.2% ของความจุอ่าง

 

ทั้งนี้สถานการณ์น้ำในอ่างทั้งหมดทั่วประเทศมีจำนวน 412 อ่าง มีจำนวน 89 อ่างที่มีน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งเตรียมการรับมือวิกฤตภัยแล้งและความเสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่อช่วยเหลือประชาชนในช่วงฤดูกรณีมีการปรับแผนการจัดสรรน้ำ ขอให้แจ้งสทนช. ล่วงหน้า พร้อมประเมินปริมาณน้ำต้นทุนช่วงต้นฤดูฝน ปี 2562 ใหม่ ให้สอดคล้องกับการปรับแผน

 

ภัยแล้งปีนี้มาเร็ว กว่า 10 เขื่อนน้ำลดฮวบ เหลือกักเก็บไม่ถึงครึ่ง

 

โดยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตรวจสอบและเตรียมมาตรการรองรับพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำตามที่ สทนช. บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องวิเคราะห์ชี้เป้าพร้อมทั้งได้จัดทำข้อมูลแหล่งน้ำต้นทุนที่อยู่ในรัศมี 50 กิโลเมตร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวางแผนรับมือและแก้ไขปัญหา

 

ภัยแล้งปีนี้มาเร็ว กว่า 10 เขื่อนน้ำลดฮวบ เหลือกักเก็บไม่ถึงครึ่ง

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ผวจ.ขอนแก่นรับมือภัยแล้ง เตรียมส่งจากอ่างเก็บน้ำขนาดกลางช่วยพื้นที่ขาดแคลน
-ไม่ทอดทิ้ง กัน อำเภอตาพระยา ฝนหลวงบินสำรวจพื้นที่ตาพระยาเตรียมช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้ง
-"บิ๊กฉัตร" คุมเข้ม วางแผนการใช้น้ำ มองปีหน้า ไร้พื้นที่ภัยแล้ง