- 13 เม.ย. 2562
"แชด เอลวาร์ทอฟสกี" (Chad Elwartowski) ชายชาวเฟรนช์โปลินีเซีย และ "นาเดีย" (Nadia Summergirl) ภรรยาสาวชาวไทย
สืบเนื่องจากกรณี "แชด เอลวาร์ทอฟสกี" (Chad Elwartowski) ชายชาวเฟรนช์โปลินีเซีย และ "นาเดีย" (Nadia Summergirl) ภรรยาสาวชาวไทย ได้สร้างบ้านลอยน้ำ (Seasteading) เป็นเขตปกครองตัวเองเหนือน่านน้ำสากล ตั้งอยู่ในทะเลนอกชายฝั่ง จ.ภูเก็ต โดยออกแบบมาให้ผู้อยู่อาศัยสามารถพักพิงได้อย่างอิสระไม่ขึ้นกับกฎหมายและดินแดนของประเทศใด
ทั้งนี้ บ้านลอยน้ำหลังดังกล่าวเป็นบ้าน 2 ชั้น ทรงแปดเหลี่ยม ขนาด 6 ตารางเมตร สร้างโดยบริษัทก่อสร้างที่มีแนวคิดช่วยเหลือให้ผู้คนย้ายออกไปใช้ชีวิตในทะเล ใช้เงินสร้างประมาณ 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4.77 ล้านบาท เงินที่ใช้สร้างบ้านมาจากการลงทุนบิตคอยน์ (Bitcoint) ของทั้งคู่
โดย 2 สามีภรรยาเข้าไปอยู่ในบ้านลอยน้ำตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งการสร้างบ้านหลังนี้ไม่ได้ทำเรื่องขออนุญาตจากรัฐบาลไทย เพราะอ้างว่าไม่ได้ทำอะไรที่ต้องห้าม แต่ถ้าหากรัฐบาลไทยมีความกังวลก็ยินดีจะทำตามกฎหมาย แต่ต้องเป็นกฎหมายสากล
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ล่าสุด ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เขต 3 (ศร.ชล เขต 3) แถลงข่าว ณ กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ 3 อ.เมือง จ.ภูเก็ต ว่า ภายหลังจากที่เว็บไซต์ของโอเรียนบิลเดอร์ ได้รายงานความสำเร็จของ นายแชด และ นางสาวนาเดีย ในการสร้างที่พักตามแนวทางของกลุ่ม Seasteading ในทะเลใกล้กับ จ.ภูเก็ต ทางศร.ชล.เขต 3 ได้ดำเนินการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแล้ว
เมื่อวันที่ 12 เม.ย. ทัพเรือภาคที่ 3 ได้ส่งอากาศยานขึ้นบินสำรวจในทะเลบริเวณตามที่มีการโฆษณาในเว็บไซต์ดังกล่าว ซึ่งทาง กปก.ทรภ.3 ได้รายงานตรวจพบสิ่งปลูกสร้างในทะเลจริงตามที่มีการลงโฆษณาในเว็บไซต์ดังกล่าว ไม่ปรากฏสัญชาติ ตั้งอยู่ห่างจากเกาะราชาใหญ่ 12 ไมล์ทะเล
ในวันที่ 13 เม.ย. ทัพเรือภาคที่ 3 ได้จัดเรือ ต.991 พร้อมชุดสหวิชาชีพ และฝ่ายกฎหมาย ศรชล. เข้าดำเนินการตรวจสอบ พบสิ่งก่อสร้างในทะเลเป็นที่พักอาศัยลอยน้ำ ซึ่งบุคคลทั้ง 2 ได้โฆษณาชักชวนให้ผู้ที่ชื่นชอบในแนวคิดนี้ มาอาศัยอยู่เพื่อจัดตั้งชุมชน โดยมีเป้าหมายที่จะสถาปนาเป็นรัฐอิสระหรือเขตปกครองตนเองขึ้นในอนาคตในบริเวณอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทย
โดยเมื่อ เรือ ต.991 ได้เดินทางไปถึงที่ตั้งดังกล่าว และได้พยายามติดต่อทางวิทยุมารีนแบน ช่อง 16 กับสิ่งปลูกสร้างของกลุ่ม Seasteading ปรากฏว่าไม่มีการตอบรับแต่อย่างใด เรือ ต.991 จึงได้ทำการตรวจสอบพบว่า สิ่งปลูกสร้างดังกล่าวเป็นสิ่งปลูกสร้างลอยน้ำไม่ปรากฏสัญชาติและไม่มีผู้อยู่อาศัย และในระหว่างทำการตรวจสอบอยู่นั้น เรือ ต.991 ได้แจ้งเตือนเรือสินค้าจำนวน 3 ลำ ให้ระมัดระวังในการเดินเรือในเส้นทางดังกล่าวเพราะสิ่งก่อสร้างได้ปลูกสร้างในเส้นทางการเดินเรือปกติ
จากการตรวจการด้วยสายตาพบว่า อาคารมีลักษณะเอียงไปทางด้านข้าง จึงได้ส่งชุดตรวจเยี่ยมเข้าทำการตรวจสอบ พบสิ่งก่อสร้างดังกล่าวมีขนาด 3 เมตร คูณ 3 เมตร ภายในสิ่งปลูกสร้างมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีพ ในนระหว่างนั้นฝ่ายข่าว ทรภ.3 ได้ยืนยันแนวความคิดของกลุ่มดังกล่าว ซึ่งจะทำให้เอกราชของประเทศไทยเสื่อมเสีย เนื่องจากพื้นที่ทางอาณาเขตประเทศไทยบางส่วนจะถูกรบกวนสิทธิจากกลุ่มคนดังกล่าว อันเป็นความผิดตามกฎหมายประมวลอาญามาตรา 119 และการสร้างสิ่งปลูกสร้างเป็นการละเมิดสิทธิอธิปไตยของประเทศไทยที่มีเหนือเขตต่อเนื่องตามข้อ 56B และข้อ 60 วรรค 7 และวรรค 8 ของอนุสัญญากฎหมายทะเล คศ. 1982
โดยทางทัพเรือภาคที่ 3 จะดำเนินการตามกฎหมายกับผู้ที่ก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว โดยจะมีการแจ้งความดำเนินการคดีกับผู้ก่อสร้าง ที่ สภ.วิชิต และจะทำการลากสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวออกจากทางเดินเรือ โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ให้ทางเจ้าท่าภูมิภาค สาขาภูเก็ต ดำเนินการในขั้นตอนรายละเอียดทางการปกครอง ในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกจากทะเล ซึ่งจะดำเนินการได้ในเร็ว ๆ นี้ เพราะหากปล่อยไว้อาจจะส่งผลกระทบต่อการเดินเรือ และการดำเนินการดังกล่าวไม่ได้มีการขออนุญาตดำเนินการแต่อย่างใด
ทั้งนี้ Seasteading หมายถึง การตั้งถิ่นฐานแบบถาวรในทะเล ที่อยู่นอกเขตอานาจรัฐของประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยหวังว่าในอนาคตจะสามารถก่อตัวเป็นเมืองที่มีอานาจอธิปไตย และปกครองตนเอง โดยยึดหลักอิสรภาพของประชาชน แนวความคิดนี้ก่อตัวขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๑๐ และเป็นจริงเป็นจังขึ้นหลังจาก นาย Wayne Gramlich และนาย Patri Friedman ก่อตั้ง The Seasteading Institute (TSI) ขึ้นเมื่อ 15 เม.ย.2551 ที่สหรัฐฯ ในลักษณะองค์กรไม่หวังผลกาไร ทำหน้าที่เผยแพร่แนวคิด วิธีการ และประสานงานระหว่างผู้มีแนวคิดเดียวกันในการจัดตั้ง Seasteading ในเขตน่านน้าสากล โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายทะเลของ United Nations Convention on the Law of the Sea (UNCLOS) ที่ว่าด้วยน่านน้ำสากลที่ผ่านมา
การดำเนินการจัดสร้างที่พักในทะเลตามแนวคิดดังกล่าวยังไม่ประสบความสาเร็จแม้แต่แห่งเดียว โครงการที่ใกล้ความเป็นจริงมากที่สุดคือ การจัดทา MoU กับประเทศ French Polynesia เมื่อ ก.ย.2559 ในการจัดตั้งเขตกึ่งปกครองตนเอง (Semi Autonomous) แต่ไม่มีความคืบหน้า จึงนับว่าการจัดสร้างที่พักในทะเลใกล้เกาะภูเก็ตของนาย Elwartowski และนางสาว Supranee เป็นความสาเร็จแรกของแนวคิดดังกล่าว
ปัจจุบัน แนวความคิดเกี่ยวกับ Seasteading แพร่หลายอยู่ในกลุ่มผู้ค้าและเก็งกาไร cryptocurrencyที่พักของบุคคลทั้งสองเป็นแบบ Spar design ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่แบบที่วิศวกรของ TSI ออกแบบไว้ให้บริการแก่สมาชิก มีลักษณะเป็นที่พักขนาดเล็ก 2 ชั้น ชั้นล่างอยู่อาศัย ชั้นบนติดตั้งเซลแสงอาทิตย์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ตั้งอยู่บนเสาเหล็ก 1 เสา ที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร ยาว 20 เมตร ทนทานต่อกระแสคลื่นลมในทะเล และสามารถอยู่เหนือคลื่นสูง 5 เมตร ใช้ค่าก่อสร้างจานวน 150,000 ดอลลาร์สหรัฐ
อ่าานข่าวที่เกี่ยวข้อง
- อากาศร้อนจัด ทำให้น้ำทะเลร้อนส่งผลกระทบต่อสัตว์ในทะเล และชาวประมงพื้นบ้าน ทำให้อาหารทะเลมีราคาแพง
- ตูบบุญรอด เกาะแท่นขุดเจาะก๊าซ ลอยคอกลางทะเลอ่าวไทย
- เปิดคลิปดูกันชัดๆ วินาทีผู้ประกอบการนทท.บนเกาะหลีเป๊ะ ถ่ายภาพพายุงวงช้างได้กลางทะเล
ขอบคุณ : seasteading