- 03 พ.ค. 2562
วันที่ 3 ก.พ. ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา กรณีเรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3-6 พฤษภาคม 2562)" ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 03 พฤษภาคม 2562 ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่รวมถึงฟ้าผ่าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ
วันที่ 3 ก.พ. ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา กรณีเรื่อง "พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 3-6 พฤษภาคม 2562)" ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 03 พฤษภาคม 2562 ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง กับมีลูกเห็บตกบางพื้นที่รวมถึงฟ้าผ่าบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมถึงระวังอันตรายจากฟ้าผ่า สำหรับเกษตรกรควรเตรียม การป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วยโดยมีผลกระทบตามภาคต่าง ๆ มีดังนี้
ในช่วงวันที่ 3-4 พฤษภาคม 2562
ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ในช่วงวันที่ 5-6 พฤษภาคม 2562
ภาคเหนือ: จังหวัดตาก สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศเวียดนาม ลาวและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลาง ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น
ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมถึงประเทศเวียดนาม ประเทศลาวและทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น สำหรับลมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง
อนึ่งสำหรับพายุไซโคลน “ฟานิ” (FANI) บริเวณชายฝั่งของประเทศอินเดียตอนบน พายุนี้กำลังเคลื่อนที่ทางทิศเหนือค่อนทางทิศตะวันออกเล็กน้อย คาดว่าพายุนี้จะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศอินเดียตอนบนและบังคลาเทศในช่วงวันที่ 3-4 พ.ค. 62 โดยพายุนี้จะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศไทย สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวขอให้ตรวจสอบสภาพอากาศก่อนเดินทางด้วย
พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทยตั้งแต่เวลา 06.00 น.ของวันนี้ ถึงเวลา 06.00 น.วันของวันที่ 4 พ.ค.นี้
ภาคเหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน แพร่ สุโขทัย อุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 39-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตก ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ กับมีลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคกลาง อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 38-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
ภาคตะวันออก อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) มีเมฆเป็นส่วนมาก โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) มีเมฆเป็นส่วนมาก โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ และตรัง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียสลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-กรมอุตุฯประกาศฉบับที่ 16 จังหวัดเจอพายุฤดูร้อน วันนี้วันสุดท้าย
-กรมอุตุฯฉบับ 9 รายชื่อ 50 จังหวัด เจอฝนถล่ม
-กรมอุตุฯชี้แจงข่าวลือ เรื่องฮีตเวฟบริเวณประเทศอินเดียและไทย
-กรมอุตุเตือนระวังพายุฤดูร้อนทำหลายพื้นที่น้ำท่วม
-กรมอุตุฯประกาศ อากาศร้อนระอุทะลุถึง 43 องศาเซลเซียส
ขอบคุณ กรมอุตุฯ