- 09 พ.ค. 2562
เรียกได้ว่าในอดีตที่ผ่านมาแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเข้าไปพื้นที่อ่าวมาหยา เกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ มากกว่า 4,000-5,000 คน ช่วงพีคสุดอาจจะมากถึง 7,000 คน เรือนำเที่ยวมากกว่า 200 ลำต่อวัน ซึ่งเกินขีดความสามารถที่ธรรมชาติจะรับได้ เมื่อนักท่องเที่ยวทะลักเข้ามาโดยไร้การควบคุม ส่งผลให้ระบบนิเวศใน อ่าวมาหยา ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เริ่มเสื่อมสภาพ ทรุดโทรม บางส่วนพังเสียหายจนยากจะฟื้นฟู
เรียกได้ว่าในอดีตที่ผ่านมาแต่ละวันมีนักท่องเที่ยวเข้าไปพื้นที่อ่าวมาหยา เกาะขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ มากกว่า 4,000-5,000 คน ช่วงพีคสุดอาจจะมากถึง 7,000 คน เรือนำเที่ยวมากกว่า 200 ลำต่อวัน ซึ่งเกินขีดความสามารถที่ธรรมชาติจะรับได้ เมื่อนักท่องเที่ยวทะลักเข้ามาโดยไร้การควบคุม ส่งผลให้ระบบนิเวศใน อ่าวมาหยา ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เริ่มเสื่อมสภาพ ทรุดโทรม บางส่วนพังเสียหายจนยากจะฟื้นฟู
ทำให้กรมอุทยานฯ จึงประกาศสั่งห้ามนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่อ่าวมาหยาอย่างไม่มีกำหนด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ และกลุ่มอนุรักษ์ เข้าไปดำเนินการฟื้นฟูสภาพธรรมชาติของพื้นที่กลับคืนมา ท่ามกลางเสียงคัดค้านต่อต้านจาก กลุ่มผู้ประกอบการในพื้นที่
ล่าสุด ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับการปิดอ่าวมาหยา ระบุข้อความว่า "#ปิดอ่าวมาหยา 2 ปี รอให้สภาพระบบนิเวศ/ระบบจัดการดูแลท่องเที่ยว/ลดผลกระทบพร้อม ก่อนเปิดโดยจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวบนฝั่ง ไม่ให้เรือเข้าในอ่าวเหมือนสมัยก่อน นั่นคือผลสรุปจากที่ประชุมกรมอุทยานเมื่อวานครับ"
"สำหรับเพื่อนธรณ์ที่สงสัย ก่อนหน้านี้มีข่าวออกมา ปิดนานเท่านั้นเท่านี้ ต้องอธิบายให้ชัด การฟื้นฟูอ่าวมาหยาเป็นส่วนหนึ่งของ #พีพีโมเดล ทำงานในระดับกรม การตัดสินใจปิดเปิดนานแค่ไหน ขึ้นกับท่านอธิบดีกรมอุทยาน โดยมีคำแนะนำของคณะที่ปรึกษาอุทยานทางทะเลประกอบการพิจารณา ผมจึงระมัดระวังเรื่องการบอกช่วงเวลามาตลอด เพราะต้องการให้มีมติที่ประชุมก่อน"
"ตอนนี้มีมติแล้ว เราจะปิดต่อ 2 ปี โดยมีข้อมูลประกอบ ดังนี้ 1. การศึกษาความสามารถในการรองรับเสร็จแล้ว มีตัวเลขพร้อม แต่ตัวเลขดังกล่าวคำนึงถึงการดูแลรักษาธรรมชาติเต็มระบบ 2. กรมอุทยานกำลังจัดทำสิ่งอำนวยความสะดวกและระบบป้องกันผลกระทบ เช่น เส้นทางศึกษาธรรมชาติ ท่าเรือ บ้านพักเจ้าหน้าที่ ฯลฯ การจัดทำทั้งหมดจะเสร็จภายใน 1 ปีนิดๆ (เผื่อเวลาตามระบบราชการ) 3. ในขณะเดียวกัน กรมอุทยานฯ กำลังจัดทำระบบ e-ticket และระบบติดตามเรือ ซึ่งถ้าสมบูรณ์ จะมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดูแลจัดการท่องเที่ยว"
"4. เมื่อระบบพร้อม อาจเปิดให้มีการทดลอง ในขณะเดียวกัน จะมีการประเมินการสภาพระบบนิเวศที่เกิดขึ้นจากการฟื้นฟู ทั้งแนวปะการัง ป่าชายหาด ฯลฯ 5. เมื่อการประเมินเสร็จ และผลเป็นตามคาดหวัง จะมีการตัดสินใจอีกครั้งในการเปิดให้ท่องเที่ยว 6. การเปิดให้ท่องเที่ยว ต้องอยู่ภายใต้การดูแลอย่างเคร่งครัด ทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่อรอบ จำนวนเรือ ฯลฯ 7. ที่สำคัญ จะไม่เปิดให้เรือเข้าทางหน้าอ่าวอีกแล้ว เพราะฉะนั้น จะไม่มีผลกระทบต่อแนวปะการังที่กำลังฟื้นฟู/ฝูงฉลามหูดำ ฯลฯ 8. ต้องมีการติดตามระบบนิเวศ รวมถึงผลกระทบอื่นๆ เช่น ปะการังฟอกขาว ฯลฯ ที่อาจเกิดขึ้น มีอะไรคืบหน้าจะมาบอกเพื่อนธรณ์อีกครั้งนะฮะ"
ขอบคุณ Thon Thamrongnawasawat