- 24 พ.ค. 2562
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๒ วรรคสอง และมาตรา ๓๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ พระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ ๑๒) พ.ศ. ๒๕๖๒ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๒๙ มาตรา ๓๒ วรรคสอง และมาตรา ๓๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเหตุผลและความจำเป็นในการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายและการจัดระเบียบการจราจรทางบกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ อันจะเป็นประโยชน์แก่ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อยและสวัสดิภาพของประชาชนและประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
สรุปประเด็นสำคัญของการแก้ไข-ปรับปรุง พ.ร.บ. จราจร (ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2562 ได้ดังนี้
1. ในขณะที่ขับขี่นั้น ผู้ขับขี่ต้องมีใบขับขี่อยู่กับตัว พร้อมแสดงให้เจ้าหน้าที่ดู และต้องเป็นใบขับขี่ตัวจริงหรือสำเนาใบขับขี่แบบดิจิทัลหรือสำเนาภาพถ่ายใบขับขี่ ดังนั้นสำเนาภาพถ่ายใบขับขี่หรือใบขับขี่ดิจิทัลเท่านั้นที่ใช้ได้ นอกจากตัวจริง
2.กรณีที่เจ้าหน้าที่ทำผิดโดยเป็นความผิดที่มีโทษเพียงอย่างเดียวหรือจำคุกไม่เกิน 2 เดือน และมีโทษปรับเจ้าหน้าที่สามารถตักเตือนหรือออกในคำสั่งแทนได้ โดยการออกใบคำสั่งนั้นหากพบการกระทำความผิด แต่ไม่พบตัวผู้ขับขี่ ให้เจ้าหน้าที่สามารถแปะ-ห้อย ติดใบสั่งไว้ที่รถได้ โดยถือว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองได้รับใบสั่งแล้ว
3. หากผู้ขับขี่ไม่อยู่ในสภาพที่สามารถขับขี่ต่อได้หรือจะเป็นอันตรายต่อผู้อื่น ให้เจ้าหน้าที่สามารถยึดใบขับขี่ ระงับชั่วคราวการใช้รถได้ แต่หากผู้ขับขี่อยู่ในสภาพที่สามารถขับขี่ต่อไปได้ ให้เจ้าหน้าที่คืนใบขับขี่ อณุญาตให้ขี่ต่อไปได้ เมื่อผู้ขับขี่พร้อมขับขี่และจะไม่เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น
- กรณีที่เจ้าหน้าที่พบว่าผู้ขับขี่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามในการได้รับใบขับขี่ ให้เจ้าหน้าที่สามารถยึดใบขับขี่ โดยชี้แจงเหตุผลให้ผู้ขับขี่ทราบและมอบหลักฐานการยึดไว้เป็นหลักฐานด้วยและแจ้งนายทะเบียนดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
(ภาพจสน.100)
4. ให้สตง. จัดทำระบบบันทึกคะแนนความประพฤติในการขับขี่รถ โดยหากผู้ขับขี่ถูกตัดแต้มจนหมดตามที่กำหนดไว้แล้ว ให้พักใบขับขี่ 90 วัน และเข้าอบรมหลักสูตรหากมีค่าใช้จ่ายต้องออกเอง
- กรณีที่ผู้ขับขี่ทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงหรือหลบหนี ให้เพิกถอนใบขับขี่ได้ไม่เกิน 90 วัน และหากถูกพักใบขับขี่เกิน 2 รอบ ในรอบ 3 ปี และเจ้าหน้าที่ เห็นว่าควรพักใบขับขี่เกิน 90 วัน ก็สามารถแจ้งขนส่งเพิ่มเติมได้
- กรณีทำผิดซ้ำในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และเจ้าหน้าที่มีความเห็นว่า ควรเพิกถอนใบขับขี่ ก็สามารถแจ้งเพิกถอนได้ โดยในการแจ้งเพิกถอนจะต้องเป็นผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติหรือผู้ดำรงตำแหน่งไม่ต่ำกว่าผู้บัญชาการหรือเทียบเท่าที่ได้รับมอบหมายจาก ผบ.ตร. เป็นผู้ดำเนินการแจ้งนายทะเบียนให้ดำเนินการ
5. กรณีที่เจ้าของรถกระทำผิดที่เป็นนิติบุคคล หากตัวแทนนิติบุคคลไม่แจ้งว่าผู้ใดเป็นผู้กระทำผิดหรือดำเนินการ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ต้องระวังโทษปรับในอัตรา 5 เท่าของค่าปรับสุงสุด
อย่างไรก็ตาม ต้องรอดูทางเจ้าหน้าที่อีกครั้งหนึ่งเพราะในช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่าทางกรมการขนส่งได้ออกแอปพลิเคชั่นเพื่อใช้แทนใบขับขี่ตัวจริงจนทำให้เป็นที่ฮือฮากันมาแล้วแต่ก็ต้องเงียบหายไปเพราะทางเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ค่อยได้เห็นด้วยกับวิธีนี้สักเท่าไหร่
อ่านฉบับเต็ม : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0067.PDF