- 27 พ.ค. 2562
โรคอัลไซเมอร์ หรือ โรคความจำเสื่อม ซึ่งเป็นโรคจากความเสื่อมถอยของการทำงาน และโครงสร้างเนื้อเยื่อของสมอง ซึ่งทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ หรือ โรคสมองเสื่อม มีหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย พันธุกรรม อุบัติเหตุทางสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคการติดเชื้อของสมอง โรคทางกายที่มีผลกระทบต่อเซลล์สมอง เป็นต้น ซึ่งหลายคนมองว่า โรคนี้ร้ายแรง และรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ได้มีงานวิจัยล่าสุด ยืนยันว่า ดนตรีสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ และยังอาจจะสามารถทำให้ความทรงจำของผู้ป่วยกลับคืนมาเป็นปกติได้อีกด้วย
โรคอัลไซเมอร์ หรือ โรคความจำเสื่อม ซึ่งเป็นโรคจากความเสื่อมถอยของการทำงาน และโครงสร้างเนื้อเยื่อของสมอง ซึ่งทำให้เกิดโรคความจำเสื่อม
โรคอัลไซเมอร์ หรือ โรคสมองเสื่อม มีหลายสาเหตุ เช่น การเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย พันธุกรรม อุบัติเหตุทางสมอง โรคหลอดเลือดสมอง โรคการติดเชื้อของสมอง โรคทางกายที่มีผลกระทบต่อเซลล์สมอง เป็นต้น
ซึ่งหลายคนมองว่า โรคนี้ร้ายแรง และรักษาให้หายขาดไม่ได้ แต่ได้มีงานวิจัยล่าสุด ยืนยันว่า ดนตรีสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ และยังอาจจะสามารถทำให้ความทรงจำของผู้ป่วยกลับคืนมาเป็นปกติได้อีกด้วย
เมื่อล่าสุด ได้มี งานวิจัยที่ถูกตีพิมพ์ในวารสารการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ (The Journal of Prevention of Alzheimer's Disease) โดยได้มีรองศาสตราจารย์ดอกเตอร์นายแพทย์ด้านรังสีวิทยา Jeff Anderson แห่งมหาวิทยาลัยสุขภาพยูทาห์ เป็นผู้ร่วมเขียนงานวิจัยชิ้นนี้
โดยได้กล่าวว่า การเล่นดนตรี หรือฟังเพลง จะช่วยให้ผู้ป่วยจัดการกับโรคอัลไซเมอร์ ได้ง่ายขึ้น เพราะ ในขณะที่ฟังเพลงนั้น สมองจะสร้างสิ่งที่เรียกว่า การตอบสนองต่อประสาทรับความรู้สึกอัตโนมัติขึ้น หรือเรียกศัพท์ทางการแพทย์ว่า Autonomous Sensory Meridian Response (ASMR)
โดย ASMR นั้นถือว่าเป็นอะไรที่น่าอัศจรรย์ เพราะ การที่ให้ผู้ป่วยฟังเพลง สมองที่มีความเกี่ยวข้องกับ ASMR จะไม่ถูกทำลายไปพร้อมกับอาการอัลไซเมอร์ ยังไม่หมดเท่านั้น หากผู้ป่วยยิ่งได้ฟังเพลงที่ตัวเองโปรด หรือชอบเป็นพิเศษ จะยิ่งช่วยให้ สมองรู้สึกผ่อนคลาย แถมยังกระตุ้นด้านอารมณ์ และภาษาให้ตื่นตัวอย่างน่าประหลาดใจเป็นที่สุด
รองศาสตราจารย์ดอกเตอร์นายแพทย์ด้านรังสีวิทยา Jeff Anderson จึงได้มองว่า การฟังเพลง หรือเล่นดนตรีนั้น คือการช่วยบำบัดผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ได้ง่าย และ ประหยัดที่สุด และเชื่อว่าจะทำให้ชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้นเรื่อยๆตามลำดับ
อ้างอิงข้อมูลจาก - https://healthcare.utah.edu/publicaffairs/news/2018/04/alzheimer.php?fbclid=IwAR2HcWn8MCNKwkrb0hewZ6LjxwlAakp4zAEcOzQqxyrS1NIpoa8Y8kC6r_o