วินทร์ เลียววาริณ โพสต์หากประเทศไทยไม่มีคนชื่อ พล.อ. เปรม

นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องน่าเศร้าของพี่น้องชาวไทย ของการจากไปของ ป๋าเปรม พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ 2 แผ่นดิน ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อเช้าของวันที่ 26 พค.2562 นับเป็นการสูญเสียผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งประเทศชาติ ในความเป็นผู้นำและมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ พร้อมทั้งการถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด

นับเป็นอีกหนึ่งเรื่องน่าเศร้าของพี่น้องชาวไทย ของการจากไปของ ป๋าเปรม พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี และรัฐบุรุษ 2 แผ่นดิน ถึงแก่อสัญกรรมอย่างสงบ เมื่อเช้าของวันที่ 26 พค.2562 นับเป็นการสูญเสียผู้มีคุณูปการอย่างยิ่งประเทศชาติ ในความเป็นผู้นำและมีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ พร้อมทั้งการถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด
 


แต่หลังจากเรื่องราวการสูญเสียนั้นได้ถูกเผยแพร่ออกไป ด้านของ นายพริษฐ์ ชิวารักษ์ หรือเพนกวิน แนวร่วมพรรคอานคตใหม่ กลับมีพฤติกรรมสวนทาง โดยได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Parit Chiwarak ระบุว่าข้อความว่า "การอสัญกรรมของ พล.อ.เปรม เชื่อว่าจะส่งผลให้การเมืองของชนชั้นนำ (elite) ระส่ำขึ้นไม่มากก็น้อย ที่ผ่านมา พล.อ.เปรมมีบทบาทในฐานะมือประสานสิบทิศ ในสมัยประชาธิปไตยครึ่งใบ พล.อ.เปรมเป็นผู้มากบารมีที่คอยประสานประโยชน์ระหว่างมุ้ง (faction) ต่าง ๆ จึงเป็นนายกรัฐมนตรีได้เกือบ 10 ปี ต่อมาเมื่อได้เป็นประธานองคมนตรีก็เชื่อว่ายังคงมีบทบาทด้านการประสานงานระหว่างมุ้งอยู่หลังม่าน เมื่อ พล.อ.เปรมสิ้นไปแล้ว คงยากที่จะหาใครคอยประสานผลประโยชน์ระหว่างมุ้งได้ลงตัว ดังนั้น การเมืองระหว่างมุ้งของชนชั้นนำน่าจะเดือดขึ้นไม่มากก็น้อย รอดูกันต่อไปครับ  ว่าแต่ บ้านหลวงว่างแล้ว จะมีใครได้ไปอยู่ฟรีต่อไหมครับ"

 

วินทร์ เลียววาริณ โพสต์หากประเทศไทยไม่มีคนชื่อ พล.อ. เปรม


ทั้งนี้ยังมีการโพสต์ต่ออีกว่า "ระบอบเปรมคือความฝันอันสูงสุดของระบอบประยุทธ์ ..การเมืองยุค พล.อ. เปรม (ประชาธิปไตยครึ่งใบ) เป็นนายกคือความฝันสูงสุดของนายทหาร ข้าราชการ และกลุ่มทุนใหญ่ เพราะเป็นการเมืองที่ผลประโยชน์ถูกต่อรองอยู่แค่ในระหว่าง 3 กลุ่มนี้ โดยไม่มีนักการเมืองที่เป็นตัวแทนประชาชนมาเกี่ยวข้อง การเมืองยุคนั้นเป็นยุคที่ทหารเป็นรัฐมนตรี ข้าราชการเป็นคนคิดและขับเคลื่อนนโยบาย กลุ่มทุนเป็นผู้รับผลประโยชน์ ส่วนนักการเมืองเป็นไม้ประดับ ทหารอยากมีอำนาจเหมือนสมัยเปรม ข้าราชการอยากมีบทบาทและทำงานได้โดยไม่ต้องฟังนักการเมือง ส่วนนักธุรกิจก็อยากกินรวบแบบไม่ต้องสนใจประชาชน"

 

วินทร์ เลียววาริณ โพสต์หากประเทศไทยไม่มีคนชื่อ พล.อ. เปรม

 


"ความฝันนี้ถูกสะท้อนออกมาได้ชัดผ่านการตั้งคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ซึ่งประกอบด้วยทหาร-ข้าราชการ-นายทุน และมีอำนาจควบคุมนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งจนแทบจะทำให้นักการเมืองเป็นไม้ประดับ ขัดคณะกรรมการนี้ไม่ได้เลย อีกทั้งในสมัยประยุทธ์ยังมีการรวมศูนย์อำนาจเข้าส่วนกลางผ่านระบบราชการ ดังนั้น 5 ปีที่ผ่านมา ประยุทธ์ได้ #ปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง แล้ว แต่เป็นการปฏิรูปเพื่อหมุนเข็มนาฬิกากลับไปยุค พล.อ.เปรม ซึ่งบอกเลยว่าไม่ง่ายเพราะในปัจจุบัน กลุ่มผลประโยชน์มีความซับซ้อนมากขึ้น พล.อ.ประยุทธ์จะต้องประสานประโยชน์เก่งกว่า พล.อ.เปรมหลายเท่าจึงจะประคองระบอบนี้ให้รอดไปได้ มือประสานยี่ห้อตู่จะสู้มือประสานยี่ห้อเปรมได้หรือไม่ มาดูกัน"


ขณะเดียวกัน นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์ หรือจ่านิว นักเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ได้โพสต์ข้อความผ่าน เฟสบุ๊คชื่อ "Sirawith Seritiwat" ด้วยถ้อยคำ รุนแรง บางช่วงบางตอนระบุว่า.. จากบ้านหลวงพระธำมรงค์สู่บ้านสี่เสาเทเวศ ชีวิตคนๆนี้เขาโชคดีนะครับ บ้านฟรี น้ำฟรี ตั้งแต่เกิดจนตาย" ทำให้สังคมได้ตั้งคำถามว่า มีความเหมาะสมหรือไม่กับพฤติกรรมแบบนี้ ของกลุ่มนักเคลื่อนไหวทางการเมืองกลุ่มนี้ที่เรียกขานตัวเองว่า "นักประชาธิปไตย"  นี่หรือคือพฤิตกรรมของ "ปัญญาชน" เชิดชูศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ที่สำคัญ ไม่ละเมิดผู้อื่น อีกทั้งพฤติกรรมครั้งนี้ว่าสะท้อนตนตัวที่แท้จริงของคน 

 

วินทร์ เลียววาริณ โพสต์หากประเทศไทยไม่มีคนชื่อ พล.อ. เปรม


 

 

ล่าสุด นายสมชัย เลี้ยววาริณ หรือวินทร์ เลียววาริณ ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์และนักเขียนที่ได้รับรางวัลซีไรต์ ถึง 2 ครั้งคือ เมื่อปี พ.ศ. 2540 (ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน) และเมื่อปี พ.ศ. 2542 (สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน) โดยก่อนหน้าที่จะมาเป็นนักเขียน เขาทำงานด้านออกแบบมาก่อน คือเป็นสถาปนิก นักตกแต่งภายใน นักออกแบบกราฟิก และนักโฆษณา 

 

วินทร์ เลียววาริณ โพสต์หากประเทศไทยไม่มีคนชื่อ พล.อ. เปรม


ได้โพสต์เล่าเรื่องราว ในประวัติศาสตร์ของพล.อ.เปรม ผ่านเฟซบุ๊กส่วนบุคคล วินทร์ เลียววาริณ ซึ่งได้บอกเอาไว้ว่าไม่ว่าจะชอบท่านหรือไม่ชอบท่าน ไม่ว่าจะรักท่านหรือเกลียดท่าน แต่ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ คือผู้ที่มีบุญคุณต่อต่อชาวไทยทุกคน ระบุข้อความว่า "คนรุ่นใหม่ได้ยินนาม พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ในฐานะประธานองคมนตรี บุรุษผู้รักความเงียบ ต่อต้านการต่อต้านด้วยความสงบ คนรุ่นใหม่อาจเกิดไม่ทันหรือไม่รู้บทบาทของท่านในประวัติศาสตร์ เพราะในบรรดาทหารที่เข้าสู่การเมืองของไทย พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ พูดน้อยที่สุด และนี่คืออาวุธที่ทรงพลังที่สุด ในนวนิยายเรื่อง 17 องศาเหนือ" 

 

วินทร์ เลียววาริณ โพสต์หากประเทศไทยไม่มีคนชื่อ พล.อ. เปรม


"ผมบรรยาย พล.อ. เปรม ในฉากที่ ตุ้ย พันเข็ม พบท่านไว้ดังนี้ เขารู้จักชายผู้นั่งนิ่งเบื้องหน้า พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม บุคลิกเรียบร้อย แม่ทัพผู้นี้เงียบตลอดเวลา แตกต่างจากนักการเมืองอื่นๆ ที่เขาเคยพบโดยสิ้นเชิง แต่เขารู้ว่าบุรุษผู้นี้เป็นน้ำนิ่งไหลลึก เสือซ่อนเล็บ พล.อ.เปรมเป็นนักเรียนนายร้อยรุ่น พ.ศ. 2484 สังกัดเหล่าทหารม้า เคยเข้าสมรภูมิสงครามอินโดจีนระหว่างสยามกับฝรั่งเศสที่ปอยเปต กัมพูชา เคยร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่สองที่เชียงตุงในกองทัพพายัพ ใต้การบังคับบัญชาของหลวงเสรีเริงฤทธิ์"


"หลังสงครามโลก พล.อ. เปรมรับราชการอยู่ที่อุตรดิตถ์และได้รับทุนไปศึกษาต่อที่โรงเรียนยานเกราะของกองทัพบกสหรัฐฯที่ฟอร์ตน็อกซ์ กลับมาดูแลพื้นที่ภาคอีสานหลายปี เคยดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการโรงเรียนยานเกราะ ซึ่งต่อมากองทัพบกจัดตั้งเป็นโรงเรียนทหารม้ายานเกราะ ศูนย์การทหารม้า จังหวัดสระบุรี ไต่เต้าจากตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารบก แล้วเข้าสู่การเมือง ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม"
 

"ไม่ว่าจะชอบท่านหรือไม่ชอบท่าน ไม่ว่าจะรักท่านหรือเกลียดท่าน แต่ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ คือผู้ที่มีบุญคุณต่อต่อชาวไทย เพราะเป็นผู้มีบทบาทในการสลายขั้ว พคท. ในยุคที่ชาวโลกเชื่อทฤษฎีโดมิโนและฟันธงว่า ประเทศไทยจะกลายเป็นคอมมิวนิสต์ ถัดจากเวียดนาม ประเทศไทยไม่ได้เป็นคอมมิวนิสต์ ทำไม? อย่างไร? หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 พคท. ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เป้าหมายคือเปลี่ยนไทยเป็นพื้นที่สีแดง รัฐต่อสู้คอมมิวนิสต์ด้วยกำลัง เมื่อขึ้นเป็นแม่ทัพภาคที่ 2 พล.ท. เปรม ติณสูลานนท์ กับคณะเริ่มมองเห็นว่า การปราบปรามด้วยกำลังไม่ได้ผล"


"จำเป็นต้องต่อสู้ทางความคิด กลายเป็นแนวทางการเมืองนำการทหาร พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์และคณะเดินหมากตาใหม่ เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนนโยบายจากสายแข็ง เป็นสายกลาง เป็นที่มาของคำสั่งที่ 66/2523 ไม่มีการยืนยันอย่างเป็นทางการว่าใครเป็นผู้ต้นคิดนโยบาย 66/2523 ว่ากันว่า พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ และหรือ พล.ต. ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นผู้ร่าง แต่เป็นที่รู้กันว่าคำสั่งนี้น่าได้รับอิทธิพลจาก ประเสริฐ ทรัพย์สุนทร อดีตกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย รัฐบาลไทยในยุค พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ใช้ยุทธศาสตร์ เมืองล้อมป่า ใช้การเมืองประสานการทหาร ตัดถนนเข้าไปถึงฐานที่มั่นของ พคท. ส่งกำลังทหารเข้าโจมตีฐานที่มั่นอย่างหนัก ผสานกับการพัฒนาหมู่บ้านในพื้นที่ฐานที่มั่นและประกาศนิรโทษกรรมต่อสมาชิก พคท. ซึ่งเข้ามอบตัว"


"คำสั่งที่ 66/2523 เปลี่ยนสมาชิกและแนวร่วมของ พคท. เป็น ผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย คำสั่งนี้เริ่มในรัฐบาล พล.อ. เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ แต่ดำเนินการเป็นทางการในรัฐบาล พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ เมื่อวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2523 ออกกฎหมายนิรโทษกรรมเพื่อกระตุ้นให้สมาชิก พคท. กลับบ้าน ขณะเดียวกัน กองทัพไทยส่ง พล.ท. ชวลิต ยงใจยุทธ พ.อ. พัฒน์ อัคนิบุตร และพล.ท. ผิน เกษร ไปพบกับ เติ้งเสี่ยวผิง ผู้นำจีนที่ปักกิ่ง เจรจาให้พรรคคอมมิวนิสต์จีน (พคจ.) ยุติความช่วยเหลือ พคท.ไทย ขอให้จีนยุติการออกอากาศสถานีวิทยุเสียงประชาชนแห่งประเทศไทย (สปท.)"


"โดยฝ่ายไทยสัญญาจะสนับสนุนนโยบายของจีนเกี่ยวกับเขมร ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2522 สถานีวิทยุที่ออกอากาศจากยูนนานก็ยุติลง พร้อมความช่วยเหลือของจีนต่อ พคท. ค่อยๆลดลง ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้นำไปสู่ความเสื่อมของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย ความสำเร็จของนโยบาย 66/2523 มิได้เกิดจากหลักการของนโยบายอย่างเดียว หากเป็นผลรวมของหลายปัจจัยและเหตุการณ์ เช่น ความเสื่อมถอยและความขัดแย้งภายใน พคท. ความขัดแย้งระหว่างคอมมิวนิสต์สายจีนกับสายโซเวียต การเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนในปี พ.ศ. 2520 เป็นต้น"


"หลังจาก คำสั่งที่ 66/2523 ออกในวันที่ 23 เมษายน 2523 รัฐบาลก็ออก คำสั่งที่ 65/2525 เรื่อง แผนรุกทางการเมือง ทำให้กำลังของ พคท. อ่อนกำลังลงทุกที จนถึงปี 2534 ถือเป็นจุดสิ้นสุด พคท. และเมื่อภารกิจการเมืองลุล่วง ท่านก็ก้าวลงจากอำนาจด้วยตนเอง เป็นอีกท่อนหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่เราลืม ไม่ว่าจะชอบท่านหรือไม่ชอบท่าน ไม่ว่าจะรักท่านหรือเกลียดท่าน ความจริงคือเราคนไทยเป็นหนี้บุญคุณท่าน หากประเทศไทยไม่มีบุรุษชื่อ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ สีธงชาติเราในวันนี้อาจมิใช่สีไตรรงค์"