กรมอุตุฯเตือน มรสุมลูกใหม่กำลังมา จะมีฝนตกหนัก

กรมอุตุฯเตือน มรสุมลูกใหม่กำลังมา จะมีฝนตกหนัก

วันที่ 1 มิถุนายน 2562 เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ระบุว่าระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2562 - 7 มิถุนายน 2562 การคาดหมาย    การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 2- 5 มิ.ย. 62 ประเทศไทยตอนบนมีการกระจายของฝนลดลง และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังลดลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 - 7 มิ.ย. 62 ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 6 – 7 มิ.ย. 62 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา      ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยา ในช่วงวันที่ 2- 5 มิ.ย. 62 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มีกำลังอ่อนลง และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทยมีกำลังอ่อนลงด้วย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดน้อยลง และคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ส่วนในช่วงวันที่ 6- 7 มิ.ย. 62 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และประเทศไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยจะมีกำลังปานกลาง

ภาคเหนือ    ในช่วงวันที่ 2 - 5 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 6- 7 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ    ในช่วงวันที่ 2 - 5 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 6- 7 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคกลาง    ในช่วงวันที่ 2 - 5 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 6- 7 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่

อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ภาคตะวันออก    ในช่วงวันที่ 2 - 5 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 6- 7 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)    มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 6 – 7 มิ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)    มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล    ในช่วงวันที่ 2 - 5 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 6- 7 มิ.ย. 62 มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60-70 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

 

กรมอุตุฯเตือน มรสุมลูกใหม่กำลังมา จะมีฝนตกหนัก

 

กรมอุตุฯเตือน มรสุมลูกใหม่กำลังมา จะมีฝนตกหนัก

 

ด้านพยากรณ์อากาศ ประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2562 พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่องในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย 

ลักษณะสำคัญทางอุตุนิยมวิทยาร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาว และประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอกาศต่ำบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลาง ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยเริ่มมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคง พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังอ่อน

 

กรมอุตุฯเตือน มรสุมลูกใหม่กำลังมา จะมีฝนตกหนัก

 

ขอบคุณ กรมอุตุนิยมวิทยา