ต้นจามจุรี ที่ในหลวงร.9 ทรงปลูกในรั้วจุฬา โค่นล้ม รากขาด ไม่สามารถยกต้นขึ้นได้อีก

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2562 เกิดพายุฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ส่งผลให้การจราจรติดขัด ทั้งนี้พายุฝนก็ได้ทำให้เกิดความสียหายทั้งรถของประชาชนที่จอดไว้ เกิดน้ำท่วมเสียหาย และที่หนักไปกว่านั้นก็คือ ต้นจามจุรี ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกด้วยพระองค์เอง เกิดล้มหักโค่นลง หลังจากพายุฝนกระหน่ำใส่เมืองกรุง ทำให้รากขาด ไม่สามารถยกต้นกลับขึ้นมาได้อีก สร้างความสะเทือนใจให้กับชาวจุฬาและคนไทยเป็นอย่างมาก

เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2562 เกิดพายุฝนตกหนักในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้เกิดน้ำท่วมขังในหลายพื้นที่ ส่งผลให้การจราจรติดขัด ทั้งนี้พายุฝนก็ได้ทำให้เกิดความสียหายทั้งรถของประชาชนที่จอดไว้ เกิดน้ำท่วมเสียหาย และที่หนักไปกว่านั้นก็คือ ต้นจามจุรี ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกด้วยพระองค์เอง เกิดล้มหักโค่นลง หลังจากพายุฝนกระหน่ำใส่เมืองกรุง ทำให้รากขาด ไม่สามารถยกต้นกลับขึ้นมาได้อีก สร้างความสะเทือนใจให้กับชาวจุฬาและคนไทยเป็นอย่างมาก

 

ต้นจามจุรี ที่ในหลวงร.9 ทรงปลูกในรั้วจุฬา โค่นล้ม รากขาด ไม่สามารถยกต้นขึ้นได้อีก

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2562 เวลาประมาณ 08.40 ต้นจามจุรี 1 ใน 5 ต้น ที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงปลูกพระราชทานด้วยพระองค์เอง เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2505 บริเวณตรงข้ามลานจอดรถ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ล้มลงหลังจากที่ได้เกิดพายุโหมกระหน่ำเมื่อเย็นวันศุกร์ (7 มิถุนายน 2562) ในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร

 

ต้นจามจุรี ที่ในหลวงร.9 ทรงปลูกในรั้วจุฬา โค่นล้ม รากขาด ไม่สามารถยกต้นขึ้นได้อีก

 

เมื่อเข้าตรวจสอบแล้ว พบว่า รากของต้นจามจุรีได้ขาดทั้งหมด ไม่สามารถยกต้นขึ้นได้อีก ทางมหาวิทยาลัยจุงได้เคลื่อนย้ายลำต้นไปเก็บรักษาไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ต่อไป และทางมหาวิทยาลัยได้เตรียมการเพาะปลูกต้นลูกต้นหลาน จากต้นที่มรหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงปลูกไว้ เพื่อสืบทอดพระราชปณิธานต่อไป

 

ต้นจามจุรี ที่ในหลวงร.9 ทรงปลูกในรั้วจุฬา โค่นล้ม รากขาด ไม่สามารถยกต้นขึ้นได้อีก

ย้อนไปในวันที่ 15 มกราคม พุทธศักราช 2505 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงปลูกต้นจามจุรี 5 ต้น หน้าหอประชุม และได้พระราชทานพระราชดำรัชถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยกับต้นจามจุรี ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ต้นจามจุรี ที่ในหลวงร.9 ทรงปลูกในรั้วจุฬา โค่นล้ม รากขาด ไม่สามารถยกต้นขึ้นได้อีก

 

ทรงเล่าว่า ทรงปลูกต้นไม้ที่พระตำหนักไกลกังวล ต้นจามจุรีงอกขึ้นบริเวณต้นไม้ที่ทรงปลูกไว้ จึงทรงถือว่าทรงปลูกจามจุรีเหล่านั้นด้วย เมื่อจามจุรีโตขึ้นแล้วเห็นว่าควรเข้ามหาวิทยาลัยเสียที ก่อนจบกระแสพระราชดำรัส ได้รับสั่งว่า ฝากต้นไม้ไว้ 5 ต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล จามจุรีพระราชทานห้าต้นจึงยืนต้น อย่างแข็งแรงเป็นศรีสง่าและสิริมงคลแก่ชาวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป

 

ต้นจามจุรี ที่ในหลวงร.9 ทรงปลูกในรั้วจุฬา โค่นล้ม รากขาด ไม่สามารถยกต้นขึ้นได้อีก

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : http://www.memohall.chula.ac.th

เพจ ช้างเผือก