- 17 มิ.ย. 2562
เชื่อว่าทุกคนคงรู้จัก มด กันเป็นอย่างดี และอาจจะเคยพบเจอแทบทุกวัน และมดนั้นก็มีมากมายหลายสายพันธุ์เสียเหลือเกิน แต่สำหรับวันนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับ มดสายพันธุ์ใหม่ของโลก โดยที่น่าอึงคือ มดชนิดนี้มีชื่อเป็นภาษาไทยเสียด้วย นั่นก็คือ "มดอาจารย์รวิน" หรือชื่อเต็มคือ Myrmecina raviwongsei Jaitrong, Samung, Waengsothorn et Okido โดยมดชนิดนี้ถูกจัดให้เป็นมดชนิดใหม่ของโลก ในเดือนมิถุนายน 2562 นี้นี่เอง
เชื่อว่าทุกคนคงรู้จัก มด กันเป็นอย่างดี และอาจจะเคยพบเจอแทบทุกวัน และมดนั้นก็มีมากมายหลายสายพันธุ์เสียเหลือเกิน แต่สำหรับวันนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับ มดสายพันธุ์ใหม่ของโลก โดยที่น่าอึงคือ มดชนิดนี้มีชื่อเป็นภาษาไทยเสียด้วย นั่นก็คือ "มดอาจารย์รวิน" หรือชื่อเต็มคือ Myrmecina raviwongsei Jaitrong, Samung, Waengsothorn et Okido โดยมดชนิดนี้ถูกจัดให้เป็นมดชนิดใหม่ของโลก ในเดือนมิถุนายน 2562 นี้นี่เอง
โดยการค้นพบนี้ เกิดจากการร่วมมือกันของ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ , คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
โดย มดอาจารย์รวิน ถูกค้นพบครั้งแรกที่ สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา
โดยมดชนิดนี้มีความแตกต่างจากมดชนิดอื่นๆบนโลกอย่างเห็นได้ชัด นั่นก็คือ ลักษณะภายนอก โดยมีผิวหนังที่ขรุขระ ไม่เงาเหมือนมดสายพันธุ์อื่นๆบนโลกที่มีความมันเงา
มดอาจารย์รวิน ถูกค้นพบที่อยู่อาศัยในกองใบไม้ที่ทับถมบนพื้นป่า และบางแห่งที่มีการทับถมองกิ่งไม้ มดชนิดนี้ ถูกชี้ว่าอาศัยอยู่ในพื้นป่าดิบชื้นอันสมบูรณ์
ซึ่งหากป่าไหนพบมดชนิดนี้ ทางด้านธรรมชาติวิทยา จะชี้ว่า มดชนิดนี้สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่าได้ทางหนึ่ง
ซึ่งเหตุผลที่มดสายพันธุ์ใหม่ของโลกชนิดนี้ ถูกตั้งชื่อว่า "มดอาจารย์รวิน" ตามชื่อของ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพราะว่า ผศ.ดร.รวิน ถือว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนช่วยเหลือ และเมตตา รวมถึงให้การสนับสนุนการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพแก่เจ้าหน้าที่ อย่าจริงจังมาเป็นระยะเวลานาน และตลอด
โดย มดอาจารย์รวิน ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ "การค้นพบมดชนิดใหม่ของโลก" ลงในวารสาร Far Eastern Entomologist วารสารระดับนานาชาติของรัสเซีย ฉบับเดือนมิถุนายน 2562 นี้
ขอขอบคุณภาพจาก - พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา Natural History Museum