- 04 ก.ค. 2562
คำเตือนจากร่างกาย! หนุ่มเตือนพวกชอบนอนดึก พักผ่อนน้อย ดื่มน้ำน้อยให้ระวัง
เชื้อไวรัสมีหลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็ส่งผลกระทบต่อร่างกายแตกต่างกัน บางชนิดอาจทำให้ร่างกายเจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ บางชนิดก็ส่งผลกระทบรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้ ทั้งนี้หนึ่งในโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสคือ โรคงูสวัด แม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิต แต่ก็ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตค่อนข้างมาก ดังนั้นหากเรารู้จักสาเหตุของโรค อาการและวิธีป้องกันตัวเองก็จะช่วยให้เราห่างไกลจากโรคงูสวัดได้
ซึ่งผู้ใช้เฟชบุ๊ก "Ittiphon Tar" ได้ออกมาเตือนให้กับคนที่พักผ่อนน้อย ไม่ดูแลตัวเอง ให้หันมาดูแลตัวเอง เนื่องจากโรคนี้เป็นโรคที่หายยากแถมทิ้งรอยแผลเป็นไว้แสนจะเจ็บปวด โดยได้ระบุข้อความเอาไว้ว่า "เตือนไว้เป็นอุทาหรณ์นะครับ นอนดึกพักผ่อนน้อยเครียดกินน้ำน้อย มีโอกาสเป็นนะครับ รักษาสุขภาพกันด้วยนะครับ"
.
โรคงูสวัดเกิดจากเชื้อ VZV ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเชื้อไวรัสเฮอร์ปิส (Herpes virus) เมื่อเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายจะไปอยู่ตามปมประสาท เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอ เกิดความเครียด พักผ่อนน้อย ไวรัสชนิดนี้จะทำให้เกิดการอักเสบแล้เกิดตุ่มใส เรียงตัวตามแนวของเส้นประสาท เมื่อไวรัสเพิ่มจำนวนมากขึ้น ก็จะส่งผลให้ร่างกายแสดงอาการออกมาเป็นโรคงูสวัดอย่างชัดเจน
โรคงูสวัดเป็นโรคที่ไม่ติดต่อจากคนสู่คน แต่เชื้อ VZV สามารถติดต่อไปสู่ผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคอีสุกอีใสได้ เช่น ผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หรือไม่เคยฉีดวัคซีนป้องกันโรคอีสุกอีใส โดยติดต่อผ่านการสัมผัสผื่น แผล ขณะที่มีตุ่มพุพองของโรค และหลังจากได้รับเชื้อแล้วก็จะเกิดเป็นโรคอีสุกอีใส แต่ไม่เป็นโรคงูสวัด ฉะนั้นหากคุณยังไม่เคยเปนโรคอีสุกอีใสหรือไม่เคยฉีดวัคซีน ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย จนกว่าผื่นจะตกสะเก็ดจนหมด
.
วิธีรักษาโรคงูสวัดจะแบ่งเป็น 2 กรณีหลักๆ คือ
- ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ: แพทย์จะให้ยารักษาตามอาการ เช่น ให้รับประทานยาแก้ปวด ลดอักเสบ ให้ยาทาเพื่อลดอาการผื่นคัน ยาต้านไวรัส และยาสเตียรอยด์ เป็นต้น
- ผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำมากๆ จะต้องรักษาตัวที่โรงพยาบาลจนกว่าจะหายเป็นปกติ โดยแพทย์จะจ่ายยาต้านไวรัส เช่น Acyclovir ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังเกิดอาการ เพื่อลดความรุนแรงของโรค เพราะโรคอาจแพร่กระจายไปทั่วทั้งตัวได้ และยาต้านไวรัสยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ รวมทั้งช่วยให้รอยโรคทางผิวหนังหายเร็วขึ้น
ทั้งนี้หากพบว่าแผลหายแล้ว แต่อาการปวดยังคงอยู่ จะต้องรักษาอาการปวดของปมประสาท ซึ่งจะต้องรักษาโดยแพทย์เกี่ยวกับระบบประสาทเท่านั้น และสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการโรคงูสวัดขึ้นตา ควรรักษากับจักษุแพทย์โดยตรง ซึ่งแพทย์จะใช้ยาต้านไวรัสชนิดรับประทานและหยอดตา เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางตา
ขอบคุณ Ittiphon Tar // honestdocs
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-"น้องเอวา" หนูน้อยวัย 6 ขวบ ป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมหมวกไต เคราะห์ซ้ำ เป็นงูสวัดพร้อมอีสุอีไส กลับไม่เคยท้อ สู้สุดใจ
-คำเตือนจากแพทย์ รพ.จุฬาลงกรณ์ ดื่มน้ำอัดลม "เสี่ยงนิ่วในไต"
-กินหมูกรอบประจำเสี่ยงโรคเพียบ คำเตือนห้ามกินเกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง
-รักษาได้!! เผย 3 สูตร หายขาดจาก งูสวัด - เริม รักษาได้ง่ายๆ ด้วยสมุนไพรพื้นบ้านของไทย ได้ผลจริง!! รู้ไว้เผื่อจำเป็นต้องใช้!! (3 สูตร)