เปิดทุกขั้นตอนการสละอากาศยาน ชื่นชม กัปตันพีท ประคองเครื่องจนนาทีสุดท้าย

ขั้นตอนการสละอากาศยานที่ครูการบินต้องให้ศิษย์สละเครื่องก่อน เพื่อให้ครูการบินที่มีทักษะการบินที่สูงกว่าเป็นผู้รักษาอาการเครื่องไว้ให้นานที่สุด

จากกรณีที่สร้างความตกใจให้กับประชาชนไม่น้อย เมื่อชาวเน็ตได้รับทราบข่าวร้ายจากห้อง 61 สาธารณภัยปภ.ว่า ได้รับรายงานด่วนเหตุเครื่องบินฝึกตก จ.เชียงใหม่ ยังไม่มีรายงานเสียชีวิต มีรายงานบาดเจ็บ 2 ราย 
 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเกิดเหตุเครื่องบินตก ที่เชียงใหม่

เปิดทุกขั้นตอนการสละอากาศยาน ชื่นชม กัปตันพีท ประคองเครื่องจนนาทีสุดท้าย

 

จนกระทั่งพล.อ.ท.พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย โฆษกทอ. เผย เหตุเครื่องบินขับไล่และฝึก L-39 สังกัด ฝูงบิน 411 ตกที่ จ.เชียงใหม่ เบื้องต้นทราบว่าเกิดเหตุขัดข้อง ทำให้นักบินต้องทำการสละอากาศยานออกมา โดยมีทหารเสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บเล็กน้อย 1 นาย ขณะนี้ จนท.ลงพื้นที่ตรวจสอบ

 

ทั้งนี้เฟซบุ๊กชื่อ Pichet Tunthirojanakul ได้เผยละเอียดเพิ่มเติมว่า "โฆษกกองทัพอากาศ ยืนยันเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ ๑ (L-39) ของกองทัพอากาศ ประสบอุบัติเหตุขณะทำการฝึกบิน พลอากาศโท พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารอากาศ ในฐานะโฆษกกองทัพอากาศ เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องอันน่าเศร้าดังกล่าวพร้อมกับบอกชื่อผู้เสียชีวิต

 

 

 

เปิดทุกขั้นตอนการสละอากาศยาน ชื่นชม กัปตันพีท ประคองเครื่องจนนาทีสุดท้าย

อ่านข่าว : ขอแสดงความเสียใจ!! โฆษกทอ.แถลงทางการ เหตุเครื่องบินขับไล่ตก ครูฝึกการบินเสียชีวิต บาดเจ็บอีก 1 (รายละเอียด)

 


ต่อมาในเพจเฟซบุ๊ก ข่าวทหาร ได้โพสต์รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้เพิ่มเติมว่า "กองทัพอากาศ จัดพิธีรับศพนักบินที่เสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ พร้อมปูนบำเหน็จพิเศษ 8 ขั้นให้ นาวาอากาศตรี ณฤพล และพระราชทานยศให้เป็น พลอากาศโท"

 

 

เปิดทุกขั้นตอนการสละอากาศยาน ชื่นชม กัปตันพีท ประคองเครื่องจนนาทีสุดท้าย

 

 

 

เปิดทุกขั้นตอนการสละอากาศยาน ชื่นชม กัปตันพีท ประคองเครื่องจนนาทีสุดท้าย

 


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : สูญเสียวีรบุรุษ  ผบ.ทอ.ปูนบำเหน็จพิเศษ 8 ขั้น "น.ต.ณฤพล" ครูฝึกเครื่องบินขับไล่  ขอพระราชทานยศ พลอากาศโท

ล่าสุดในเฟซบุ๊ก ThaiArmedForce.com ได้เปิดเผยขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ซึ่งมีกระบวนการฝึกตามหลักสากล คือการพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่สละอากาศยานเป็นสำคัญเพื่อป้องกันความสูญเสียของประชาชนเป็นหลัก

เปิดทุกขั้นตอนการสละอากาศยาน ชื่นชม กัปตันพีท ประคองเครื่องจนนาทีสุดท้าย

 


หนึ่งในขั้นตอนการสละอากาศยานของกองทัพอากาศไทย ซึ่งมีกระบวนการฝึกตามหลักสากล คือการพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมและชุมชนในพื้นที่สละอากาศยานเป็นสำคัญ

 

ในทุกเทียวบินต้องมีการประชุมสรุปก่อนขึ้นบิน (Brief)จะต้องมีการระบุถึงการปฏิบัติหากเกิดเหตุฉุกเฉิน ตั้งแต่พื้นที่การปลดอาวุธ บริเวณลงจอดฉุกเฉินหากเครื่องไม่สามารถประคองมาถึงฐานบินได้ ทั้งหมดเพื่อป้องกันความสูญเสียของประชาชนเป็นหลักสำคัญ

 

 

เปิดทุกขั้นตอนการสละอากาศยาน ชื่นชม กัปตันพีท ประคองเครื่องจนนาทีสุดท้าย

 

 

จากกรณีการสูญเสียอากาศยานขับไล่/ฝึกแบบ L-39ZA/ART ในวันนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่นักบินผู้ทำหน้าที่ครูการบิน (IP/Instructor Pilot) ได้ปฏิบัติตามขั้นตอนนิรภัยการบินอย่างถูกต้อง ตั้งแต่การเกิดเหตุเครื่องยนต์ดับกลางอากาศ ได้มีการแจ้งขานเหตุฉุกเฉิน (Emergency) เนื่องจาก L-39 Albatross แม้จะสูญเสียกำลังขับไปแล้ว ก็ยังมีแรงยกจากปีกที่สามารถประคองเครื่องให้เข้าหาพื้นที่กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ให้มากที่สุด

 

 

เปิดทุกขั้นตอนการสละอากาศยาน ชื่นชม กัปตันพีท ประคองเครื่องจนนาทีสุดท้าย

 

 

แต่ด้วยสภาพสิ่งแวดล้อมโดยรอบปัจุบันเต็มไปด้วยชุมชนอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้นักบินต้องพิจารณาประเมินสภาวะของตัวอากาศยานและเลือกพื้นที่สำหรับการดีดตัวออกจากอากาศยาน เพราะหากดีดตัวออกไปแล้วเครื่องจะอยู่ในสภาวะขาดการควบคุม พื้นที่จุดตกนี้จึงเป็นจุดสุดท้ายที่นักบินจะตัดสินใจสละอากาศยาน เพราะหากจากเลยแนวนี้คือแม่น้ำปิงที่ไม่มีชุมชนตั้งอยู่ แม้จะห่างจากพื้นที่กองบิน 41 ราว 3 กิโลเมตร แต่โดยรอบพื้นที่สนามบินเชียงใหม่ก็เต็มไปด้วยชุมชนโดยรอบและเครื่องก็สูญเสียแรงขับจนเกือบจะสูญเสียการควบคุมแล้วเช่นกัน

 

 

ด้วยขั้นตอนการสละอากาศยานที่ครูการบินต้องให้ศิษย์สละเครื่องก่อน เพื่อให้ครูการบินที่มีทักษะการบินที่สูงกว่าเป็นผู้รักษาอาการเครื่องไว้ให้นานที่สุด จึงเป็นเหตุให้ครูการบินต้องทำการสละเครื่องช้ากว่าระดับความสูงที่ปลอดภัยในการดีดตัว เนื่องจากเก้าอี้ดีดตัวของ L-39 เป็นแบบ VS-1 ที่ต้องมีระยะสูงเพียงพอในการจุดระเบิดออกจากเครื่องเพื่อให้ร่มชูชีพกางออกเต็มระบบ แตกต่างจากเก้าอี้ดีดตัวของมาร์ตินเบเกอร์ที่ติดตั้งใน F-16, T-50 และ Gripen ที่กองทัพอากาศมีใช้ในประจำการ

 


TAFขอร่วมสดุดีการตัดสินใจของนาวาอากาศตรี ณฤพล เลิศกุศล Instructor pilotของฝูงบิน 411 ที่สามารถหลีกเลี่ยงความสูญเสียร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นกับประชาชนได้จนถึงวินาทีสุดท้าย

 

เปิดทุกขั้นตอนการสละอากาศยาน ชื่นชม กัปตันพีท ประคองเครื่องจนนาทีสุดท้าย

 

อย่างไรก็ตามทางด้านพลอากาศเอก ชัยพฤกษ์  ดิษยะศริน ผู้บัญชาการทหารอากาศ  ยังเปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า ต้องรอการตรวจสอบสาเหตุของอุบัติเหตุครั้งนี้ เบื้องต้นทราบเพียงเครื่องยนต์ดับแล้วร่อนลง พยายามนำเครื่องกลับที่ตั้ง ซึ่งเป็นวิสัยของนักบิน ที่จะไม่ทิ้งเครื่องง่ายๆ สาเหตุของการเครื่องดับนั้นมีอยู่หลายปัจจัยอย่างด่วนสรุปไม่ได้ 

 

เปิดทุกขั้นตอนการสละอากาศยาน ชื่นชม กัปตันพีท ประคองเครื่องจนนาทีสุดท้าย

 


ส่วนการสละเครื่องบินด้วยการดีดตัว ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีของเครื่องบินนั้นๆ ว่าจะมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหนและต้องสัมพันธ์กับความเร็วความสูง  ซึ่งปกติ จะต้องโดดร่มก่อนระยะสูง 2000 ฟุต แต่กรณีนี้ นักบินที่ 1 ซึ่งอยู่ด้านหน้า โดดร่มเป็นคนแรก โดยครูฝึกซึ่งเป็นนักบินที่ 2 และนั่งอยู่ด้านหลังเสียสละให้ นักบินที่ 1 ทำการโดดร่มก่อน ทั้งที่ปกติ คนที่นั่งด้านหลังจะต้องโดดร่มก่อน เพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้นักบินที่ 1 เริ่มโดดร่มที่ความสูง 1,700 ฟุต ซึ่งถือว่าต่ำมาก เพราะความสูงในพื้นที่เชียงใหม่ ก็ประมาณ 1,000 ฟุต แล้ว เหลือเพียง 700 ฟุต ส่วนนักบินที่ 2 ยังไม่ทราบ คงต้องตรวจสอบต่อไป ซึ่งจริงๆ คงเขาคงจะพยายาม บังคับเครื่องไม่ให้กระทบบ้านเรือนประชาชน ไม่อย่างนั้น เขาก็โดดไปนานแล้ว เขารู้อยู่แก่ใจดี 

 

เปิดทุกขั้นตอนการสละอากาศยาน ชื่นชม กัปตันพีท ประคองเครื่องจนนาทีสุดท้าย

(ภาพประกอบจากเพจ ThaiArmedForce.com )

 

 

 

 

ขอบคุณเฟซบุ๊ก : ThaiArmedForce.com