ศูนย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิด 14 ข้อเท็จจริงคดีแพรวา

ศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เผยแพร่บทความสรุปข้อเท็จจริงคดีอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลเวย์

จากเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เมื่อ น.ส.แพรวา หรือ อรชร (นามสมมุติ) เทพหัสดิน ณ อยุธยา ขับรถยนต์ฮอนด้า ซีวิค เฉี่ยวชนรถตู้โดยสาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ศูนย์รังสิต–อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ บนทางยกระดับโทลล์เวย์ขาเข้า ช่วงด้านหน้าสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เมื่อคืนวันที่ 27 ธ.ค. 2553 ที่ผ่านมา จนถึงวันนี้เวลาผ่านมา 9 ปีแล้ว
 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง :

หมอก้อง โพสต์เดือดถึง แพรวา ลั่น ให้ออกมาแสดงความรับผิดชอบ

นพ.กัมปนาท ร่ายยาวเหน็บแรง หลังแม่แพรวา9ศพ บอกลูกสาวเป็นโรคซึมเศร้า

รองปลัดกระทรวงยุติธรรม โพสต์ล่าสุด ขอบคุณแม่แพรวา หลัง9ปีออกมาแสดงความรับผิดชอบ

เปิดหนังสือ ราชสกุล"เทพหัสดินฯ"ก่อนตั้งโต๊ะแถลง คดีแพรวา 9 ศพ

ศูนย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิด 14 ข้อเท็จจริงคดีแพรวา

 

กระทั่งเป็นที่พูดถึงอย่างมากในโลกออนไลน์ เมื่อมีผู้ใช้ทวิตเตอร์ tintin ที่ระบุว่าเป็นผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ออกมาเผยว่าผู้เสียหายยังไม่ได้รับการเยียวยาที่ถูกต้องจากผู้กระทำ จนทำให้รายหน่วยงานต่างออกมาชี้แนะทางออกเกี่ยวกับเรื่องนี้ อาทิเช่นทนายเดชาได้ออกมาซัดคำเจ็บถึงครอบครัวผู้กระทำว่า "ต้องรอดูว่าจะมีจิตสำนึกหรือไม่"

 


ต่อมานางลัดดาวัลย์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา มารดา น.ส.แพรวา ได้เปิดเผยทางโทรศัพท์ผ่านรายการโหนกระแส ว่าทางครอบครัวตนพร้อมยินดีชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้สูยเสีย แต่ทว่าตอนนี้ทางตนนั้นมีเงินไม่พอ และตอนนี้กำลังประกาศขายที่ดินอยู่ พร้อมวอนสังคมให้เห็นใจลูกสาวเนื่องจากเธอกำลังป่วยเป็นโรคซึมเศร้า

 

ศูนย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิด 14 ข้อเท็จจริงคดีแพรวา

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : เปิดใจครั้งแรก แม่แพรวา พร้อมขายบ้าน ที่ดิน ชดเชย 9 ศพ ลั่นไม่เคยคิดหนีผิด พูดถึงชะตาชีวิตลูกสาว ขอทุกคนเห็นใจ
 

 

 

ในที่สุดราชสกุลเทพหัสดินฯได้ออกแถลงการคดีดังกล่าว ซึ่งทางราชสกุลได้ตามคดีตลอด พร้อมทั้งครอบครัวแพรวาแจ้งจัดการเองได้ จนวันนี้กระทบหนัก ยอมควัก 5 แสน ร่วมตั้งกองทุนสืบทรัพย์คืน 9 ศพสูญเสีย

ศูนย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิด 14 ข้อเท็จจริงคดีแพรวา


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : 9 ปีที่รอคอย ราชสกุล"เทพหัสดินฯ"แถลงอ้างตามคดีตลอด ครอบครัวแพรวา แจ้งจัดการเองได้ จนวันนี้กระทบหนัก ยอมควัก 5 แสน ร่วมตั้งกองทุนสืบทรัพย์คืน 9 ศพสูญเสีย

 

 


ต่อมาในโลกออนไลน์ยังได้ยกเอาคดีดังที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา จากกรณีนายสมชาย เวโรจน์พิพัฒน์ อายุ 56 ปี เจ้าของธุรกิจผลิตและจำหน่ายอะไหล่รถยนต์ ที่ก่อเหตุเมาแล้วขับรถเบนซ์ ชนรถเก๋ง ของ พ.ต.ท.จตุพร งามสุวิชชากุล รอง ผกก.(สอบสวน) กก.2 บก.ป. หรือ รองตี๋ เสียชีวิตพร้อมภรรยา ขณะที่ลูกสาวบาดเจ็บสาหัส โดยหลังเกิดเหตุนายสมชายได้มอบเงินเยียวยาให้กับครอบครัวผู้เสียชีวิต รวมทั้งสิ้นกว่า 45 ล้านบาท โดยไม่ได้รอให้ศาลสั่ง อีกทั้งก่อนหน้านี้ยังได้มีการกราบขอขมาญาติและบวชหน้าไฟในงานฌาปนกิจศพ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายด้วย  ในส่วนของคดีนั้น พนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญาธนบุรี 5 ได้ยื่นฟ้อง นายสมชาย รวม 3 ข้อหา โดยอัยการสั่งไม่ฟ้องความผิดฐานฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นฯ ตามที่พนักงานสอบสวนสรุปสำนวนแจ้งข้อหาดังกล่าวมาด้วย เพราะพิจารณาแล้วพฤติการณ์ไม่เข้าองค์ประกอบความผิดทางกฎหมาย

 


ทั้งนี้ศาลพิเคราะห์แล้ว จึงเห็นสมควรให้มีการสืบเสาะและพินิจจำเลยก่อนมีคำพิพากษา โดยให้พนักงานคุมประพฤติรายงานผลการสืบเสาะนั้นให้ศาลทราบภายใน 15 วัน และให้นัดฟังคำพิพากษาคดีนี้ ในวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ เวลา 09.00 น.

 

ศูนย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิด 14 ข้อเท็จจริงคดีแพรวา

 


อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : วิจารณ์ตรงๆ!! ชาวเน็ตเทียบคดี แพรวา 9 ศพ กับ เสี่ยเบนซ์ คร่าชีวิตรองตี๋ จิตสำนึกรับผิดชอบต่างกันมาก
 

ล่าสุดศูนย์นิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เผยแพร่บทความสรุปข้อเท็จจริงคดีอุบัติเหตุบนทางด่วนโทลเวย์ซึ่งศูนย์นิติศาสตร์เป็นทนายยื่นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย โดยมีทั้งหมด 14 ข้อดังนี้

 

 

ศูนย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิด 14 ข้อเท็จจริงคดีแพรวา


1. เหตุการณ์เกิดขึ้นอย่างไร

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2553 นางสาวแพรวาหรืออรชร (จำเลย) ขับรถยนต์พุ่งเข้าชนท้ายรถตู้สาธารณะ บนทางยกระดับอุตราภิมุข ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารจำนวน 14 คน โดยส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาและบุคลากรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นเหตุให้รถตู้คันดังกล่าวชนขอบทางยกระดับอย่างแรง ส่งผลให้ผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนหลายคน

 

 

2. ผู้เสียหายมีกี่คน

มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 9 คน บาดเจ็บ 5 คน

 

 

3. ศูนย์นิติศาสตร์ เข้าไปช่วยเหลือผู้เสียหายได้อย่างไร

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มีคำสั่งให้ศูนย์นิติศาสตร์เข้าช่วยเหลือผู้เสียหายในคดีดังกล่าว โดยศูนย์นิติศาสตร์ได้จัดทนายความดำเนินการยื่นฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เสียหาย รวม 13 คดี และเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการในคดีอาญา

 

 

4. คดีที่ฟ้องมีกี่คดี โจทก์กี่คน จำเลยกี่คน


คดีที่ฟ้องมีทั้งคดีอาญาและคดีแพ่ง
#คดีอาญา พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง จำเลย 1 คน คือ นางสาวแพรวาฯ
#คดีแพ่ง โจทก์ 28 คน (13 คดี) จำเลย 7 คน ได้แก่
- จำเลยที่ 1 นางสาวแพรวาฯ
- จำเลยที่ 2 บิดานางสาวแพรวาฯ
- จำเลยที่ 3 มารดานางสาวแพรวาฯ
- จำเลยที่ 4 ผู้ให้ยืมรถ
- จำเลยที่ 5 สามีของจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นผู้นำรถไปฝากไว้กับจำเลยที่ 4
- จำเลยที่ 6 เจ้าของรถ
- จำเลยที่ 7 บริษัทประกันภัยซึ่งจำเลยที่ 6 ทำประกันภัยรถยนต์ไว้

 

 

ศูนย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิด 14 ข้อเท็จจริงคดีแพรวา

 

5. ในคดีอาญา ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดอย่างไร

คดีอาญาถึงที่สุดในชั้นอุทธรณ์ โดยศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 2 ปี ให้รอการลงโทษเป็นเวลา 4 ปี กับให้ทำงานบริการสังคมดูแลผู้ป่วยจากอุบัติเหตุ และห้ามขับรถยนต์จนกว่าจะมีอายุครบ 25 ปีบริบูรณ์

6. ในคดีแพ่ง ผู้เสียหายฟ้องอะไรบ้าง

โจทก์ทั้ง 28 คน ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 ถึง 7 เป็นเงินจำนวน 113,077,510 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ต่อมา จำเลยที่ 7 บริษัทนวกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจำเลยที่ 5 และที่ 6 ผู้ครอบครองรถยนต์และได้ทำประกันไว้กับจำเลยที่ 7 ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์เต็มจำนวนตามกรมธรรม์ประกันภัย โจทก์ทั้ง 28 คนจึงถอนฟ้องจำเลยที่ 5 ถึง 7 และศาลได้มีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ

 

7. ศาลชั้นต้นพิพากษาอย่างไร

ศาลชั้นต้นพิพากษา ให้จำเลยที่ 1 ถึง 3 ร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้ง 28 คน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 26,061,137 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันทำละเมิด และให้ยกฟ้องจำเลยที่ 4

 

 

8. ใครอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นบ้าง

โจทก์ที่ 5 และที่ 11 ยื่นอุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดด้วย และจำเลยที่ 1-3 ยื่นอุทธรณ์

 

 


9. ศาลอุทธรณ์ตัดสินอย่างไร

ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ทั้ง 13 คดี และให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต่อโจทก์ที่ 5 และที่ 11 ด้วย รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 21,626,925 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันทำละเมิด

 

 

10. ใครยื่นฎีกา

ทั้งโจทก์และจำเลยยื่นฎีกา โดยโจทก์ขอให้ศาลมีคำพิพากษาแก้ โดยกำหนดค่าสินไหมทดแทนตามศาลชั้นต้น ส่วนจำเลยขอให้ศาลปรับลดค่าเสียหายลง

 

 

ศูนย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิด 14 ข้อเท็จจริงคดีแพรวา

 

11. ศาลฎีกาตัดสินอย่างไร

ศาลฎีกาพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันชำระค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในแต่ละคดี และให้จำเลยที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ต่อโจทก์ที่ 5 และที่ 11 ด้วย รวมค่าสินไหมทดแทนทุกคดีเป็นเงินทั้งสิ้น 25,261,164 บาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันทำละเมิด

 

 

12. ตอนนี้คดีอยู่ขั้นตอนใด

ขณะนี้อยู่ระหว่างส่งคำบังคับให้แก่จำเลยทั้ง 4 เพื่อให้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำบังคับ หากไม่ชำระภายในระยะเวลาที่กำหนดจะเข้าสู่กระบวนการบังคับคดี กล่าวคือ การสืบทรัพย์สินของจำเลยเพื่อยึด หรืออายัดทรัพย์สินนำออกมาขายทอดตลาดแล้วนำเงินมาชดใช้แก่โจทก์ต่อไป

 

 

13. กรณีนี้ผ่านมาเกือบ 9 ปีแล้ว หากจำเลยทั้ง 4 ได้โอนทรัพย์สินของตนไปยังบุคคลอื่น แนวทางการบังคับคดีจะทำอย่างไร

 

หากในระหว่างเวลาดำเนินคดีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา จำเลยทั้ง 4 มีการจำหน่าย จ่าย โอนทรัพย์สินไปยังบุคคลอื่น โดยรู้อยู่แล้วว่าจะเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ หรือ เพื่อหลีกเลี่ยงการถูกบังคับคดี ย่อมมีความผิดอาญาฐานโกงเจ้าหนี้ ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโจทก์มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นๆ ให้กลับมาเป็นชื่อของจำเลย เพื่อให้โจทก์สามารถบังคับคดีต่อไปได้

 

 

14. ขั้นตอนการบังคับคดีมีกำหนดระยะเวลาอย่างไร


ในกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษา โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องร้องขอต่อศาลให้มีการบังคับคดีภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา กล่าวคือ โจทก์จะต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของจำเลย และเมื่อหมายบังคับคดีถูกส่งไปยังกรมบังคับคดี โจทก์มีหน้าที่ต้องไปตั้งสำนวนต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเพื่อขอให้ทำการยึดหรืออายัดและขายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา โดยจะต้องแถลงรายการทรัพย์สินต่อเจ้าพนักงานบังคับคดี ภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพากษา แต่เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาไม่ได้ดำเนินการย่อมหมดสิทธิที่จะบังคับคดี

 

 

ศูนย์นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เปิด 14 ข้อเท็จจริงคดีแพรวา