หมู่บ้านไร้คน บรรยากาศสุดขนลุก น่ากลัวชวนเขย่าขวัญ

หมู่บ้านไร้คน บรรยากาศสุดขนลุก น่ากลัวชวนเขย่าขวัญ

เป็นเรื่องราวสุดแปลกประหลาดและน่ากลัวมากๆ สำหรับ "หมู่บ้านไร้คน" หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ "หมู่บ้านคนตาย" จังหวัดนครพนม ที่ต้องบอกเลยว่าสยองและน่ากลัวเอามากๆ ซึ่งในปีที่ ๒๖ แห่งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีชนเผ่าหนึ่งอยู่ทางตอนเหนือของหลวงพระบาง ภายในราชอาณาจักรลาว โดยเรียกตนเองว่า "ญ้อ" มี "ท้าวหม้อ" เป็นหัวหน้า ภรรยาชื่อ "สุนันทา" ปกครองเมืองหงสาวดีซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง

 

ต่อมาเกิดมีการแย่งความเป็นใหญ่กันขึ้น ท้าวหม้อสู้ไม่ได้จึงได้อพยพภรรยาบุตร และบ่าวไพร่ ประมาณ ๑๐๐ คน ล่องแพมาตามแม่น้ำโขง พอมาถึงนครเวียงจันทน์ท้าวหม้อขอสวามิภักดิ์พึ่งพระบรมโพธิสมภารต่อเจ้าอนุวงศ์เจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์จึงอนุญาตให้ไปตั้งเมืองอยู่ที่ปากน้ำสงคราม ซึ่งเป็นชัยภูมิดีเหมาะแก่การเพาะปลูกทุกอย่าง อีกทั้งข้าวปลาอาหารก็อุดมสมบูรณ์ หลังจากสร้างเมืองขึ้นเรียบร้อยแล้ว เจ้าอนุวงศ์ก็ตั้งท้าวหม้อเป็น "พระยาหงสาวดี" มีเมืองที่สร้างขึ้นใหม่อยู่ริมปากน้ำสงครามข้างเหนือ หรือฝั่งขวาของแม่น้ำโขง มีนามเมืองแห่งนี้ว่า "เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี" (ปัจจุบันมีฐานะเป็นแค่ตำบลไชยบุรี อยู่เหนืออำเภอท่าอุเทน ขึ้นไป ๑๖ กิโลเมตร)

 

หมู่บ้านไร้คน บรรยากาศสุดขนลุก น่ากลัวชวนเขย่าขวัญ

 

ฝ่ายพรรคพวกและชาวประชาทราบข่าว "ท้าวหม้อ" ได้เป็นเจ้าเมืองปกครองบ้านเมืองให้มีความสุขสบายจึงได้พากันอพยพครอบครัวมาสมทบกันมากขึ้น ทำให้พลเมืองในไชยสุทธิอุตตมบุรีมีมากถึง ๕๐๐ คน ในปี พ.ศ.๒๓๕๗ หรือหลังจากสร้างเมืองได้ ๖ ปี ตรงกับแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ พระยาหงสาวดี(หม้อ) และอุปฮาด(เล็ก) ได้ร่วมใจกันสร้าง "วัดไตรภูมิ" ขึ้น ซึ่งมีชื่อเรียกในเวลาต่อมาว่า "วัดศรีสุนันทราอาราม" ซึ่งตั้งอยู่ปากน้ำสงครามด้านเหนือ

ครั้งปีกุน อัฏฐศก จุลศักราช ๑๑๘๘ พ.ศ.๒๓๖๙ อันเป็นปีที่ ๔ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์เป็นกบฏต่อกรุงเทพฯ แต่ก็พ่ายแพ้แก่พระบรมเดชานุภาพ เจ้าอนุวงศ์หนีไปขอพึ่งญวนฝ่ายพระยาหงสาวดีแห่งเมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี เดิมที่เคยพึ่งบารมีเจ้าอนุวงศ์เกิดมีความหวาดกลัวภัยจากกองทัพกรุงเทพฯ ประกอบกับชาวบ้านเกิดโรคระบาดด้วย จำเป็นต้องตัดสินใจละทิ้งเมืองพาครอบครัวและชาวเมืองอพยพข้ามแม่น้ำโขง เพราะอยู่ที่เดิมเกรงจะไม่ปลอดภัย

 

หมู่บ้านไร้คน บรรยากาศสุดขนลุก น่ากลัวชวนเขย่าขวัญ

 

ขณะที่ข้ามแม่น้ำโขง พระยาหงสาวดีได้ขี่ม้าตัวเมียชื่อ "อีก้อม" ฝ่ากระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว อีก้อมได้พาพระยาหงสาวดีผ่านมาได้จนสำเร็จ แต่พอถึงชายหาดฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงก็ถึงแก่ความตายศพม้าจึงถูกฝังไว้ที่ชายหาดนั้น ผู้คนที่ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกับชายหาดนั้นเลยพากันตั้งชื่อหมู่บ้านนั้นว่า "บ้านหาดอีก้อม" ทุกวันนี้ยังมีชื่อปรากฏอยู่

พอพระยาหงสาวดีพาผู้คนอพยพไปเรียบร้อยแล้ว ได้พักอยู่ที่ท่าจำปาก่อน จากนั้นได้เดินทางต่อไปถึงเมืองญวน และได้สร้างเมืองขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยให้นามเมืองที่สร้างครั้งนี้ว่า "เมืองหลวงปุงลิง" บางคนก็เรียกว่า "โปงเลง" หลังจากสร้างเมืองหลวงปุงลิง ผ่านไปประมาณ ๑ ปี พระยาหงสาวดี (ท้าวหม้อ) และอุปฮาด (เล็ก) ก็ถึงแก่กรรมที่เมืองนั้น เนื่องจากเมืองหลวงปุงลิงเป็นเมืองขึ้นของญวน เจ้ากรุงเว้อานามจึงได้แต่งตั้งกรรมการขึ้นใหม่มีดังต่อไปนี้

 

หมู่บ้านไร้คน บรรยากาศสุดขนลุก น่ากลัวชวนเขย่าขวัญ

 

ท้าวประทุม เป็นเจ้าเมือง ท้าวจรรยา เป็นอุปฮาด หมายถึงผู้ได้รับอำนาจสมบัติกึ่งหนึ่ง ท้าวจันทร์ศรีสุราช (โสม) บุตรพระยาหงสาวดี (ท้าวหม้อ) เป็นราชวงศ์ โดยตำแหน่งต้องเป็นเชื้อสายเครือญาติเจ้าเมือง มีหน้าที่เกี่ยวกับตัดสินคดีชำระถ้อยความ ท้าวปุตร เป็นราชบุตร แปลว่า ลูกเจ้าเมือง แต่กรรมการเมืองไม่พอใจขึ้นกับญวน เพราะไม่ใช่ชนชาติเดียวกัน ทั้งการคมนาคมไปมาก็ไม่สะดวกและห่างไกลกันมาก แต่ก็ต้องจำใจเป็นเมืองขึ้นไปก่อน เพราะเกรงอำนาจบารมี เนื่องจากที่พึ่งเดิมทางเวียงจันทน์ยังระส่ำระส่ายอยู่ เลยพยายามคิดหาหนทางและคอยโอกาสหนี เพื่อไปขอพึ่งพระบรมโพธิสมภารของเจ้ากรุงสยาม

 

ครั้น พ.ศ.๒๓๗๓ เจ้าอนุวงศ์กลับจากเมืองญวนมานครเวียงจันทน์อีกและคิดกบฏต่อกรุงเทพฯ อีกเป็นครั้งที่ ๒ พระยาราชสุภาวดี (สิงห์ สิงหเสนีย์) ได้เป็นแม่ทัพคุมกองขึ้นมารบกับเจ้าราชวงศ์ แม่ทัพนครเวียงจันทน์ที่ค่ายบุกหวาน เจ้าราชวงศ์ต้องอาวุธในที่รบ จึงหนีทัพกลับไปนครเวียงจันทน์พร้อมกับเจ้าอนุวงศ์ซึ่งต่างคนต่างก็พ่ายแพ้กองทัพไทย หนีไปเมืองญวนอีก แม่ทัพไทยตามจับเจ้าอนุวงศ์และครอบครัวได้ จึงนำตัวลงไปกรุงเทพฯ

 

หมู่บ้านไร้คน บรรยากาศสุดขนลุก น่ากลัวชวนเขย่าขวัญ

 

ส่วนเจ้าราชวงศ์ยังจับไม่ได้ พระยาราชสุภาวดีแม่ทัพใหญ่จัดให้พระวิชิตสงครามเป็นแม่ทัพคุมทัพอีกกองหนึ่งไปตั้งอยู่ที่นครพนม ให้ตรวจตราด่านช่องทางคอยสืบจับตัวเจ้าราชวงศ์ ราชวงศ์เสนเมืองเขมราฐเป็นแม่ทัพอีกกองคุมไพร่พลเมืองอุบล เมืองยโสธร จำนวน ๑๘๐ คน ไปตั้งอยู่ที่เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่นั้น ให้รักษาปากน้ำสงครามอันเป็นด่านช่องทางของกองทัพนครเวียงจันทน์เข้าออกให้กวดขัน และให้สืบจับเจ้าราชวงศ์นครเวียงจันทน์ต่อไป

ครั้นการศึกสงครามขบถเวียงจันทน์สงบลงแล้ว ราชวงศ์เสนและกรมการเมืองได้พร้อมใจกันปฏิสังขรณ์วัดวาอารามและสร้างเมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี ซึ่งชำรุดทรุดโทรมอยู่ให้มีสภาพดีขึ้น และเกลี้ยกล่อมครอบครัวชาวเมืองคำม่วน-คำเกิด ให้ข้ามแม่น้ำโขง มาตั้งภูมิลำเนาอยู่เป็นจำนวนมาก รวมชายฉกรรจ์ได้ ๖๐๐ คน เมืองไชยสุทธิอุตตมบุรี ต่อมาถูกเรียกหดสั้นเข้าไปเป็น"เมืองไชยบุรี"

 

หมู่บ้านไร้คน บรรยากาศสุดขนลุก น่ากลัวชวนเขย่าขวัญ

 

ต่อมา พ.ศ.๒๓๗๖ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา(สิงห์ สิงหเสนีย์) เป็นแม่ทัพใหญ่ ยกกองทัพขึ้นไปสู้กับญวน เพื่อป้องกันมิให้เขมรถูกกลืนชาติ คณะกรมการเมืองหลวงปุงลิงเห็นเป็นโอกาสเหมาะหากันปรึกษาหารือและลงความเห็นว่า บัดนี้ควรฉวยโอกาสที่ญวนมัวสนใจกับการทำศึกสงครามกับไทยอยู่ คงมิได้ระวังสงสัยพวกของตน จึงน่าจะหลบหนีจากเมืองปุงลิง เมื่ออพยพมาถึงริมฝั่งแม่น้ำโขง โดยพาผู้คนมาตั้งหลักอยู่ที่ดอนทราย กลางแม่น้ำโขง(นาเหนือ) ตรงข้ามท่าอุเทนในปัจจุบัน และส่งคนไปสืบดูลาดเลาทางเมืองไชยสุทธิอุตตมบุรีเดิม หากยังคงเป็นเมืองร้างอยู่ ก็จะกลับเข้าไปอยู่ดังเดิม

 

พอไปถึงปรากฏว่าภายในเมืองไชยบุรีมีแม่ทัพนายกอง ตั้งมั่นรักษาเมืองอย่างแข็งขันอีกทั้งยังมีผู้คนอาศัยอยู่อย่างเนืองแน่น จึงพากันเข้าไปขอสวามิภักดิ์เป็นข้าขอบขัณฑสีมาอาณาจักรกรุงสยาม ในระยะนี้ราชวงศ์เสนไม่ได้รับโปรดเกล้าฯ จากเจ้ากรุงสยาม ราชวงศ์เสนและคณะกรมการเมืองพร้อมด้วยแม่ทัพนายกอง มีหนังสือบอกข้าราชการและพาตัวเจ้าเมือง และคณะกรรมการเมืองปุงลิงข้ามแม่น้ำโขงมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งไทยและให้ชื่อว่า“บ้านท่าอุเทน”

 

หมู่บ้านไร้คน บรรยากาศสุดขนลุก น่ากลัวชวนเขย่าขวัญ

 

ครั้น พ.ศ.๒๓๘๐ ซึ่งเป็นปีที่ ๑๕ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ มีท้องตราพระราชสีห์โปรดเกล้าฯ ให้เมืองท่าอุเทนขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มิต้องขึ้นกับเมืองยโสธร นคร พนมเหมือนแต่ก่อน เขตแดนของเมืองท่าอุเทนนั้น มิได้แบ่งเพราะอยู่ในเขตแดนเมืองนครพนม ให้เมืองท่าอุเทนช่วยกันพิทักษ์รักษาตามเขตแดนเมืองนครพนมไปก่อน โดยมีพระศรีวรราช(พระปทุม) เป็นเจ้าเมืองท่าอุเทนคนแรกในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๕๖ มหาอำมาตย์โท พระยาอำมาตยาธิบดี เมื่อสมัยยังดำรงตำแหน่งเป็นรองเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ได้มาตรวจราชการที่เมืองนครพนมเห็นว่า ที่ตั้งอำเภอไชยบุรีอยู่ปากน้ำสงครามไม่เหมาะสม

ปัจจุบันผู้สืบสายเลือดของชาวไทยญ้อ ได้กระจัดกระจายไปอยู่ตามท้องที่ของอำเภอต่างๆ อุปนิสัยใจคอส่วนมากร้อยละ ๙๕ มีความซื่อสัตย์สุจริต รักความสงบ มีความสามัคคีกันดี เวลามีงานปลูกบ้าน ทำบุญ แต่งงาน ลงนา ฯลฯ จะให้ความร่วมมือร่วมแรงกันอย่างแข็งขัน เอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวไทยญ้อที่ไม่เหมือนใคร คือ ที่บรรจุอัฐิของบรรพบุรุษชาวไทยญ้อจะปลูกเป็นเรือนเล็กๆ เรียงรายกันไปตามชายป่าหรือในเขตวัด เวลามองมาแต่ไกลไม่ต่างกับหมู่บ้านขนาดหย่อม ทั้งนี้เพราะฐานะทางเศรษฐกิจชาวไทยญ้อค่อนข้างยากจน

 

หมู่บ้านไร้คน บรรยากาศสุดขนลุก น่ากลัวชวนเขย่าขวัญ

 

จึงเก็บอัฐิตามที่ฐานะจะอำนวยให้ เวลามีงานศพทุกคนจะสละเวลาและหน้าที่การงานของตนมาช่วยเหลือกันจริงๆ โดยจะช่วยกันเสียเงินคนละ ๓-๔ บาทต่อศพ ตามคุ้มวัดหรือหมู่บ้านที่ตนสังกัด คือบางคุ้มก็เสียศพละ ๓ บาท บางคุ้มก็เสีย ๕ บาท แต่ตามชนบท หมู่บ้านที่มีพลเมืองน้อยเสียคนละ ๑๐ บาทประเพณีการเก็บอัฐิที่เห็นได้เด่นชัด ซึ่งชาวไทยญ้อได้อนุรักษ์ไว้เป็นเอกลักษณ์ที่วัดร้อยป่าอรัญญา ตำบลบ้านขวางคลี อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม