- 18 ธ.ค. 2562
ที่ห้องพิจารณา 902 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาครั้งที่ 3 คดีหมายเลขดำ อ.830/2549 ที่นางกรองกาญจน์ ถิ่นอ่อน อายุ 59 ปี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ต.สมิง รอดรัตษะ อดีต สว.สส.สน.พญาไท (ปัจจุบันยศ พ.ต.อ.) , ร.ต.อ.พรรณศักดิ์ วรบูลย์สวัสดิ์ อดีต รอง สว.สส.สน.พญาไท (ปัจจุบันยศ พ.ต.อ.) , ร.ต.อ.กิตติพงษ์ สิมมาลี , ด.ต.ภิญโญ แสงทิพย์ , ด.ต.อภิทักษ์ แก้วเกลื่อน , ด.ต.อวยชัย ทับสุรีย์ , จ.ส.ต.บุญเรือง บุตรวงศ์ , จ.ส.ต.รุ่งทิพย์ขำ , จ.ส.ต.(หญิง) ศศิธร ทับสุรีย์ , จ.ส.ต.วันเผด็จ แท่นรัตน์
ที่ห้องพิจารณา 902 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก เมื่อเวลา 10.00 น. ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาครั้งที่ 3 คดีหมายเลขดำ อ.830/2549 ที่นางกรองกาญจน์ ถิ่นอ่อน อายุ 59 ปี เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ต.สมิง รอดรัตษะ อดีต สว.สส.สน.พญาไท (ปัจจุบันยศ พ.ต.อ.) , ร.ต.อ.พรรณศักดิ์ วรบูลย์สวัสดิ์ อดีต รอง สว.สส.สน.พญาไท (ปัจจุบันยศ พ.ต.อ.) , ร.ต.อ.กิตติพงษ์ สิมมาลี , ด.ต.ภิญโญ แสงทิพย์ , ด.ต.อภิทักษ์ แก้วเกลื่อน , ด.ต.อวยชัย ทับสุรีย์ , จ.ส.ต.บุญเรือง บุตรวงศ์ , จ.ส.ต.รุ่งทิพย์ขำ , จ.ส.ต.(หญิง) ศศิธร ทับสุรีย์ , จ.ส.ต.วันเผด็จ แท่นรัตน์
และ ส.ต.ท.สุธรรม แย้มช่วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน สน.พญาไท (ยศและตำแหน่งขณะเกิดฟ้องปี 2549) เป็นจำเลยที่ 1-11 ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ เพื่อให้เกิดความเสียหายกับผู้อื่น , เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่ทำเอกสารรับรองหลักฐานฯ อันเป็นเท็จ , ผู้ใดแจ้งข้อความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่อัยการ ผู้ว่าคดีฯ , ผู้ใดขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดหรือจำยอมต่อสิ่งใด โดยทำให้กลัวว่าจะเกิดอันตรายต่อชีวิต เสรีภาพ ทรัพย์สินฯ และผู้ใดหน่วงเหนี่ยวกักขังผู้อื่นทำให้ปราศจากเสรีภาพฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 162, 172, 309, 310 ทวิ
สืบเนื่องจากกรณีเมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2548 จำเลยที่ 1-11 ร่วมกันแสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่เป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับกุม นางกรองกาญจน์ โจทก์ โดยไม่มีหมายจับของศาล และใช้กำลังและอาวุธบังคับขืนใจโจทก์ให้ขึ้นรถยนต์ไปกับพวกจำเลย ซึ่งระหว่างนั้นใช้ถุงดำคลุมศีรษะและรัดคอโจทก์ไว้ เพื่อข่มขู่ให้โจทก์รับสารภาพคดีมียาบ้าจำนวน 100 เม็ด ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งโจทก์ได้ปฏิเสธแต่จำเลยไม่ยอมปล่อยตัวและไม่นำส่งพนักงานสอบสวนหรือพาไปยังสถานีตำรวจ กลับให้โจทก์พาไปโกดังของโจทก์เพื่อตรวจค้น แต่ก็ไม่พบสิ่งผิดกฎหมาย แล้วจำเลยกับพวก กลับร่วมกันทำเอกสารการจับกุมและเอกสารอื่นๆ อันเป็นเท็จ โดยบังคับให้โจทก์ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวได้จัดพิมพ์ไว้แล้ว ซึ่งมีข้อความว่ารับสารภาพ
คดีนี้จำเลยทั้งหมดให้การปฏิเสธ ขณะที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2552 เห็นว่า พยานโจทก์เบิกความสอดคล้องเป็นลำดับขั้นตอน หากไม่เป็นความจริงก็ยากที่จะปั้นแต่งเรื่องขึ้นเอง และยังสอดคล้องกับหนังสือร้องขอความเป็นธรรม ถึง ผบ.ตร. ลงฉบับวันที่ 22 ก.ย. 2548 ด้วย จึงฟังได้ว่า จำเลยที่ 1, 2, 7, 8, 10,11 ทำผิดตามฟ้อง ให้ลงโทษฐานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ตามมาตรา 157 ที่เป็นบทหนักสุด จำคุกคนละ 5 ปี ส่วนจำเลยที่ 6, 9 จำคุกคนละ 4 ปีฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบฯ ซึ่งจัดทำเอกสารเท็จ โดยยกฟ้องจำเลยที่ 3, 4, 5
ต่อมาจำเลยที่ 1, 2, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ยื่นอุทธรณ์ กระทั่งมีการอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2556 พิพากษาแก้เป็นให้ลดโทษ จำเลยที่ 1, 2, 7, 10 เหลือจำคุกคนละ 4 ปี และจำคุก 3 ปี จำเลยที่ 8, 11 โดยพิพากษาแก้ให้ยกฟ้องจำเลยที่ 6, 9 และพิพากษายืนยกฟ้องส่วนจำเลยที่ 3, 4, 5
จากนั้นจำเลยที่ 1, 2, 7, 8, 10, 11 ยื่นฎีกาสู้คดี ส่วนจำเลยที่ 3, 4, 5 โจทก์ไม่ได้ยื่นฎีกา หลังจากศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายืนยกฟ้อง คงฎีกาในส่วนจำเลยที่ 6, 9 ที่ศาลอุทธรณ์ยกฟ้อง
คดีนัดอ่านคำพิพากษาฎีกาครั้งแรกวันที่ 22 มี.ค. 2561 แต่เนื่องจากครั้งนั้น พ.ต.อ.สมิง จำเลยที่ 1 และ จ.ส.ต.(หญิง) ศศิธร จำเลยที่ 9 มีอาการป่วย โดยมีใบรับรองแพทย์มาแสดงศาลเชื่อว่าป่วยจริง จึงนัดอ่านคำพิพากษาฎีกาครั้งที่ 2 ในวันที่ 11 พ.ค.2561 แต่ปรากฏว่า เนื่องจาก ร.ต.อ.วันเผด็จ แท่นรัตน์ จำเลยที่ 10 ยื่นคำร้องขอกลับคำให้การเป็นรับสารภาพ และขอให้ศาลลงโทษสถานเบา ซึ่งศาลสอบถามคู่ความแล้วไม่คัดค้าน ศาลจึงส่งสำนวนและคำร้องของจำเลยที่ 10 กลับให้ศาลฎีกาพิจารณาอีกครั้ง กระทั่งนัดฟังคำพิพากษาฎีกาครั้งที่ 3 ในวันนี้ (18 ธ.ค. 2562) ขณะเดียวกัน พ.ต.อ.พรรณศักดิ์ วรบูลย์สวัสดิ์ จำเลยที่ 2 ก็ยื่นคำร้องขอกลับคำให้การเป็นรับสารภาพเช่นกัน
วันนี้ พ.ต.อ.สมิง จำเลยที่ 1 กับพวกจำเลยลูกน้องที่ได้ยื่นฎีกาและได้รับการประกันตัวเดินทางมาฟังคำพิพากษาศาลฎีกา โดยเมื่อถึงเวลานัด ศาลได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาในส่วนที่จำเลยที่ 2 และ 10 ยื่นคำร้องขอถอนคำให้การเดิมจากที่เคยให้การปฏิเสธ เป็นให้การรับสารภาพ ซึ่งศาลฎีกาเห็นว่าการถอนคำให้การของจำเลยที่ 2 และ 10 ต้องยื่นก่อนศาลมีคำพิพากษา พฤติการณ์เป็นลักษณะการประวิงเวลาอ่านคำพิพากษา จึงไม่อนุญาต โดยให้ยกคำร้องของจำเลยทั้งสอง
จากนั้นศาลได้อ่านผลคำพิพากษาศาลฎีกา โดยพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1, 2, 7, 8, 10, 11 กระทำความผิดฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 (เดิม) ประกอบมาตรา 83 ให้ลงโทษฐานปฏิบัติหน้าที่มิชอบซึ่งเป็นบทหนักสุด จากเดิมจำคุกจำเลยที่ 1, 2, 7, 10 คนละ 4 ปี เป็นจำคุกคนละ 3 ปี เพิ่มโทษปรับคนละ 2 หมื่นบาท ส่วนจำเลยที่ 8, 11 จากเดิมจำคุกคนละ 3 ปี เป็นจำคุกคนละ 2 ปี เพิ่มโทษปรับคนละ 2 หมื่นบาท โดยโทษจำคุกจำเลยทั้งหกให้รอลงอาญาไว้คนละ 2 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์