ครม.อนุมัติ งบกลาง 3,000 ล้าน ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง

อนุมัติด่วน!! งบกลาง 3,000 ล้าน ลุยแก้ปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศ

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2563 เพจเฟสบุ๊ค สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7 ได้โพสต์ภาพพร้อมข้อความว่า อนุมัติด่วน!! งบกลาง 3,000 ล้าน ลุยแก้ปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศ

ครม.อนุมัติ งบกลาง 3,000 ล้าน ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อน สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ รวมทั้งสิ้น 2,041 โครงการ ภายในวงเงิน 3,079,472,482 บาท

โดยให้ใช้จ่ายจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน จำนวน 2,295,698,982 บาท และให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลปรับแผนการดำเนินงานจากกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ไปพลางก่อน งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ในโครงการเพิ่มน้ำต้นทุนและระบบกระจายน้ำ เพื่อสนับสนุนแผนปฏิบัติการฟื้นฟูเยียวยา เกษตรกรผู้ประสบภัยฝนทิ้งช่วงและอุทกภัย ปี 2562 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562 และยังไม่ขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณ จำนวน 783,773,500 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้

ครม.อนุมัติ งบกลาง 3,000 ล้าน ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง

1. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปหักออกจากงบประมาณที่ได้รับในโครงการที่มีความซ้ำซ้อนจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ประกาศใช้บังคับแล้ว ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562

2. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเคร่งครัด เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำให้ทันภายในช่วงฤดูแล้ง และให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการ รวมถึงสรุปผลสัมฤทธิ์ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการในครั้งนี้ และรายงานผลการดำเนินการต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบเป็นระยะ ๆ ต่อไป

3. สำหรับกรณีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เห็นควรที่จะพิจารณาใช้จ่ายจากเงินสะสมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการดังกล่าวด้วย

ครม.อนุมัติ งบกลาง 3,000 ล้าน ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง

สาระสำคัญ/ข้อเท็จจริง

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ได้รายงานผลจัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้งปี 2562/63 ในการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม 2562 เพื่อทราบและเห็นชอบ สรุปรายละเอียดได้ ดังนี้

ครม.อนุมัติ งบกลาง 3,000 ล้าน ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง

1. ด้านอุปโภค-บริโภค

1.1 ในเขตพื้นที่บริการของการประปานครหลวง (กปน.) ได้จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 4 โครงการ วงเงิน 32,000,000 บาท โดยการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลประกอบด้วย 1) สถานีสูบจ่ายน้ำสำโรง 2) สถานีสูบจ่ายน้ำมีนบุรี 3) สถานีสูบจ่ายน้ำบางเขน และ 4) สถานีสูบจ่ายน้ำลาดกระบัง

1.2 ในเขตพื้นที่บริการของการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ได้ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในเขต รวม 61 สาขา 31 จังหวัด ครอบคลุมโรงพยาบาล ในพื้นที่เสี่ยง จำนวน 224 แห่ง โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง จำนวน 223 โครงการ วงเงิน 1,812,050,000 บาท โดย กปภ. ปรับแผนของตนเอง จำนวน 173 โครงการ วงเงิน 653,000,000 บาท และเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 50 โครงการ วงเงิน 1,159,050,000 บาท

1.3 ส่วนพื้นที่นอกเหนือจากข้อ 1.1 และ 1.2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำครอบคลุมพื้นที่เสี่ยง 43 จังหวัด 42,452 หมู่บ้าน ประกอบด้วย พื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำในระดับรุนแรง 1,270 หมู่บ้าน เสี่ยงขาดแคลนน้ำในระดับปานกลาง 1,927 หมู่บ้าน เสี่ยงขาดแคลนน้ำเล็กน้อย 935 หมู่บ้าน และไม่มีผลกระทบ 38,320 หมู่บ้าน โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งจำนวน 3,151 โครงการ วงเงิน 4,185,422,482 บาท โดยใช้งบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน1,160 โครงการ วงเงิน 2,265,000,000 บาท และขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 1,991 โครงการ วงเงินรวม 1,920,422,482 บาท ประกอบด้วย

ครม.อนุมัติ งบกลาง 3,000 ล้าน ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง

(1) ขุดเจาะบ่อบาดาล 1,100 โครงการ ดำเนินการโดยหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา 187 โครงการ กองทัพบก 209 โครงการ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 704 โครงการ วงเงิน 1,300,530,496 บาท

(2) จัดหาแหล่งน้ำผิวดิน 230 โครงการ ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 230 โครงการ วงเงิน 145,265,895 บาท

(3) ซ่อมแซมระบบน้ำประปา 654 โครงการ ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 654 โครงการ วงเงิน 450,856,091 บาท

(4) ในส่วนของโรงพยาบาล ได้มีการสำรวจโรงพยาบาลในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ จำนวน 157 โครงการ โดยมีแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง แบ่งเป็นขุดเจาะบ่อบาดาล 3 โครงการ ดำเนินการโดย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา 3 โครงการ วงเงิน 880,000 บาท และซ่อมแซมระบบน้ำประปา ดำเนินการโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 โครงการ วงเงิน 22,890,000 บาท

2. ด้านเกษตร

2.1 ในพื้นที่เขตชลประทาน มีมาตรการในการควบคุมจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนจัดสรรน้ำและสอดคล้องต่อปริมาณน้ำต้นทุน โดยมีการปรับแผนจัดสรรน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ – กลาง เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 มีการปรับแผนเพิ่มขึ้น จำนวน 587 ล้านลูกบาศก์เมตร จากแผนเดิม 11,984 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 12,570 ล้านลูกบาศก์เมตร แยกเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 14 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคตะวันออก 5 แห่ง ภาคกลาง 1 และภาคตะวันตก 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 11 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 3 แห่ง และภาคตะวันออก 8 แห่ง ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ควบคุมการจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนอย่างเคร่งครัด พร้อมประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่

2.2 นอกพื้นที่เขตชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมสำรวจพื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นเสี่ยงขาดแคลนน้ำ 2.6 ล้านไร่ พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำขั้นรุนแรง ยืนต้นตายจำนวน 0.37 ล้านไร่ ในพื้นที่ 30 จังหวัด โดยมอบกรมทรัพยากรน้ำ และกรมทรัพยากรน้ำบาดาล จะดำเนินการจัดหาแหล่งน้ำต้นทุนสนับสนุน พร้อมทั้งจัดทำแผนและมาตรการเสนอโดยด่วนต่อไป

3. ด้านการเตรียมความพร้อมรับมือ
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาและกองทัพบก ได้เตรียมความพร้อมเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องมือและอุปกรณ์ รวม 4,192 เครื่อง แบ่งเป็นรถบรรทุกน้ำและรถผลิตน้ำ 1,517 เครื่อง เครื่องจักรและเครื่องขุด 175 เครื่อง และเครื่องเจาะบ่อและสูบน้ำ 2,500 เครื่อง โดยมอบหมายให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยรับไปดำเนินการวางแผนการใช้เครื่องจักรเครื่องมือ เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งต่อไป

ครม.อนุมัติ งบกลาง 3,000 ล้าน ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง

จากข้อเท็จจริงดังกล่าวข้างต้น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติจึงจำเป็นต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ปี 2562 ไปพลางก่อนจำนวน 3,079,472,482 บาท สำหรับใช้เป็นค่าใช้จ่ายในโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/63

ครม.อนุมัติ งบกลาง 3,000 ล้าน ช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง

ขอบคุณข้อมูลสจาก : เพจเฟสบุ๊ค สำนักประชาสัมพันธ์เขต 7