ศาลปกครองสูงสุด พลิกคำสั่งศาลปกครองกลาง  คืนสิทธิ์ "ซีพี" ร่วมประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา

ถือเป็นอีกหนึ่งคดีประวัติศาสตร์ไปในทันที สำหรับคดีโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก หมายเลขดำที่ อ.381/2562 ระหว่าง บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวกรวม 5 คน ในฐานะกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัทธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) ประกอบด้วย บริษัทธนโฮลดิ้ง จำกัด บริษัท Orient Success International Limited บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ช.การช่าง จํากัด (มหาชน) และบริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ฟ้อง กับคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีพิพาท เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ


ถือเป็นอีกหนึ่งคดีประวัติศาสตร์ไปในทันที  สำหรับคดีโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก  หมายเลขดำที่ อ.381/2562 ระหว่าง บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวกรวม 5 คน  ในฐานะกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัทธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) ประกอบด้วย บริษัทธนโฮลดิ้ง จำกัด บริษัท Orient Success International Limited บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ช.การช่าง จํากัด (มหาชน) และบริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ฟ้อง  กับคณะกรรมการคัดเลือกของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ในฐานะผู้ถูกฟ้องคดีพิพาท  เกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ
 

หลังจากก่อนหน้านั้น  คณะกรรมการคัดเลือกของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก   มีมติไม่รับซองข้อเสนอของผู้ฟ้องคดีบางรายการ   เช่น ข้อเสนอตัวจริงกล่องที่ 6 ซึ่งข้อเสนอทางเทคนิคและแผนธุรกิจ และตัวจริงกล่องที่ 9 ซึ่งเป็นข้อเสนอด้านราคา โดยในการยื่นข้อเสนอในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ตามหนังสือที่ กพอ.ทร.182/2562 ลว.10 เม.ย.2562 นั้น ด้วยเหตุผลว่า  ว่าบริษัทผู้ฟ้อง หรือ  บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด  โดยกลุ่มซีพี ได้ยื่นข้อเสนอดังกล่าวเกินกำหนดเวลา

 

ศาลปกครองสูงสุด พลิกคำสั่งศาลปกครองกลาง  คืนสิทธิ์ "ซีพี" ร่วมประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา


ต่อมาทาง กลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัทธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร  หรือกลุ่มซีพี ได้มีการยื่นคำร้องต่อศาลปกครองกลาง ให้เพิกถอนมติดังกล่าว  เนื่้องจากการพิจารณาในลักษณะดังกล่าว  เป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเดือดร้อนเสียหาย  
 

 

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2562 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้ยกฟ้องกลุ่มบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก  เนื่องจากพิเคราะห์แล้วเห็นว่า เอกสารการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนในโครงการนี้ในส่วนของสถานที่ วัน เวลาเปิดการรับซอง ปิดการรับซอง และการเปิดซองข้อเนอของผู้ยื่นข้อเสนอ กำหนดว่า จะเปิดให้การรับซองในวันที่ 21 มี.ค. 2562 เวลา 09.00 น. และปิดการรับซองข้อเสนอในวันเดียวกันเวลา 15.00 น. ตามเวลามาตรฐานไทย โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะไม่รับซองเอกสารข้อเสนอที่ยื่นภายหลังกำหนดเวลาการยื่นซองเอกสารข้อเสนอตามที่ระบุไว้ โดยบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก ได้ยื่นซองที่ 1 คุณสมบัติทั่วไป ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิคและแผนธุรกิจ ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านราคา และเอกสารซองที่ 4 ข้อเสนออื่น ๆ รวม 11 กล่อง

 

ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฎตามการรายงานของ สนข.อิศรา  ว่า   ในวันยื่นซองข้อเสนอเวลาประมาณ 12.21 น. บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก ได้นำข้อเสนอซองไม่ปิดผนึก (กล่องที่ 1) มายังสถานที่รับซอง และเวลา 13.52 น. ผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 ได้นำซองข้อเสนออีกจำนวน 8 กล่อง (รวม 9 กล่องจากทั้งหมด 11 กล่อง) เข้ามา ต่อมาในเวลา 15.00 น. คณะทำงานรับและจัดเก็บเอกสารข้อเสนอตรวจสอบหมายเลขซองข้อเสนอที่ระบุบนกล่องข้อเสนอทั้งหมดของผู้ฟ้องคดีทั้ง 5 ที่มาถึงสถานที่รับซองแล้ว พบว่า บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก มีความประสงค์จะยื่นข้อเสนอจำนวน 11 กล่อง แต่ข้อเสนอมีเพียง 9 กล่อง โดยขาดข้อเสนอ 2 กล่อง ได้แก่ กล่องที่ 6 (ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิคและแผนธุรกิจ) และกล่องที่ 9 (ซองที่ 3 ข้อเสนอด้านราคา) ต่อมาเวลาประมาณ 15.09 น. ซองข้อเสนอ 2 กล่อง ได้แก่ กล่องที่ 6 และกล่องที่ 9 มาถึงยังสถานที่รับซอง ซึ่งบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวกยอมรับตามคำชี้แจงเพิ่มเติมว่า ส่งมอบเอกสารดังกล่าวล่าช้า เนื่องจากการจราจรติดขัด 

 


รวมถึงเอกสารซองข้อเสนอของบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก จำนวน 2 กล่องดังกล่าว มาถึงยังสถานที่รับซองภายหลังเวลา 15.00 น. อันเป็นกำหนดเวลาปิดการรับซองตามที่ระบุไว้ในข้อ 31 (1) ของเอกสารการคัดเลือกฯ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ย่อมมีหน้าที่ปฏิเสธไม่รับกล่องดังกล่าวไว้พิจารณาในขั้นตอนต่อไปตามที่ระบุไว้ในข้อ 31 (3) โดยไม่สามารถพิจารณายกเว้นให้แก่บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก เป็นกรณีพิเศษได้   

 

ศาลปกครองสูงสุด พลิกคำสั่งศาลปกครองกลาง  คืนสิทธิ์ "ซีพี" ร่วมประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา

มิเช่นนั้นจะเป็นการเลือกปฏิบัติต่อเอกชนรายใดรายหนึ่ง และทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม   ดังนั้นมติของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ในการประชุมครั้งที่ 6/2562 วันที่ 10 เม.ย. 2562 ที่ไม่รับซองข้อเสนอร่วมลงทุนกับรัฐในโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ ของบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก ส่วนของซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนและแผนธุรกิจ กล่องที่ 6 และซองที่ 3 ข้อเสนอด้านราคา กล่องที่ 9 กับฉบับสำเนา จึงชอบด้วยกฎหมาย

 


อย่างไรก็ตาม ทางกลุ่มกิจการค้าร่วมบริษัท ธนโฮลดิ้งฯ   ได้ยื่นอุทธรณ์คดีดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุด  เมื่อวันที่ 16 ก.ย.2562   โดยอ้างอิงข้อเท็จจริงว่าเอกสารบางส่วนได้ถูกนำส่งต่อ  คณะกรรมการคัดเลือกของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก   เป็นที่เรียบร้อยแล้ว  ยกเว้นเอกสาร กล่องที่ 6 และกล่องที่ 9  ซึ่งมาถึงยังสถานที่รับซองข้อเสนอภายหลังเวลา 15.00 น.  เนื่องจากในวันดังกล่าวการจราจรติดขัด  และ การให้ผู้ฟ้องคดียื่นซองข้อเสนอให้ครบถ้วนย่อมก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับรัฐมากกว่าการยึดถือเวลาเพียง 9 นาที 


ล่าสุดวันที่ 10  ม.ค. 2563   ศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาให้กลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร   ได้กลับเข้าสู่กระบวนการคัดเลือกเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 3 แสนล้านต่อไป   กับ    กลุ่มกิจการร่วมค้า BBS  อันประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์  และ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น และกลุ่มแกรนด์ คอนซอร์เตี้ยม บมจ.แกรนด์ แอสเสท โฮเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้, บมจ.เอเชีย เอวิเอชั่น และ บมจ.คริสเตียนีและนีลเส็น 


เนื่องจากเห็นว่าการที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ มีมติไม่รับซอง 2 กล่องที่ 6 (ด้านเทคนิค) และซอง 3 กล่องที่ 9(ด้านราคา) โดยระบุว่า  กลุ่มธนโฮลดิ้งฯ  ยื่นเอกสารหลังเวลา 15.00 น. เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย   เนื่องจากเอกชนทุกรายที่เข้ายื่นเอกสารได้ลงทะเบียนแจ้งความจำนง  ในสถานที่กำหนดก่อนเวลา 15.00 น. โดยกลุ่มธนโฮลดิ้งลงทะเบียนในเวลา 12.20 น. และนำเอกสารและสำเนาทุกกล่องมายังสถานที่ที่กำหนดแล้ว  และการไม่รับไม่มีผลกับการเป็นคู่สัญญาหรือไม่ เพราะสุดท้ายคณะกรรมการคัดเลือก   จะเป็นผู้คัดเลือกโดยเปรียบเทียบกับเอกชนรายอื่นเพื่อให้ได้รับประโยชน์และข้อเสนอที่ดีที่สุดอยู่แล้ว


อย่างไรก็ตามกรณีที่เกิดขึ้น สนข.อิศรา ได้เคยแสดงแนวคำพิพากษาคดีของศาลปกครองสูงสุด ที่ตัดสินคดีกรณีเอกชนถูกตัดสิทธิไม่ให้เข้าร่วมการประมูลงานของรัฐ   อันเป็นผลมาจากการที่ผู้เสนอราคามาไม่ทันเวลากำหนดลงทะเบียนเข้าร่วมการเสนอราคาที่เคยตัดสินเป็นบรรทัดฐานไว้เช่นกัน   และส่วนใหญ่ของนัยสำคัญของการตัดสินคดีส่วนใหญ่ พบว่า  ข้อกำหนดเรื่องเวลา ถือเป็นสาระสำคัญของการเข้าร่วมประมูลไม่ว่าจะมาช้าหรือมาสายกี่วินาที หรือนาทีก็ตาม ทั้งมีการถือเป็นแนวคำวินิจฉัยคดีมาโดยตลอด

 

 

ศาลปกครองสูงสุด พลิกคำสั่งศาลปกครองกลาง  คืนสิทธิ์ "ซีพี" ร่วมประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา

 

ศาลปกครองสูงสุด พลิกคำสั่งศาลปกครองกลาง  คืนสิทธิ์ "ซีพี" ร่วมประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา

 

 

ศาลปกครองสูงสุด พลิกคำสั่งศาลปกครองกลาง  คืนสิทธิ์ "ซีพี" ร่วมประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา