นายกฯนักประดิษฐ์ แนะภาครัฐส่งเสริม SME แก้ไขปัญหาทางกฎหมาย ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจปี เผาจริง

นายกฯนักประดิษฐ์ แนะภาครัฐส่งเสริม SME แก้ไขปัญหาทางกฎหมาย ฝ่าวิกฤตเศรษฐกิจปี เผาจริง

นายภณวัชร์นันท์ ไกรมาตย์ นายกสมาคมนักประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงการดำเนินในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ เอสเอ็มอี ในปี 2563 นี้ว่า ตนเห็นว่า SME มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจในหลาย ๆ ด้าน ทั้งทางด้านการผลิต การจ้างงาน การลงทุน และการ ส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการให้กับประชาชนคนไทย รวมทั้ง มีผู้รู้ทางเศรษฐกิจหลายคนบอกว่า ปีนี้เศรษฐกิจจะเกิดวิกฤตอย่างจริงหรือเป็นปี ‘เผาจริง’ ดังนั้น การส่งเสริมให้เกิดโครงการสตาร์ทอัพหรือเอสเอ็มอี จึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะสามารถแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ดังกล่าวได้

นายภณวัชร์นันท์ กล่าวต่อว่า ถึงแม้ว่า SME จะมีบทบาทที่สำคัญต่อระบบ เศรษฐกิจ แต่ SME ก็มีข้อจากัดและอุปสรรคในการดำเนิน กิจการหลายด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ SME มีขนาดเล็ก จึงทาให้เสียเปรียบธุรกิจขนาดใหญ่ที่ได้ประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด (economies of scale) โดยเฉพาะในด้าน การผลิตที่ต้องอาศัยการลงทุนในเครื่องจักรและเทคโนโลยีที่มีต้นทุนสูง และการเข้าถึงตลาด ยิ่งไปกว่านั้น SME จำนวนมาก ยังประสบปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งข้อจำกัดในการ เข้าถึงเทคโนโลยี ตลาด และเงินทุนดังกล่าวทำให้ SME จำนวนมากไม่สามารถขยายกิจการและเติบโตเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ได้ ดังนั้น ตนเห็นว่า ถึงแม้ว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบ รวมถึง หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เตรียมแผนส่งเสริมผู้ประกอบการผ่าน กลไกการพัฒนา 4 ตัว คือ 1.การปลดล็อกข้อจำกัดทางกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ 2.การสร้างความสามารถของกำลังคน 3.โครงสร้างพื้นฐานสำคัญและสิ่งอำนวยความสะดวก และ4.การยกระดับเครือข่ายพันธมิตรต่างประเทศ ก็ตาม แต่ตนก็อยากจะเสนอว่า ขอให้ทางข้าราชการต้องหันมาส่งเสริมประชาชนให้มีการดำเนินธุรกิจ โดยกฎระเบียบที่ไม่เอื้ออำนาจต่อธุรกิจต้องเปลี่ยนแปลงจากบังคับมาส่งเสริม และฝากสังคมไทยเลิกนำเข้าสินค้าที่ฟุ่มเฟือยมาขายและส่งออกไปในราคาถูก  เพราะสินค้าเหล่านั้นบางรายละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา บางรายไร้คุณภาพจะทำให้ เสื่อมเสียชื่อเสียงของชาติไทย และอนาคตจะทำให้ คำว่า Made in thailand ขาดความน่าเชื่อถือ

และนวัตกรรมหรือสินค้าที่ผลิตควรเน้นคุณภาพ และรัฐส่งเสริมด้านภาษี จะทำให้ ธุรกิจ SME ของชาติไทยอยู่รอดท่ามกลางสถานการณ์ที่เป็นวิกฤตการณ์ต่างๆ ได้

“รัฐบาลในหลาย ๆ ประเทศได้เล็งเห็นความสาคัญของ SME ต่อ การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และตระหนักถึงข้อจำกัด ของผู้ประกอบการ SME จึงได้มีนโยบายในการส่งเสริมการ ประกอบธุรกิจของ SME หลายประการ ซึ่งนโยบายหลัก ประการหนึ่ง คือนโยบายส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อให้ SME อย่างไรก็ตาม การที่ SME มีความหลากหลายมาก นโยบาย ส่งเสริมต่าง ๆ จะประสบความสาเร็จได้นั้นต้องอาศัยความรู้ ความเข้าใจถึงความหลากหลายดังกล่าว ดังนั้น ภาครัฐควรเป็นเจ้าภาพหรือเป็นผู้ชี้นำ

แนวทางในสร้าง SME และต้องส่งเสริมนวัตกรรมหรือสินค้าที่ผลิตควรเน้นคุณภาพ และรัฐส่งเสริมด้านภาษี จะทำให้ ธุรกิจ SME ของชาติไทยอยู่รอด ลองมองภาพดูว่า ห้องแถวที่ร้างมีธุรกิจเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด ธุรกิจของชาติไทยจะเป็นอย่างไร สภาพเศษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไรมีประชาชนและนักท่องเที่ยว นักธุรกิจยืนดูเลือกซื้อสินค้าไทยไปจำหน่าย รัฐจะมีภาษีมากมาย จนสามารถนำภาษีมาลงทุนจัดการเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องน้ำให้เป็นระบบ ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาที่ซ้ำซากที่ประเทศไทยเผชิญมาเป็นเวลายาวนานด้วย” นายภณวัชร์นันท์กล่าว