ดร.สามารถ แกะปริศนา 3 ปมลึก ลุยสืบค้นหน้ากาก 200 ล้านชิ้น  สรุปแล้วใครกักตุน

ผลสืบเนื่องจากข้อครหาเรื่องการกักตุนหน้ากาก กลายเป็นความขัดแย้งถึงขั้นฟ้องร้องเอาผิด ล่าสุด ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ ขอเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ ให้รู้ความจริงเรื่องปมหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้น ใครกักตุน หรือแค่เข้าใจผิด

กลายเป็นข้อขัดแย้งถึงขั้นฟ้องร้องกันไปมา ระหว่างผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์  กับนายอัจฉริยะ  เรืองรัตนพงศ์  ประธานชมรมช่วยเหลืออาชญากรรม  สืบเนื่องจากประเด็นปัญหาว่าด้วยการแก้ไขปัญหา หน้ากากอนามัยขาดแคลน  ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงกับ แพทย์ พยาบาล และ บุคลากรทางการแพทย์   

 

ดร.สามารถ แกะปริศนา 3 ปมลึก ลุยสืบค้นหน้ากาก 200 ล้านชิ้น  สรุปแล้วใครกักตุน

 

ล่าสุด ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์  รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และ อดีตรองผู้ว่าฯกทม. ได้โพสต์ถึงประเด็นดังกล่าว  แสดงรายละเอียด ข้อพิสูจน์ว่าด้วยข้อเท็จจริง เรื่อง หน้ากากอนามัย ในความรับผิดชอบตามแนวทางบริหารจัดการของกระทรวงพาณิชย์ จากปริมาณการผลิตโดยองค์การเภสัชกรรม และ โรงงงานบริษัทเอกชน    ว่า   "ตามล่า!!!หน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้น"


ในขณะที่เชื้อโควิด-19  กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักครอบคลุมทุกมุมโลก  มนุษยชาติทั่วโลกต่างควานหาหน้ากากอนามัยมาใช้ป้องกันตัวเองจากเชื้อร้ายนี้  ทำให้ยอดความต้องการหน้ากากอนามัยพุ่งกระฉูดเกินกำลังผลิตไปอย่างมาก การขาดแคลนหน้ากากอนามัยจึงเกิดขึ้นไปทั่วทุกหย่อมหญ้า


ในประเทศไทยก็เช่นเดียวกัน    เราหาซื้อหน้ากากอนามัยในช่วงวิกฤตโควิด-19 ได้ยาก   ทำให้เกิดการครหาว่า    ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ทั้งๆ ที่มีข่าวเมื่อปลายเดือนมกราคม 2563   ว่ามีหน้ากากอนามัยอยู่ในสต๊อกถึง 200 ล้านชิ้น   หรืออาจเป็นเพราะหน้ากากจำนวนมากมหาศาลนี้ถูกกักตุนเพื่อแสวงหากำไรก้อนใหญ่   ตามที่มีข่าวเกรียวกราวเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2563   ว่ามีชายคนหนึ่งโพสต์เฟซบุ๊กอ้างว่ามีหน้ากากอนามัยถึง 200 ล้านชิ้น และตามด้วยข่าวที่กรมศุลกากรแถลงว่ามีการส่งออกหน้ากากอนามัยในช่วงเดือนมกราคม และเดือนกุมภาพันธ์ 2563 (ก่อนมีการประกาศให้หน้ากากอนามัยเป็นสินค้าควบคุมเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563) จำนวน 330 ตัน

 

ในช่วงที่ประชาชนคนไทยกำลังเดือดร้อนเช่นนี้ จะมีใครที่ใจไม้ไส้ระกำกล้ากระทำสิ่งเลวร้ายเช่นนี้ได้ ด้วยเหตุนี้ ผมจึงให้ความสนใจในการตามล่าหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้น ด้วยการแสวงหาข้อมูลจากหลากหลายแหล่ง จึงนำมาสู่คำถามและคำตอบ ดังนี้

1. มีหน้ากากอนามัยในสต๊อก 200 ล้านชิ้น จริงหรือไม่?

ในสถานการณ์ปกติที่ไม่มีโควิด-19 โรงงานผลิตหน้ากากอนามัยจำนวน 11 โรงงาน สามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้วันละ 1.2 ล้านชิ้น ดังนั้น หากต้องการผลิตหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้น จะต้องใช้เวลา 167 วัน หรือประมาณ 5 เดือนครึ่ง นั่นหมายความว่าถ้าโรงงานเหล่านี้ต้องการเก็บหน้ากากอนามัยไว้ในสต๊อกโดยไม่ปล่อยขายเลยจะต้องใช้เวลาถึง 5 เดือนครึ่ง จึงจะสามารถสะสมหน้ากากอนามัยได้ 200 ล้านชิ้น แต่ในความเป็นจริง

 

ทุกโรงงานเมื่อผลิตออกมาแล้วจะปล่อยขายทันที อาจจะเก็บไว้ในสต๊อกบ้างเป็นจำนวนไม่มาก เช่นประมาณ 10% ของจำนวนที่ผลิตได้ในแต่ละวัน ซึ่งคิดเป็น 120,000 ชิ้นต่อวัน ดังนั้น หากต้องการสะสมให้ได้ถึง 200 ล้านชิ้น จะต้องใช้เวลานานถึง 1,667 วัน หรือประมาณ 4 ปีครึ่ง ถามว่าจะมีโรงงานไหนที่จะเก็บหน้ากากอนามัยไว้นานถึงเพียงนั้น ซึ่งจะทำให้มีต้นทุนทางธุรกิจสูงขึ้นโดยไม่จำเป็น อีกทั้ง จะทำให้หน้ากากอนามัยเสื่อมคุณภาพ เพราะหน้ากากอนามัยมีอายุการใช้งานไม่เกิน 3 ปีเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ จึงสรุปได้ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีหน้ากากอนามัยอยู่ในสต๊อกถึง 200 ล้านชิ้น แต่เป็นไปได้ที่โรงงานเหล่านั้นจะเก็บวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้นไว้ล่วงหน้า เพราะเกรงว่าราคาวัตถุดิบอาจจะแพงขึ้น

 

ผมได้อ่านข่าวออนไลน์ของ CNN พบว่าเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ประเทศสหรัฐอเมริกามีหน้ากากอนามัยอยู่ในสต๊อกเพียง 30 ล้านชิ้นเท่านั้น อเมริกามีประชากร 331 ล้านคน ในขณะที่ไทยมีเพียง 66.6 ล้านคน แล้วเราจะมีหน้ากากอนามัยในสต๊อกได้ถึง 200 ล้านชิ้น ได้อย่างไร? ข่าวนี้จึงเป็นการตอกย้ำว่าเป็นไปไม่ได้ที่เราจะมีหน้ากากอนามัยในสต๊อกถึง 200 ล้านชิ้น

 

2. มีการกักตุนหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้น จริงหรือไม่?

ตามที่มีข่าวโด่งดังเมื่อต้นเดือนมีนาคม 2563 ว่ามีชายคนหนึ่งโพสต์เฟซบุ๊กอ้างว่ามีหน้ากากอนามัยถึง 200 ล้านชิ้นนั้น ลองคิดว่าดูว่าเขาจะต้องใช้เวลานานกี่ปีจึงจะสามารถสะสมหน้ากากอนามัยได้ถึง 200 ล้านชิ้น หากเขาสะสมวันละ 10% ของจำนวนที่โรงงานทั้งหมดผลิตได้ในแต่ละวัน ซึ่งคิดเป็น 120,000 ชิ้นต่อวัน เขาจะต้องใช้เวลานานถึง 4 ปีครึ่ง คำถามที่เกิดขึ้นก็คือเขาสามารถรู้ล่วงหน้าได้นานถึงเพียงนั้นหรือว่าจะมีเชื้อโควิด-19 เกิดขึ้น ที่สำคัญ พนักงานสอบสวนคดีนี้ได้สรุปแล้วว่าข้อความที่โพสต์ในเฟซบุ๊กโดยอ้างว่ามีหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้นนั้นเป็นข้อมูลเท็จ ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าไม่มีการกักตุนหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้น

 

ดร.สามารถ แกะปริศนา 3 ปมลึก ลุยสืบค้นหน้ากาก 200 ล้านชิ้น  สรุปแล้วใครกักตุน

 

ส่วนที่มีการขายหน้ากากอนามัยทางออนไลน์นั้น มีความเป็นไปได้ว่าอาจมีการรั่วไหลจากขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง หรือมีการลักลอบนำเข้ามาจากต่างประเทศแล้วขายในราคาแพง จึงนำไปสู่การจับกุมตลอดมา ซึ่งมีจำนวนหน้ากากอนามัยไม่มากนัก

 

3. มีการส่งออกหน้ากากอนามัย 330 ตัน จริงหรือไม่?

หน้ากากอนามัย 330 ตัน คิดเป็นจำนวนหน้ากาก 82.5 ล้านชิ้น (1 กิโลกรัม มีหน้ากาก 250 ชิ้น) ทั้งนี้ กรมศุลกากรได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563 ว่าตัวเลข 330 ตันนั้น เป็นตัวเลขซึ่งรวมสินค้าอื่นนอกจากหน้ากากอนามัยอีกหลายชนิด เช่น ชุดผ้าหุ้มเบาะ เชือกผูกรองเท้า ผ้ากันเปื้อน ผ้าคลุม และสายคล้องคอทำด้วยผ้าทอ เป็นต้น ดังนั้น จึงทำให้เหลือหน้ากากอนามัยไม่ถึง 82.5 ล้านชิ้น  ซึ่งในเวลาต่อมาจากการให้ข่าวของผู้เกี่ยวข้องทำให้รู้ว่า หน้ากากอนามัยเหล่านั้นเป็นการสั่งผลิตตามสเปกของต่างประเทศ และมีลิขสิทธิ์ที่ไม่สามารถใช้ในประเทศไทยได้ ดังนั้น

 

จึงสรุปได้ว่าไม่มีการส่งออกหน้ากากอนามัยที่สามารถใช้ได้ในประเทศไทย 200 ล้านชิ้น ในช่วงเดือนมกราคม-4 กุมภาพันธ์ 2563 ก่อนมีการประกาศให้หน้ากากอนามัยเป็นสินค้าควบคุม

 

นอกจากเหตุผล 3 ประการ ที่ชี้ให้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะมีหน้ากากอนามัยในสต๊อกถึง 200 ล้านชิ้นดังกล่าวแล้วข้างต้น นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2563 มีใจความตอนหนึ่งว่า “เราจะล้างตัวเลขเก่าทั้งหมดที่เคยมีมาก่อน เคยพูดกันว่าเรามีหน้ากากอยู่ในสต๊อก 200 ล้านชิ้น ตัวเลขนั้นอาจจะถูกในความหมายหนึ่ง แต่เพื่อประโยชน์ในการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน ตัวเลขทั้งหมดนั้นผิดพลาดครับ”

 

ทั้งหมดนี้ จึงสามารถสรุปได้ว่า เราไม่สามารถตามล่าหน้ากากอนามัย 200 ล้านชิ้นได้ เพราะหน้ากากอนามัยจำนวนนี้ไม่มีอยู่จริง

 

แม้ว่าขณะนี้เราสามารถผลิตหน้ากากอนามัยได้ถึงวันละ 2.3 ล้านชิ้น (เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ผลิตได้วันละ 1.2 ล้านชิ้น) แล้วก็ตาม แต่ยังมีความต้องการที่จะใช้หน้ากากอนามัยเป็นจำนวนมาก ทำให้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค.แนะนำให้ประชาชนทั่วไปใช้หน้ากากผ้าแทน ส่วนหน้ากากอนามัยนั้น ศบค.ได้จัดสรรให้บุคลากรทางแพทย์และผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเป็นอันดับแรก

 

ผมขอย้ำว่า ไม่ใช่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้นที่มีความต้องการหน้ากากอนามัยเป็นจำนวนมาก แต่ทุกประเทศทั่วโลกที่กำลังต่อสู้กับโควิด-19 อยู่ในขณะนี้ ประชาชนในประเทศเหล่านั้นประสบปัญหาในการหาซื้อหน้ากากอนามัยกันทั้งนั้น แต่อย่างไรก็ตาม จากสถิติการควบคุมการระบาดของโควิค-19 พบว่าประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่สามารถควบคุมการระบาดได้เป็นอย่างดี เป็นผลให้มีผู้ติดเชื้อไม่สูง จนกลายเป็นโควิด-19 “ขาลง” ในปัจจุบัน ดังนั้น หากเราทุกคนให้ความร่วมมือทำตามคำแนะนำของ ศบค. อย่างเคร่งครัด ผมมั่นใจว่าเราจะผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกันได้เป็นอย่างดี

 

ดร.สามารถ แกะปริศนา 3 ปมลึก ลุยสืบค้นหน้ากาก 200 ล้านชิ้น  สรุปแล้วใครกักตุน

 

ผมขอถือโอกาสนี้ขอบคุณและเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายที่ได้ทุ่มเทสรรพกำลังช่วยกันทำให้มีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในไทยลดน้อยลง   เลิกให้ความสนใจหน้ากากอนามัยในสต๊อก 200 ล้านชิ้น ซึ่งไม่มีอยู่จริง หันมาช่วยกันเข็นโควิด-19 ลงจากภูเขาในขณะที่เป็นช่วงขาลง ไม่ดีกว่าหรือครับ?

 

ดร.สามารถ แกะปริศนา 3 ปมลึก ลุยสืบค้นหน้ากาก 200 ล้านชิ้น  สรุปแล้วใครกักตุน

 

ขณะที่ก่อนหน้านั้น  นายอัจฉริยะ   พร้อมทนายเดชา กิตติวิทยานันท์   ได้เข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ ดำเนินคดีอาญา กับนายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษย์ รมต.ว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์    และข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบ ม.157  จากกรณีแถลงข่าวร่วมกับรองอธิบดีกรมการค้าภายใน  อ้างข้อมูลว่า  มีหน้ากากอนามัย จำนวน 200 ล้านชิ้นในสต๊อก จาก 11 โรงงาน  ซึ่งมีกำลังการผลิต 100 ล้านชิ้น ต่อเดือน  จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก  แต่ต่อมาเมื่อ วันที่ 30 มี.ค.  นายจุรินทร์ ได้แถลงเพิ่มเติมว่า  หน้ากากอนามัยจำนวน 200 ล้านชิ้น  ที่ตนกล่าวถึงเป็นเพียงปริมาณวัสดุที่สามารถใช้ในการผลิตปริมาณหน้ากากในจำนวนสูงสุดเท่านั้น 

 

ดร.สามารถ แกะปริศนา 3 ปมลึก ลุยสืบค้นหน้ากาก 200 ล้านชิ้น  สรุปแล้วใครกักตุน