2 อาจารย์หมอ พูดตรงกัน ถ้าเร่งปลดล็อคเปิดเมือง โควิดฟื้นตัว ไทยลำบากแน่

จับตาการตัดสินใจครั้งสำคัญ "บิ๊กตู่่" จะทำอย่างไรหลังพ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมการแพร่กระจายโควิด หมดอายุ ขณะ 2แพทย์ใหญ่ ออกโรงเตือน

สืบเนื่องจากเกิดกระแสกดดัน   เรียกร้องให้รัฐบาลพิจารณาผ่อนคลายมาตรการควบคุม การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด -19  โดยเฉพาะการยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน  และ การเปิดสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจ เศรษฐกิจ กลับมาดำเนินตามปกติ  ด้วยข้ออ้างว่ารูปแบบการแก้ปัญหาที่ผ่านมา  ได้ผลในระดับหนึ่งแล้ว แต่ขณะเดียวกันก็ทำลายภาคเศรษฐกิจของประเทศอย่างรุนแรง  รวมถึงเป็นเสมือนการปิดกั้นสิทธิ เสรีภาพ ประชาชนอย่างสิ้นเชิง

 

2 อาจารย์หมอ พูดตรงกัน ถ้าเร่งปลดล็อคเปิดเมือง โควิดฟื้นตัว ไทยลำบากแน่

 

(คลิกอ่านข่าวประกอบ :  ธนาธรอีกแล้ว ซัดบิ๊กตู่พวกสร้างปัญหา ต้องนำปชต.คืนไทย สนท.รับลูกผุดแคมเปญไล่รัฐบาล )

ล่าสุด  พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า "สงครามต่อสู้กับโควิด-19 ยังไม่จบง่ายๆ ยังต้องมีอีกหลายภาค กว่าจะกลับมาเป็น New Normal ทั้งประชาชน และวงการแพทย์ต้องปรับตัวอีกเยอะ จนกว่าจะมีภูมิคุ้มกัน อย่าเพิ่งลดการ์ด  ให้มีคนไข้น้อยๆไปเรื่อยๆ  ผู้สูงอายุและคนมีโรคประจำตัวจึงจะปลอดภัยครับ ทางกระทรวงสาธารณสุขเตรียมการไปมากมาย เพื่อคุ้มครองประชาชน คนป่วย

 

2 อาจารย์หมอ พูดตรงกัน ถ้าเร่งปลดล็อคเปิดเมือง โควิดฟื้นตัว ไทยลำบากแน่

 

ในอีกมุมหนึ่ง  ผู้ยากไร้  คนตกงาน  และผู้ด้อยโอกาส จำเป็นต้องได้รับการดูแล อย่างทั่วถึงให้มีที่อยู่และอาหารเพียงพอ ซึ่งทางมหาดไทยและ พม. กำลังดำเนินการอยู่   การเปิดเมืองจะใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มขึ้นจำนวนมาก วิกฤตการณ์ขาดแคลนอาจจะมาอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับการขึ้นราคา ซึ่งรัฐคงต้องหาวิธีดูแล เหนื่อยอีกรอบนะครับ"

ขณะที่  รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ  รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นผ่านหน้าเฟซบุ๊คว่า  "วันนี้รัฐประกาศว่ามีผู้ติดเชื้อใหม่ 15 คน ที่น่าสนใจคือ หนึ่งในสามมาจากต่างประเทศ  หนึ่งในสามติดมาจากการไปคลุกคลีสัมผัสกับคนที่ติดเชื้อ และอีกเกือบหนึ่งในสามมาจากการไปตะลอน  ห้างตลาดและที่ท่องเที่ยวกับการทำงานพบปะผู้คน   ยอดรวมตอนนี้ใกล้ 3,000 แล้ว

 

2 อาจารย์หมอ พูดตรงกัน ถ้าเร่งปลดล็อคเปิดเมือง โควิดฟื้นตัว ไทยลำบากแน่

 

แถมใกล้วันประชุมครม. เพื่อพิจารณามาตรการผ่อนปรนการใช้ชีวิตแก่ประชาชนชาวไทย   เราจึงต้องตื่นเต้น รอวัดใจว่า อิทธิพลนักการเมืองตามค่ายตามมุ้งต่างๆ ที่พยายามหาทางทวงคะแนนเสียงประชานิยมท่ามกลางวิกฤติเช่นนี้ จะมีผลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลและศบค.มากเพียงใด

 

2 อาจารย์หมอ พูดตรงกัน ถ้าเร่งปลดล็อคเปิดเมือง โควิดฟื้นตัว ไทยลำบากแน่

    รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

 

เรามีบทเรียนมาแล้วตั้งแต่หลายเดือนก่อน  ที่อิทธิพลการเมืองส่งผลให้เห็นปรากฏการณ์หน่วยงานรัฐที่ดูแลสุขภาพไปประกาศหนุนร่วมดูแลงานแข่งรถ ทั้งที่ประเทศมีการระบาดของโรคอยู่ แต่ทนกระแสกดดันไม่ไหวต้องมายกเลิกตอนหลัง แต่การยกเลิกก็คงไม่ได้ทำให้ภาพลักษณ์ที่ติดตาตรึงใจเราๆ ท่านๆ หายไป...

 

2 อาจารย์หมอ พูดตรงกัน ถ้าเร่งปลดล็อคเปิดเมือง โควิดฟื้นตัว ไทยลำบากแน่

อุปมาอุปมัยได้ว่า เหตุใดช่วงสองสามเดือนแรกของการระบาดจึงได้ยินแต่เรื่องทำนองว่า โรคนี้สบายๆ เราเอาอยู่ๆ   เอาไปเอามา จากไม่ค่อยมีเคส กลายเป็นมีอยู่ทุกวัน และทวีคูณขึ้นจนเกาะใกล้เส้นการระบาด 33% แบบกลุ่มประเทศที่ระบาดหนักอย่างอเมริกา อิตาลี อิหร่าน จีน เยอรมัน เป็นต้น

 

เรายังโชคดี ที่ท่านนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลตัดสินใจถูกต้องที่จะดำเนินการตามมาตรการเข้มข้นตั้งแต่กลางมีนาคม หลังรับฟังการนำเสนอผลการวิเคราะห์ของโรงเรียนแพทย์  เราจึงดึงจาก 33% มามุ่งสู่ 5% ภายในกลางพฤษภาคมนี้ได้

 

2 อาจารย์หมอ พูดตรงกัน ถ้าเร่งปลดล็อคเปิดเมือง โควิดฟื้นตัว ไทยลำบากแน่

 

เจ็บแล้วต้องจำนะครับ...อย่าให้การเมืองมามีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเรื่องชีวิต ความเป็นความตายของประชาชน  คราวนี้การเมืองหลายมุ้งพยายามปั่นป่วน อยากให้เปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามา เพื่อมุ่งหวังเม็ดเงิน


ถามจริงเหอะ เอาอะไรมาคิด ทั้งโลกตอนนี้จนกรอบกันหมด เพราะโดนโรคระบาดกันทั่วหน้า  ขืนเอาเข้ามา เงินที่ได้จะน้อยนิด แต่จะเจ็บตัวพินาศกันหมด เพราะจะได้โรคเข้ามาในประเทศ ไม่มีประเทศใดในโลกที่จะปลอดภัยครับ ณ เวลานี้

 

ดังนั้นรัฐจึงต้องกล้าตัดสินใจ ผ่อนคลายอย่างชาญฉลาด ให้ความสำคัญกับสุขภาพมาเป็นอันดับแรก รักษาชีวิตคนของเราไว้ให้ได้มาก ถ้ารอดได้ก็จะมีกำลังไปทำเงินได้ในอนาคต ตอนนี้เป็นยุคที่ต้องอดทนฝ่าฟันความยากลำบาก ช่วยกันประหยัดอดออม ถึงเวลาที่เราต้องน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาช่วยกันปฏิบัติอย่างจริงจัง  อย่าเปิดศึกทั้งในบ้านและนอกบ้านพร้อมกันเด็ดขาด


ผ่อนปรนให้ทุกคนได้ใช้ชีวิต เพื่อทำมาหาเลี้ยงชีพภายใต้กฎระเบียบมาตรฐานที่เข้มงวดด้านการป้องกันทั้งต่อคนให้บริการและประชาชนผู้มาใช้บริการ

 

ผ่อนปรนให้ทุกคนได้ใช้ชีวิต เพื่อผ่อนคลายตามสมควร แต่ไม่ฟุ้งเฟ้อ ไม่ดี๊ด๊า แต่ต้องพร้อมเพรียงกันในการปฏิบัติตนแบบ New Normal = New Me...


สถานการณ์ที่ไทยควรเลือกที่จะทำคือ "คงการปิดการเดินทางจากต่างประเทศ...และรณรงค์ให้เกิดสังคม New Me"  ควรเริ่มพร้อมๆ กันไปในกลางเดือนพฤษภาคมครับ เพราะตัวเลขคนติดเชื้อที่คงอยู่ในระบบจะลดลงเหลือน้อย พอดีกับการเตรียมระบบและแบบแผนปฏิบัติสำหรับแต่ละคนแต่ละกิจการอย่างละเอียด

2 อาจารย์หมอ พูดตรงกัน ถ้าเร่งปลดล็อคเปิดเมือง โควิดฟื้นตัว ไทยลำบากแน่

ก้าวย่างอย่างมั่นคงรอบคอบ แล้วเราจะรอดไปด้วยกันครับ  ...  เปิดเมื่อพร้อม...อย่าเปิดตามแรงกดดัน