บอร์ดประกันสังคม มีมติเอกฉันท์ คว่ำแนวคิดรมว.แรงงาน

จากกรณีที่เกิดวิกฤตจากไวรัสโควิด - 19 ทำให้คนไทยหลายล้านคนโดนผลกระทบอย่างหนัก ซึ่งทางรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ได้เร่งช่วยเหลือเหล่าประชนชาชนที่โดนผลกระทบกันอยู่ แต่ล่าสุด นางอรุณี ศรีโต กรรมการบอร์ดประกันสังคม ฝ่ายลูกจ้าง กล่าวถึงกรณีที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเพิ่มการจ่ายเงินประกันสังคม กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 จาก 62% ของเงินเดือน แต่ไม่เกินเพดาน 15,000 บาท เป็น 75 % ว่า บอร์ดประกันสังคมมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่เห็นด้วยที่จะเพิ่มการจ่ายเงินเป็น 75% โดยไม่มีใครแย้ง เพราะพูดกันด้วยเหตุผลมองเรื่องของอนาคต

จากกรณีที่เกิดวิกฤตจากไวรัสโควิด - 19 ทำให้คนไทยหลายล้านคนโดนผลกระทบอย่างหนัก ซึ่งทางรัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ได้เร่งช่วยเหลือเหล่าประชนชาชนที่โดนผลกระทบกันอยู่ แต่ล่าสุด นางอรุณี  ศรีโต กรรมการบอร์ดประกันสังคม ฝ่ายลูกจ้าง กล่าวถึงกรณีที่ ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเพิ่มการจ่ายเงินประกันสังคม กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 33 จาก 62% ของเงินเดือน แต่ไม่เกินเพดาน 15,000 บาท เป็น 75 % ว่า  บอร์ดประกันสังคมมีมติเป็นเอกฉันท์ไม่เห็นด้วยที่จะเพิ่มการจ่ายเงินเป็น 75% โดยไม่มีใครแย้ง เพราะพูดกันด้วยเหตุผลมองเรื่องของอนาคต 

โดย นางอรุณี ระบุ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน โดยบอร์ดประกันสังคมกังวลเรื่องอนาคตของเงินประกันสังคม ที่เป็นเงินของผู้ประกันตนที่สะสมไว้ การที่มีการใช้จ่ายภายใต้เงื่อนไขที่ไม่รัดกุม ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายประกันสังคมและเมื่อกองทุนไม่มีเงิน แต่ในปี 2564-2565 เกิดมีการว่างงานเป็นล้าน ๆ คน ถามว่ารัฐบาลจะมาจ่ายให้เราหรือไม่

 

บอร์ดประกันสังคม มีมติเอกฉันท์ คว่ำแนวคิดรมว.แรงงาน

ถึงแม้ว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะมีเจตนาดี แต่ประเด็นสำคัญนั้นจะต้องพูดคุยกันที่บอร์ดประกันสังคมด้วยระบบไตรภาคี นอกจากนี้เรามีความไม่สบายใจตั้งแต่บอร์ดประกันสังคมมีมติให้การจ่ายเงินกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย 50 % แต่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานใช้อำนาจเพิ่มให้เป็น 62% สิ่งที่กระบวนการแรงงานกังวลคือ ถ้ารัฐบาลสั่งให้หยุดกิจการเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 เราไม่ขัดข้องที่จะจ่ายเงินชดเชย แต่ผู้ประกอบการที่ฉวยโอกาสเนื่องจากขายของไม่ดีจึงหยุดด้วย เรื่องดังกล่าวนี้มีการมาผสมโรงกันเพื่อได้รับเงินชดเชย 62% แทนที่ลูกจ้างจะได้รับ75% ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

 


  

 นางอรุณี ระบุว่อีกว่า เข้าใจว่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานห่วงใย แต่ต้องนึกถึงผู้ใช้แรงงานและนายจ่ายซึ่งเป็นเจ้าของเงิน และมีรัฐบาลช่วยเพียงเล็กน้อย ฉะนั้นต้องฟังเสียงเจ้าของสิทธิคือผู้ประกันตนทั้ง 15 ล้านคน วอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอย่าทำให้กระบวนการแรงงานไม่สบายใจและมีความรู้สึกว่าใช้อำนาจเกินเลย ไม่อย่างนั้นแรงงานอาจจะออกมาต่อว่าแล้วเกิดความไม่สบายใจ เพราะกระบวนการแรงงานถือว่ามีสิทธิชอบธรรมในการปกป้องเงินกองทุนประกันสังคม

 ทั้งนี้ นางอรุณี บอกอีกว่า กองทุนว่างงานมีเพียงแค่ 160,000 ล้านบาท และมีกองทุนอื่น ๆ ที่เป็นเข่งใครเข่งมัน แล้วจะบอกว่าเข่งนั้นเหลือเยอะแล้วนำมาใช้ก่อนไม่ได้ ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นในส่วนของดอกผลกองทุนก็ไม่อยากให้ไปยุ่งเกี่ยว เพราะคาดหวังว่าเงินในส่วนนี้จะช่วยให้คนที่ทำงานมาชั่วชีวิตได้รับเงินบำนาญเพิ่มมากขึ้น

   อย่างไรก็ตาม กรณีหากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานจะเสนอเรื่องให้ ครม. นั้น น.ส.อรุณี   กล่าวว่า ลำพังบอร์ดประกันสังคมฝ่ายลูกจ้างและนายจ้าง คงทำอะไรไม่ได้มาก แต่ว่าเมื่อเรายืนยันเจตนารมณ์คนงานเขาก็จะรู้สึกว่าถึงเวลาที่จะต้องออกมาปกป้องงบประมาณของสำนักงานประกันสังคม เพราะไม่อยากให้มือที่มองไม่เห็นมาล้วงเอาไปโดยผิดหลักการ

 ตนเข้าใจว่ากระแสขณะนี้ของคนงานเริ่มไม่สบายใจ ซึ่งหากมากกว่านี้อาจจะนำไปสู่การไม่ยอมและอาจจะเกิดม็อบแรงงานขึ้นได้ ทั้งนี้เชื่อว่าผู้ประกันจะปกป้องเงินกองทุนประกันสังคมด้วยพลังของเขาเอง ทั้งนี้หาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน อยากให้มีการเพิ่มเงินชดเชยเป็น 75% ต้องแสดงบทบาทโดยทำเรื่องของบจากรัฐบาล จากนายกฯ ให้มาเติมเต็มในส่วนที่นอกเหลือจากที่บอร์ดประกันสังคมมีมติไปก่อนหน้า แม้กระทั่งงบที่รัฐบาลยังค้างชำระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ก็ต้องไปแสดงเจตนารมณ์ เพราะเงินในกองทุนประกันสังคมเริ่มร่อยหรอแล้ว ซึ่งที่ทำอยู่ขณะนี้คือรัฐบาลกำลังผลักภาระให้กับสำนักงานประกันสังคม
 

บอร์ดประกันสังคม มีมติเอกฉันท์ คว่ำแนวคิดรมว.แรงงาน