- 25 พ.ค. 2563
เมื่อวันที่ 25 พ.ค 63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามการป้องกันโรคในช่วงฤดูร้อนและเข้าสู่ฤดูฝนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เจ้าหน้าที่ยังคงรณรงค์ป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง โดย นายอภิชัย ลิมานนท์ นายแพทย์สาธารณะสุข จ.กาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ของโรคประจำฤดูว่า ในช่วงฤดูร้อนคาบเกี่ยวกับฤดูฝนนี้ โรคภัยไข้เจ็บที่มักจะเกิดขึ้นเสมอๆ คือโรคอาหารเป็นพิษและโรคท้องร่วงหรืออุจจาระร่วง ซึ่งถือเป็นโรคประจำฤดูที่ต้องเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตามสำหรับปีนี้เริ่มมีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายนเป็นต้นมา ซึ่งได้มีมาตรการกินร้อน ช้อนกลาง สวมหน้ากากอนามัย กลับพบว่าอัตราการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ และโรคท้องร่วงลดลงอย่างมากกว่าเดิมถึง 50%
เมื่อวันที่ 25 พ.ค 63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการติดตามการป้องกันโรคในช่วงฤดูร้อนและเข้าสู่ฤดูฝนในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เจ้าหน้าที่ยังคงรณรงค์ป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง
โดย นายอภิชัย ลิมานนท์ นายแพทย์สาธารณะสุข จ.กาฬสินธุ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์ของโรคประจำฤดูว่า ในช่วงฤดูร้อนคาบเกี่ยวกับฤดูฝนนี้ โรคภัยไข้เจ็บที่มักจะเกิดขึ้นเสมอๆ คือโรคอาหารเป็นพิษและโรคท้องร่วงหรืออุจจาระร่วง ซึ่งถือเป็นโรคประจำฤดูที่ต้องเฝ้าระวัง อย่างไรก็ตามสำหรับปีนี้เริ่มมีการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประมาณเดือนมีนาคม-เมษายนเป็นต้นมา ซึ่งได้มีมาตรการกินร้อน ช้อนกลาง สวมหน้ากากอนามัย กลับพบว่าอัตราการเกิดโรคอาหารเป็นพิษ และโรคท้องร่วงลดลงอย่างมากกว่าเดิมถึง 50%
ทั้งนี้ นายแพทย์อภิชัย ได้กล่าวอีกว่า อย่า'ไรก็ตามอีกโรคหนึ่งต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศศคือไข้เลือดออกและโรคชิคุนกุนยา ซึ่งถือเป็นโรคประจำถื่นอีกโรคหนึ่ง ในพื้นที่จ.กาฬสินธุ์ ทั้ง 2 โรคนี้ เกิดจากเชื้อไวรัสที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ซึ่งในปี 2562 ที่ผ่านมาโรคไข้เลือดออกมีผู้เสียชีวิต 2 ราย ขณะที่ปัจจุบันตั้งแต่ต้นเดือนมากราคม 2563 จนถึงขณะนี้พบว่ามีผู้ได้รับเชื้อ 200 กว่าราย ซึ่งข้อมูลถึงสิ้นเดือนเมษายน พบว่ามากกว่าปีที่ผ่านมาถึง 2 เท่าและเสียชีวิต 1 ราย นอกจากนี้ในช่วงเดียวกัน ยังพบว่ามีการระบาดของโรคชิคุนกุนยาอีกด้วย โดยพบครั้งแรกในปี 2562 พบในพื้นที่ อ.ท่าคันโทและหนองกุงศรี จำนวน 100 คน ขณะที่ปีนี้พบที่ อ.กุฉินนารายณ์ ซึ่งจากการส่งทีมตรวจสอบควบคุมโรค มีการยืนยันว่าติดเชื้อจริงจำนวน 3 ราย ทั้งนี้ ได้ประสานทางอำเภอ และ อปท.เร่งดำเนินการออกควบคุมโรคเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
นายแพทย์อภิชัย กล่าวเพิ่มเติ่มว่า สำหรับอาการของโรคชิคุนกุนยานนั้น มีไข้สูง ปวดศรีษะ ปวดตามข้อ ไม่ทำให้เสียชีวิตแต่จะทำให้ผู้ที่ได้รับเชื้อมีอาการปวดตามข้อ ข้อบวม เกิดอาการอักเสบของข้อ หากเจอในเด็ก วัยรุ่น วัยทำงานโอกาสหายได้ ทั้งนี้ โรคนี้ไม่ทำให้เกิดอาการช็อกอัตราการเสียชีวิตร้อย แต่ได้รับความทรมาณจากการเจ็บปวดสูง
ในขณะที่ไข้เลือดออกนั้น มีโอกาสช็อกเพราะไข้สูง จึงเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต ซึ่งทางสำนักงานสาธารณสุข จ.กาฬสินธุ์ ยังคงเน้นย้ำและกำชับให้บุคลากรสาธารณสุข อสม.ในพื้นที่และโรงพยาบาลต่างๆ ประสานงานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถื่นและผู้นำชุมชมทำการรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่อง
ขอบคุณข้อมูลจาก : tnn