คุณหญิงชฎา ออกโรงค้านรอบ 3 โครงการคอนโดฯยักษ์ ย่านเอกมัย ชี้ตุกติกเลี่ยงกม.แยกสร้าง 3 ตึก หวั่นกระทบหนักประชาสังคม

จากที่ก่อนหน้านี้ คุณหญิงชฎา​ วัฒนศิริธรรม​ (อดีตผู้บริหารระดับสูงธนาคารไทยพาณิชย์) พร้อมตัวแทนชาวบ้านซอยสุขุมวิท 61 และในซอยเอกมัย (ซอย 1) ได้ร่วมตัวแถลงข่าว คัดค้านการก่อสร้างอาคารโครงการคอนโดมิเนียมไฮเอนด์ ภายใต้แบรนด์ “IMPRESSION EKKAMAI” ขนาดใหญ่ ภายในซอยสุขุมวิท 61 โดยคุณหญิงชฎา​ เริ่มเหตุผลว่า ด้วยข้อกฎหมายแล้ว ในซอยนี้ ห้ามการก่อสร้างอาคารเกิน 23 เมตรหรือ 7-8 ชั้น แต่เมื่อต้นปี 2562 ทราบว่า จะมีการก่อสร้างโครงการสูงถึง 43 ชั้น ซึ่งอยู่ใกล้กับแนวบ้านของคนในชุมชน

จากที่ก่อนหน้านี้ คุณหญิงชฎา​ วัฒนศิริธรรม​ (อดีตผู้บริหารระดับสูงธนาคารไทยพาณิชย์) พร้อมตัวแทนชาวบ้านซอยสุขุมวิท 61 และในซอยเอกมัย (ซอย 1) ได้ร่วมตัวแถลงข่าว คัดค้านการก่อสร้างอาคารโครงการคอนโดมิเนียมไฮเอนด์ ภายใต้แบรนด์ “IMPRESSION EKKAMAI” ขนาดใหญ่ ภายในซอยสุขุมวิท 61 โดยคุณหญิงชฎา​ เริ่มเหตุผลว่า ด้วยข้อกฎหมายแล้ว ในซอยนี้ ห้ามการก่อสร้างอาคารเกิน 23 เมตรหรือ 7-8 ชั้น แต่เมื่อต้นปี 2562 ทราบว่า จะมีการก่อสร้างโครงการสูงถึง 43 ชั้น ซึ่งอยู่ใกล้กับแนวบ้านของคนในชุมชน
 

ล่าสุด คุณหญิงชฎา วัฒนศิริธรรม ประธานชมรมชาวบ้านซอยสุขุมวิท 61ได้แถลงชี้แจงต่อสื่อมวลชนอีกครั้ง กรณีชาวบ้านย่านเอกมัย-สุขุมวิท 61 ตัดสินใจคัดค้านโครงการก่อสร้างอาคารคอนโดมิเนียม  เนื่องจากเป็นกังวลต่อโครงการคอนโดมิเนียมขนาดยักษ์ “IMPRESSION EKKAMAI”  ที่จะมีการดำเนินการก่อสร้างขึ้นในซอยเอกมัย เนื่องจากโครงการได้ซื้อที่ดินสองแปลงเชื่อมติดกัน  ทำให้ที่ดินมีลักษณะยาวเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว จากซอยเอกมัย (63) ยาวไปถึงซอยสุขุมวิท 61  ซึ่งมีลักษณะเป็นซอยเล็กและตัน   ที่ผ่านมาชาวบ้านกว่าร้อยคนได้รวมตัวกันส่งหนังสือคัดค้านโครงการ  ไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , ผู้ว่าการกรุงเทพมหานคร และคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอาคาร กรุงเทพมหานคร (คชก.) แล้วหลายครั้ง  

 

คุณหญิงชฎา ออกโรงค้านรอบ 3 โครงการคอนโดฯยักษ์ ย่านเอกมัย ชี้ตุกติกเลี่ยงกม.แยกสร้าง 3 ตึก หวั่นกระทบหนักประชาสังคม

อาทิ  ในการประชุม คชก.ครั้งแรกเมื่อ 12 มีนาคม 2563 คชก.ไม่อนุมัติโครงการโดยระบุเหตุผลต่าง ๆ ถึง 62 ข้อ และระบุให้โครงการกลับมาหารือกับชุมชนเพื่อหาข้อยุติร่วมกัน  แต่ปรากฎว่าโครงการเพียงส่งจดหมายมาถึงชาวบ้านว่าได้ทำการปรับปรุงแบบแล้ว ซึ่งโดยข้อเท็จจริงมีการแก้ไขเพียงเล็กน้อยมาก และไม่มีผลแตกต่างแต่อย่างใด 

 

 

ต่อมาโครงการได้ยื่นเสนอ คชก. เป็นครั้งที่ 2 ในวันที่ 14 พฤษภาคม 2563  และในรอบนี้ คชก.เห็นว่าข้อมูลที่โครงการทำมาใหม่ยังไม่ครบถ้วน  จึงส่งเรื่องให้กลับไปทำมาอีกครั้งหนึ่ง  และกำหนดให้นำมาเสนอคชก.ใหม่เป็นคำรบสาม  ในวันที่ 28 พฤษภาคมที่จะถึงนี้ ชาวบ้านจึงหวั่นวิตกว่า หากโครงการได้รับอนุมัติจากคชก.ให้ผ่าน จ ะส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนละแวกนี้ในทุกมิติอย่างมหาศาล และอยากเรียกร้องความเป็นธรรมจากคชก.

 

สำหรับเหตุผลที่ชาวบ้านรวมตัวกันคัดค้านโครงการนี้มีสาระสำคัญ กล่าวคือ
1. ขนาดและความสูงของโครงการ โครงการออกแบบเป็นสามอาคารเรียงกันในแปลงที่ดินที่มีลักษณะยาวเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว อาคารหน้าสุดติดถนนเอกมัยสูง 25 ชั้น อาคารตรงกลางสูง 43 ชั้น และหลังสุดท้ายติดซอยสุขุมวิท 61 เป็นอาคารจอดรถแบบอัตโนมัติ 16 ชั้น (บนดิน 9 ชั้น ใต้ดิน 7 ชั้น) พื้นที่ใช้สอยรวม 40,396 ตรม. อาคารสูง 43 ชั้นนั้นสูงกว่าอาคารใหญ่อื่นๆในละแวกนี้อย่างมาก อาคารขนาดใหญ่ในซอยเอกมัยโดยเฉลี่ยจะสูงไม่เกิน 20-30 ชั้น นอกจากนั้นมวลส่วนใหญ่ของอาคารยักษ์ 43 ชั้น และขุดดินที่จอดรถลึก 28 เมตร ยังเยื้องมาอยู่ทางด้านซอย 61 อีก

 

คุณหญิงชฎา ออกโรงค้านรอบ 3 โครงการคอนโดฯยักษ์ ย่านเอกมัย ชี้ตุกติกเลี่ยงกม.แยกสร้าง 3 ตึก หวั่นกระทบหนักประชาสังคม

ชุมชนในละแวกนี้ส่วนใหญ่เป็นบ้านเดี่ยวที่อยู่กันมากว่าครึ่งค่อนศตวรรษ และมีคอนโด 7-8 ชั้นอยู่บ้างประปราย การมีตึกระฟ้าผุดขึ้นมาท่ามกลางบ้านเล็กๆที่สูงเพียงสองสามชั้นย่อมส่งผลกระทบอย่างมากในด้านแวดล้อม แสงแดดที่จะหายไป ความผันผวนและความรุนแรงของลมที่เกิดจากการปะทะของอาคารสูง คุณภาพอากาศที่ย่อมจะเลวลง ปัญหาฝุ่น PM 2.5/PM 10 และมลพิษทางเสียงย่อมเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ชาวบ้านจึงร้องเรียนขอให้ คชก.ทำหน้าที่และพิจารณาถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นกับชาวบ้านจากโครงการนี้ทั้งในระยะสั้นขณะก่อสร้าง รวมทั้งปัญหามากมายที่จะตามมาในระยะยาว

 

คุณหญิงชฎา ออกโรงค้านรอบ 3 โครงการคอนโดฯยักษ์ ย่านเอกมัย ชี้ตุกติกเลี่ยงกม.แยกสร้าง 3 ตึก หวั่นกระทบหนักประชาสังคม

ในทางกฎหมาย การที่ทางผู้ออกแบบและทางโครงการ ได้ใช้วิธีแยกคิดพื้นที่อาคารในโครงการออก แต่ละอาคาร เพื่อให้พื้นที่แต่ละอาคารนั้นไม่เกิน 30,000 ตารางเมตร เพราะหากเกินก็จะไปเข้าเกณฑ์ของกฎหมาย ที่บังคับให้ต้องมีถนนด้านหน้าอาคาร ที่มีขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 18 เมตรทันที ซึ่ง ซอยเอกมัยมีความกว้างไม่ถึง 18 เมตร วิธีการดังกล่าวเป็นการเลือกตีความของผู้ออกแบบและผู้ประกอบการอย่างชัดเจน ในการที่นายทุนสามารถสร้างอาคารขนาดใหญ่ ที่มีพื้นที่มากมายมหาศาล หลายหมื่นตารางเมตร ในบริเวณชุมชนที่มีถนนเล็ก ซอยแคบที่มีความกว้างไม่สัมพันธ์กับขนาดพื้นที่อาคาร ซึ่งขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ระบุเรื่องพื้นที่อาคารให้สัมพันธ์กับความกว้างถนนไว้อย่างเห็นได้ชัด

 

 

2. ปัญหาเรื่องความปลอดภัยโดยเฉพาะในด้านอัคคีภัย โครงการนี้มีสามอาคาร โดยได้ออกแบบให้อาคาร 25 ชั้นและ 43 ชั้นมีถนนโดยรอบกว้างประมาณ 6 เมตร ซึ่งรถดับเพลิงสามารถวิ่งรอบได้ในกรณีเกิดเพลิงไหม้ แต่สำหรับอาคารจอดรถกลับออกแบบให้มีระยะถอยร่นจากแนวเขตที่ดินเพียงแค่ 3 เมตรกว่าเท่านั้น และยังใช้เป็นพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่ที่รถไม่อาจวิ่งรอบได้อีกต่างหาก เมื่อชาวบ้านทักท้วงไป ได้รับคำชี้แจงว่า เนื่องจากอาคารจอดรถมีความสูงไม่ถึง 23 เมตร ตามกฎหมายให้เว้นระยะห่าง (SET-BACK) เพียง 3 เมตรเท่านั้น โครงการจึงเลือกจะทำตามขั้นต่ำของกฎหมาย แต่ถ้าเกิดเพลิงไหม้ในบริเวณอาคารจอดรถที่มีชั้นใต้ดินที่ถึง 7 ชั้น รถดับเพลิงจะไม่สามารถวิ่งรอบทั้งโครงการได้ นอกจากนั้นอาคารจอดรถเป็นแบบอัตโนมัติทำจากโครงสร้างเหล็กที่มีระบบไฟฟ้าเครื่องกล ย่อมมีความเสี่ยงในด้านอัคคีภัยสูง และในเมื่ออาคารจอดรถดังกล่าง ต้องขุดดินลึก 28 เมตร แต่เว้นระยะห่างจากแนวเขตเพียง 3 เมตร ยังทำให้มีโอกาศที่จะเกิดความเสียหายต่อบ้านข้างเคียงในระหว่างการก่อสร้างเป็นอย่างสูง

 

คุณหญิงชฎา ออกโรงค้านรอบ 3 โครงการคอนโดฯยักษ์ ย่านเอกมัย ชี้ตุกติกเลี่ยงกม.แยกสร้าง 3 ตึก หวั่นกระทบหนักประชาสังคม

 

3. ปัญหาจราจร เป็นที่ทราบกันดีว่าซอยเอกมัยและถนนสุขุมวิทปัจจุบันมีการจราจรติดขัดอย่างหนักอยุ่แล้ว ซึ่งการวิเคราะห์ของบริษัทที่ปรึกษาด้านการจราจรของโครงการเอง (บริษัท Meinhardt) ก็ระบุว่า สภาพการจราจรบนถนนสุขุมวิทอยู่ในระดับ E ในช่วงเช้าและระดับ Fในช่วงบ่าย ส่วนบนซอยเอกมัยส่วนใหญ่จะเป็นระดับ F ทั้งเช้าและบ่าย (ระดับการจราจรมีตั้งแต่ A ถึง F ระดับ A คือระดับที่ดีที่สุด) บริษัทได้สรุปว่าปัญหาการจราจรของย่านสุขุมวิท-เอกมัยเลวร้ายอยู่แล้ว ดังนั้นการเพิ่มปริมาณรถยนต์ของโครงการไม่ได้ทำให้สถานะการแย่ขึ้นมากเท่าไร ประเด็นของชาวบ้านคือ โครงการนี้มีห้องพัก 380 ยูนิต และมีที่จอดรถกว่า 300 คันนั้นจะเพิ่มการจราจรที่ติดขัดมากขึ้นแน่นอน 

 

 

 

บวกกับโครงการใหญ่อีกหลายแห่งในซอยเอกมัยที่กำลังจะเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน และเมื่อเกิดรถติดบนซอยเอกมัย ก็จะลามไปยังถนนสุขุมวิท ทองหล่อ เพชรบุรีตัดใหม่ ติดกันเป็นลูกโซ่ต่อไป ผลกระทบเรื่องการจราจรส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมกรุงเทพมหานครอย่างมหาศาล การเผาผลาญน้ำมัน ซึ่งสร้างมลพิษ PM2.5 ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน และยังส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของกรุงเทพมหานครที่ต้องการส่งเสริมให้เป็นเมืองน่าอยู่ น่าท่องเที่ยว แล้วทำไมหน่วยงานของรัฐจึงซ้ำเติมปัญหานี้ด้วยการอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ออกมาอีกมากมาย เพิ่มปริมาณรถเข้ามาในบริเวณนี้อีกนับพันคัน

 

 

4. โครงการในลักษณะนี้มีผลทำลายสังคมและความเป็นชุมชนที่อยู่มาช้านาน ในละแวกนี้ ถ้าหากโครงการนี้ได้รับอนุมัติให้สร้างก็เป็นที่แน่นอนว่าจะมีโครงการอื่นๆในลักษณะเดียวกันนี้ ติดตามมาอีก โดยจะเกิดการกว้านซื้อที่ดินแบบเส้นก๋วยเตี๋ยวเชื่อมต่อกันสองซอยแบบนี้ ผุดเป็นโครงการขนาดใหญ่ยักษ์รุกล้ำเข้าไปในบริเวณที่อยู่อาศัยขนาดกลางและขนาดเล็กมากขึ้นเรื่อยๆ ประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ในซอยเล็กๆที่เคยอยู่กันอย่างสงบ โดยได้รับการคุ้มครองจากกฎหมายในเรื่องการจำกัดความสูงและขนาดของสิ่งก่อสร้าง ซึ่งตระหนักถึงการพัฒนาที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องกับความกว้างของถนนและระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานในพื้นที่ การพัฒนาในลักษณะของโครงการนี้นอกจากจะไม่เป็นมิตรต่อชุมชนที่อยู่มาดั้งเดิมแล้ว ยังเป็นการพัฒนาเมืองแบบไม่ยั่งยืนอีกด้วย

 

 

ชุมชนจึงอยากจะวิงวอนไปยังหน่วยงานต่างๆของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ดูแลเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการให้อนุญาตก่อสร้าง โปรดช่วยพิทักษ์สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนให้สามารถอยู่อาศัยในบ้านของตนเองได้อย่างปลอดภัยและปกติสุข โดยไม่ต้องถูกคุกคามจากโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีอยุ่ไม่สามารถรองรับได้ และโปรดอย่าส่งเสริมการพัฒนาที่ไม่เหมาะสมกับบริบทโดยรอบเป็นอย่างมากเช่นนี้ ชาวบ้านไม่ได้คัดค้านการพัฒนาหรือการขยายตัวของเมือง แต่ควรเป็นการพัฒนาแบบยั่งยืน ชนิดที่ไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตต่อประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ 

 

 

และที่สำคัญควรคำนึงถึงการดำเนินชีวิตของคนส่วนมาก ไม่ใช่สนับสนุนคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งให้แสวงหากำไรและผลประโยชน์ให้ตนเองมากที่สุด ในขณะที่ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่เดือดร้อน ส่วนผู้ประกอบการและที่ปรึกษาก็ไม่ควรคำนึงแต่ผลกำไรเป็นหลัก แสวงหาผลประโยชน์สูงสุดจากการใช้ที่ดินที่ได้ลงทุนไป โดยการออกแบบให้สร้างได้สูงที่สุด มีเนื้อที่ใช้สอยมากที่สุด แต่ผลกระทบตกมาอยู่กับชุมชน หากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องไม่รับผิดชอบและทำตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ชุมชนจะสงวนสิทธิ์ขอตรวจสอบกระบวนการยุติธรรมอื่นต่อไป

 


โครงการ “IMPRESSION EKKAMAI” เป็นโครงการของบริษัทเอเอชเจ เอกมัย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัทออลล์อินสไปร์ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ร่วมทุนกับกลุ่มฮูซิเออร์ และบริษัทเจอาร์ คิวชู ประเทศญี่ปุ่น

 

คุณหญิงชฎา ออกโรงค้านรอบ 3 โครงการคอนโดฯยักษ์ ย่านเอกมัย ชี้ตุกติกเลี่ยงกม.แยกสร้าง 3 ตึก หวั่นกระทบหนักประชาสังคม