- 02 มิ.ย. 2563
วันที่ 2 มิ.ย 63 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Yong Poovorawan" โดยระบุว่า...
วันที่ 2 มิ.ย 63 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก "Yong Poovorawan" โดยระบุว่า...
การระบาดของ โรคโควิด 19 ทั่วโลก จะเห็นว่ามีการรายงานผู้ป่วยครบ 1 ล้านคน เมื่อวันที่ 4 เมษายน และอีก 1 ล้านคนใน 12 วันต่อมา จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคมมีผู้ป่วยทั่วโลกที่รายงานจำนวน 4 ล้านคน และมาเป็น 5 ล้านคนใน 10 วันต่อมา
ก็เช่นเดียวกันอีกครบ 6 ล้านคนในวันที่ 30 พฤษภาคม ประมาณ 10 วัน หรือกล่าวได้ว่ามีผู้ป่วยวันละประมาณ 100,000 คน แนวโน้มขณะนี้มีผู้ป่วยมากกว่าวันละ 100,000 คน โดยมีการระบาดมากในประเทศบราซิล อเมริกาและอินเดีย
สำหรับประเทศไทย จะต้องไม่ประมาท และนิ่งนอนใจ เพราะการระบาดยังอยู่ในโลกของเรา เป็นจำนวนมาก ทำไมเราจึงต้องมีการเก็บกัก ตัวผู้เดินทางเข้าสู่ประเทศไทย โดยเฉพาะคนไทยที่เดินทางกลับประเทศเป็นจำนวนมากทุกวัน ถึงแม้จะไม่พบการระบาดเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่ต้องไม่ลืมว่าประเทศไทยมีพรมแดนธรรมชาติ เป็นระยะยาวไกล
มาตรการการป้องกันภายในประเทศก็จะต้องเคร่งครัดเหมือนเดิม ทุกคนจะต้องมีระเบียบวินัย ปฏิบัติตนด้านสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด มีความซื่อสัตย์ ไม่ปกปิดบังข้อมูล เวลาไปพบแพทย์ หรือในระบบสาธารณสุขก็จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใส อย่างที่ทำอยู่ทุกวันนี้
ยังมีความหวังว่า ถ้าทุกคนช่วยกัน เต็มกำลัง เคร่งครัด ระเบียบวินัย ดูแลสุขอนามัย ล้างมือ ใส่หน้ากากอนามัยป้องกันตนเองและผู้อื่น กำหนดระยะห่างสำหรับบุคคล ก็จะเป็นการชลอ หรือ ลดการระบาดรอบที่ 2 ได้